แคะหูบ่อยๆ เป็นอันตรายหรือไม่
แคะหูบ่อยๆ เป็นอันตรายหรือไม่

บุคคลปกติทั่วไปเมื่อมีอาการคันหู จึงใช้คอตตอนบัด  หรือไม้แคะหู เพื่อทำความสะอาด และแก้อาการคันในรูหู ซึ่งในความจริงแล้วไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแคะหูเลย เพราะกลไกของร่างกายธรรมชาติสามารถกำจัดขี้หูออกไปเองจากการเคี้ยวอาหาร และการพูดคุยสนทนาทั่วไป  อีกทั้งการแคะหู ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายแก่รูหู หรือการที่มีขี้หูมากเกินไปก็ส่งผลเสียได้เช่นกัน ดังนั้นควรทำความสะอาดรูหูอย่างถูกวิธี เพื่อความปลอดภัย และบุคลิกภาพที่ดี

 

 

อันตรายหลังจากการแคะหู

      

  • หูอื้อหลังแคะหู

      

  • แคะหูแล้วเป็นแผล   

      

  • มีเลือด และหนองไหลออกจากรูหู

      

  • หูอักเสบ

      

  • แห้วหูทะลุ

      

  • ขี้หูอุดตัน

      

  • อุบัติเหตุ เช่น ก้านสำลีหลุดเข้าไปในรูหู

 

 

แคะหูด้วยคัตตอนบัด เป็นอันตรายหรือไม่

 

การใช้คัตตอนบัด  หรือก้านสำลีมาแคะหู จะทำให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของต่อมที่สร้างขี้หู เมื่อมีขี้หูเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และยิ่งใช้คัตตอนบัดมาแคะหู ไม่ได้ทำให้ขี้หูออกมาจนหมดแต่อย่างใด หากแต่เป็นการดันขี้หูให้อันแน่นในรูหู ให้ลึกมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะขี้หูอุดตันได้  โดยเฉพาะเด็ก และผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ยังบอกอาการเกี่ยวกับหูไม่ได้ ผู้ดูแล และผู้ใกล้ชิดควรสังเกตอาการ และคอยถามความผิดปกติ เช่น มีอาการหูอื้อ และไม่ค่อยได้ยิน หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากละเลยอาการของภาวะขี้หูอุดตัน โดยไม่ทำการรักษา สามารถเป็นอันตรายถึงขั้นสูญเสียการได้ยิน

 

 

วิธีการแคะขี้หูให้ปลอดภัย

 

วิธีการแคะขี้หูที่มีความปลอดภัย  คือการทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์จะทำการส่องกล้องภายในรูหู และใช้เครื่องมือในการนำขี้หูออก โดยไม่สัมผัสตัวเยื่อบุ หรือผนังหู หากไม่สามารถพบแพทย์ได้ สามารถทำการแคะหูเองได้ดังนี้

      

  • ทำความสะอาด ข้างหน้า และข้างหลังใบหู

      

  • ใช้เบบี้ออยล์ หรือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) หยดลงในรูหูเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ขี้หูมีความอ่อนตัวลง สามารถแคะออกได้ง่าย

      

  • เอียงศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง ใช้อุปกรณ์ เช่น คัตตอนบัด แหย่เข้าไปในรูหู และแคะขี้หูออกมาอย่างเบามือที่สุด

      

  • เมื่อเสร็จแล้ว ทำความสะอาดรูหู และใบหูด้วยเบบี้ออยล์ แล้วเช็ดให้แห้ง

 

 

แคะหู

 

 

ข้อควรระวังในการแคะหู

      

  • ควรใช้คอตตอนบัดทำความสะอาดเพียงบริเวณใบหู และบริเวณปากรูหูเท่านั้น

      

  • ไม่ควรใช้อุปกรณ์ในการแคะหูซ้ำโดยเด็ดขาด ควรใช้ครั้งเดียว และทิ้งเลย

      

  • ผู้ที่มีอาการแพ้เบบี้ออยส์ และแพ้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ควรหลีกเลี่ยงของเหลวเหล่านี้ในการแคะหู

      

  • หลีกเลี่ยงการใช้ของเหลวต่างๆ มาใช้ในการแคะหู โดยเฉพาะแอลกอฮอล์ และน้ำเปล่า เพราะจะทำให้หูแห้งจนเกินไป อีกทั้งหากไหลเข้าลงสู่หูชั้นใน อาจเกิดการอักเสบ ระคายเคือง จนเกิดโรคหูน้ำหนวกได้

      

  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น น้ำเข้าหูแล้วมีอาการหูอื้อ หรือรู้สึกว่าน้ำยังไม่ออกจากหู ไม่ควรนำอุปกรณ์ใดๆสอดเข้าไปในรูหูโดยเด็ดขาด ควรไปพบแพทย์

 

 

หากหูมีภาวะที่ปกติดี ไม่ควรทำการแคะหู หรือมีความต้องการทำความสะอาดหูจริงๆ ควรให้แพทย์เป็นผู้ทำให้ นอกจากนี้หลังจากทำกิจกรรม เช่น ดำน้ำ หรือว่ายน้ำ มักจะมีอาการความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหู  เนื่องจากน้ำที่เข้าหู อาจจะมีสิ่งสกปรกรวมอยู่ในนั้น กลไกในการกำจัดขี้หูจึงมีความผิดปกติ หากมีอาการปวดหู ได้ยินเสียงเบาลง และมีหนอง หรือกลิ่นจากหู ควรมาพบแพทย์โดยทันที