ไข้เลือดออก โรคควรระวังในฤดูฝน
ไข้เลือดออก โรคควรระวังในฤดูฝน

ฤดูฝนมาถึงแล้ว อะไรจะมาพร้อมกับฝนบ้างนอกจากการแพร่ระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ คำตอบก็คือ “ยุง” สัตว์ตัวน้อยที่เป็นพาหะของ “โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever)” โรคนี้เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นในประเทศเขตร้อน ใช่แล้วนั่นร่วมถึงประเทศไทยด้วย ไม่เพียงแค่นั้นนะ WHO ยังประกาศเฝ้าระวังโรคนี้ด้วย เพราะมีความรุนแรง และเป็นอันตรายต่อเด็ก ส่วนข้อมูลรายละเอียดของโรคไข้เลือดออกจะมีอะไรบ้างนั้น เราจะให้คำตอบกับคุณเอง

 

ทำไมจึงควรระวังไข้เลือดออกในฤดูฝน

 

สาเหตุที่เราควรระวังโรคนี้ในฤดูฝน ถือเป็นสาเหตุที่ใครหลายคนรู้กันเป็นอย่างดีแล้ว เพราะการที่ฝนตกจะทำให้เกิดน้ำขังตามพื้นที่ต่าง ๆ  เป็นผลให้ยุงลายสามารถมาวางไข่ไว้ที่ผิวน้ำนั้น ๆ ได้ จนเกิดการแพร่กระจายยุงลาย นั่นเท่ากับว่าในฤดูฝนจะเป็นตัวช่วยให้โรคไข้เลือดออกแพร่กระจายได้ง่าย ในบรรดาผู้ป่วยโรคนี้ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเสียชีวิต เพราะจากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขของไทยได้บอกไว้ว่าผู้ที่เสียชีวิตส่วนมากจะมีอายุอยู่ในช่วง 10-24 ปีโดยยุงลายที่เป็นพาหะจะเป็นเพศเมียเท่านั้น และมักจะออกหากินในช่วงเวลากลางวัน

โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อว่า “เดงกี่ (Dengue)” เมื่อเจ้ายุงลายตัวร้ายไปกัดคนที่มีไวรัสชนิดนี้มันจำนำไวรัสนั้นมาไว้กับตัวมันด้วย และเมื่อมันไปกัดใครต่อจากนั้น เชื้อไวรัสที่อยู่ในตัวมันก็จะแพร่กระจายสู่ผู้อื่นต่อไป จึงนับได้ว่าโรคนี้เป็นโรคติดต่อจากยุงสู่คน

 

อาการของผู้ป่วยไข้เลือดออก

 

ปกติแล้วผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายคลึงไข้หวัดแต่มีความรุนแรงมากกว่า คือ อ่อนเพลีย มีไข้สูง ปวดศีรษะอย่างมาก ปวดเมื่อยตามร่างกาย ในผู้ป่วยบางรายจะมีอาการอาเจียน และมีผื่นสีแดง หรือรอยจ้ำเป็นเลือดเกิดขึ้นตามผิวหนังร่วมด้วย สำหรับอาการในเด็กและผู้ใหญ่มักจะมีอาการไม่ต่างกัน แต่เด็กจะมีโอกาสที่จะมีอาการในระดับรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่ ด้วยสาเหตุนี้เราจึงควรเฝ้าระวังหากเด็กเป็นโรคไข้หวัดใหญ่อย่างใกล้ชิด

ในระดับรุนแรงอาจทำให้ร่างกายเกิดอาการช็อก มีผลให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ปัสสาวะน้อยลง มีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น และวัดชีพจรไม่ได้ ในระดับอาการนี้ผู้ป่วยจะค่อย ๆ มีอาการดีขึ้นภายในเวลา 1 สัปดาห์ และค่อย ๆ หายดีในที่สุด

 

ไข้เลือดออก

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเสี่ยงไข้เลือดออก

 

สามารถสังเกตได้ด้วยตัวของเราเอง หากเรามีอาการปวดหัว มีไข้สูงอย่างรวดเร็ว หรือมีจุดสีแดงตามร่างกาย หากมีอาการในลักษณะนี้เราแนะนำให้ท่านควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เช่น การตรวจเลือด ตรวจความดันโลหิต ร่วมกับการซักประวัติ เป็นต้น

 

หากพบว่าเป็นไข้เลือดออกจริงจะต้องเข้ารับการรักษา และคอยดูแลอย่างใกล้ชิดจนกว่าอาการจะดีขึ้นและหายเป็นปกติ สำหรับโรคนี้ยังไม่มีตัวยาที่สามารถรักษาได้โดยตรง ทำได้เพียงรับยาจากแพทย์ และรักษาตามระดับอาการเท่านั้น นอกจากนี้ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงยาแอสไพริน เพราะจะทำให้อาการยิ่งแย่ลงไปอีก ในช่วงระหว่างการรักษาผู้ป่วยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น Dengue Shock Syndrome หรืออาการช็อกจากการเสียเลือดมากได้ด้วย เป็นต้น

 

การป้องกันไข้เลือดออก

 

ปัจจุบันสามารถป้องกันได้หลายวิธี เช่น การคอยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน หรือบริเวณใกล้เคียงกับบ้าน คอยทายากันยุงเมื่ออยู่ในพื้นที่ยุงลายระบาด และไม่เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงของโรคไข้เลือดออก นอกจากวิธีดูแลตนเองด้วยวิธีเหล่านี้แล้ว เรายังสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้เลือดออก เพื่อลดโอกาสเสี่ยงโรคนี้ในฤดูฝน ซึ่งโรงพยาบาลเพชรเวชก็มีบริการด้านนี้เช่นเดียวกัน

 

โรคไข้เลือดออกอาจดูไม่ร้ายแรงกับผู้ที่เคยเป็นมาก่อน แต่สำหรับผู้อื่นเราไม่สามารถมั่นใจได้ว่าจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ โดยเฉพาะในเด็ก ดังนั้นเราจึงต้องดูแลและป้องกัน ทั้งตัวของเราเองและเด็ก ๆ ภายในบ้านให้ห่างไกลจากโรคนี้มากที่สุด

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

 

___________________________

 

ติดต่อแผนกอายุรกรรม

 

วันเปิดทำการ : บริการทุกวัน
เวลาเปิดทำการ : 08.00-19.00 น. (ติดต่อลงทะเบียนก่อนเวลา 18.30 น.)
ตึก/ชั้น : A/16
เบอร์ติดต่อ : 1390