สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล รับประทานอย่างไรดี
สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล รับประทานอย่างไรดี

สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (Artificial Sweeteners) คือ สารที่ให้รสชาติหวาน โดยไม่ใช้น้ำตาล มีหลายชนิดซึ่งอาจจะมีพลังงานหรือไม่มีก็ได้ เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่รักสุขภาพ ลดน้ำหนัก จึงมีผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม นำสารนี้มาใช้เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประทานหรือดื่มกัน แต่ไม่ใช่ทุกชนิดที่สามารถนำเข้าสู่ร่างกายโดยไม่จำกัดปริมาณ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพเช่นกัน

 

 

สารให้ความหวานมีอะไรบ้าง

 

แต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน จึงนำมาใช้อุตสาหกรรมอาหารไม่เหมือนกัน หากนำมาใช้ผิดประเภทอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยความหวานจะมีมากกว่าน้ำตาลทรายหลายร้อยเท่าตัว ได้แก่

 

Sodium Cyclamate, Dulcin และ Stevioside

 

  • 3 ชนิดข้างต้น เป็นสารที่ห้ามเข้าราชอาณาจักรไทย ไม่สามารถนำมาใช้ในอาหารหรือเครื่องดื่มได้

 

Aspartame

 

  • อยู่ในเครื่องดื่มแบบชง ขนมขบเคี้ยวรสหวาน ลูกอม มีรสชาติใกล้เคียงกับน้ำตาลมาก

 

Saccharin หรือขัณฑสกร

 

  • มักจะพบในเครื่องดื่มรสหวาน

 

Acesulfame K

 

  • พบได้ในผลิตภัณฑ์จากนม ครีมผง และเนยแข็ง

 

Sorbitol

 

  • ใช้ในการป้องกันการตกผลึกของช็อกโกแลต ไอศกรีม

 

Xylitol

 

  • เป็นส่วนผสมของยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก หรือหมากฝรั่ง

 

 

น้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล

 

 

สารให้ความหวานที่ไม่กระตุ้นอินซูลิน

 

หญ้าหวาน (Stevia)

 

  • สารที่ทำมาจากธรรมชาติ ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 250 – 300 เท่า มีพลังงานน้อย มักนำมาใช้ในเครื่องดื่ม อาหาร เพราะทนทานต่อความร้อน 200 องศาเซลเซียส หลายประเทศในทวีปเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มักจะนำมาหมักกับเนื้อสัตว์ ดองผัก เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร สรรพคุณเป็นสมุนไพรที่ลดน้ำตาลในโลหิต ไม่ทำปฏิกิริยาต่อฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน อีกทั้งยังไม่มีรายงานความผิดปกติของผู้ใช้แต่อย่างใด เพียงแค่หากต้องการใช้ความหวานจากสิ่งนี้ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.

 

 

หญ้าหวาน

 

 

สารให้ความหวานมีโทษอย่างไร

 

  • หากใช้ขัณฑสกรในปริมาณมากมีความเสี่ยงต่อมะเร็ง

 

  • ทำให้ติดนิสัยชอบรับประทานรสชาติหวาน และเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ

 

  • เนื่องจากบางท่านคิดว่าการบริโภคสารให้ความหวานพลังงาน จึงรับประทานอาหารมากขึ้นหรือเลือกอาหารที่มีพลังงานสูง จึงทำให้น้ำหนักขึ้น เกิดภาวะอ้วนได้

 

  • น้ำตาลเทียมบางชนิดมีผลต่อการทำงานของอินซูลิน คล้ายกับการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเยอะ จนเกิดการย่อยบกพร่องขึ้น มีความหิวมากกว่าปกติ ทำให้บริโภคอาหารเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อ้วนลงพุง และเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 เช่นกัน

 

 

หมากฝรั่งไม่มีน้ำตาล

 

 

สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลอันตรายไหม

 

จากที่กล่าวมาจะได้เห็นถึงประโยชน์และโทษของน้ำตาลเทียม ดังนั้นการที่จะได้ประโยชน์สูงสุดโดยที่ไม่ส่งผลต่อสุขภาพ ควรปฏิบัติดังนี้

 

  • ก่อนที่จะใช้สารให้ความหวานควรศึกษาให้ละเอียด

 

  • ดูรายละเอียดข้อมูลบนฉลากสินค้าก่อนบริโภค

 

  • เลือกใช้สารที่เหมาะสมกับอาหารหรือเครื่องดื่ม

 

  • รับประทานในปริมาณที่จำกัด

 

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานหากจะใช้สารเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

 

 

สารให้ความหวานเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในการลดปริมาณน้ำตาลในอาหาร ที่ให้พลังงานต่ำ ช่วยลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้ แต่ไม่ได้ช่วยลดปริมาณค่าน้ำตาลในเลือด หรือบรรเทาอาการเบาหวานแต่อย่างใด หากอยากมีสุขภาพที่ดีไม่สามารถบริโภคสารนี้อย่างเดียวทุกมื้อได้ ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ปรุงอาหารให้รสจัด รวมทั้งการพักผ่อนให้เพียงพอ

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

รวมตรวจสุขภาพประจำปี 2566

 

 

คลินิกอายุรกรรม คลินิกที่รวมโรคร้ายไว้มากที่สุด

 

 

โรคเบาหวาน ภัยร้ายสู่การสูญเสียอวัยวะสำคัญ