ท่อน้ำตาอุดตัน น้ำตาไหลคล้ายร้องไห้ตลอดเวลา
ท่อน้ำตาอุดตัน น้ำตาไหลคล้ายร้องไห้ตลอดเวลา

ท่อน้ำตาอุดตัน (Nasolacimal Duct Obstruction) คือ ภาวะที่ทางเดินท่อน้ำตามีการอุดกลั้น ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำตาออกมาได้ ส่งผลให้มีน้ำตาคลอ หรือมีน้ำตาไหลคล้ายร้องไห้ตลอดเวลา หากมีอาการรุนแรงอาจเกิดการระคายเคือง หรือการอักเสบติดเชื้อ กลายเป็นถุงน้ำตาอักเสบได้ ภาวะนี้สามารถเกิดได้กับผู้ป่วยทุกวัย ตั้งแต่ทารกจนถึงผู้สูงอายุ แต่จะพบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

 

 

สาเหตุในการเกิดท่อน้ำตาอุดตัน

      

  • เกิดการระคายเคืองบริเวณดวงตา เช่น ฝุ่นละอองเข้าตา

      

  • มีการติดเชื้อบริเวณท่อน้ำตา

      

  • เกิดเนื้องอกบริเวณท่อน้ำตา

      

  • ระบบเปลือกไม่สามารถตาบีบน้ำตาได้

      

  • มีประวัติในการได้รับอุบัติเหตุบริเวณท่อน้ำตา

      

  • มีประวัติในการได้รับการรักษาด้วยวิธีฉายแสงบริเวณดวงตา

      

  • โรคภูมิแพ้

      

  • โรคไซนัส

      

  • โรคต้อหิน ที่จะต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา

      

  • ผนังกั้นหัวตาไม่ทะลุตั้งแต่กำเนิด

 

 

อาการท่อน้ำตาอุดตัน

 

  • มีน้ำตาไหลตลอดเวลา

      

  • มีขี้ตาสีเหลือง หรือสีเขียว

      

  • ปวด บวม แดง ร้อนบริเวณหัวตา

      

  • เกิดการอักเสบเป็นฝีหนองไหลออกมาจากรูเปิดท่อน้ำตา

 

 

การวินิจฉัยท่อน้ำตาอุดตัน

      

  • จักษุแพทย์จะหยอดยาชาที่ตา และใช้เข็มปลายตัด แยงลงไปทางรูเปิดของท่อน้ำตา แล้วฉีดน้ำลงไป หากบุคคลปกติจะรู้สึกถึงอาการน้ำรสชาติเค็ม ไหลลงคอ แต่ถ้าหากเป็นผู้ป่วยท่อน้ำตาอุดตัน จะมีน้ำจะไหลลับออกมา และอาจจะมีขี้ตาออกมาด้วย

      

  • การฉีดสารรังสีลงไปในดวงตา และทำการ X-Ray หรือ CT Scan เพื่อดูความผิดปกติของท่อน้ำตา

      

  • การใช้สีย้อมตรวจกระจกตาหยอดลงไปในตา 5-10 นาที หากสียังอยู่ที่ตา แสดงว่าเป็นโรคท่อน้ำตาอุดตัน

 

 

การรักษาท่อน้ำตาอุดตัน

 

การรักษาท่อน้ำตาอุดตันสำหรับผู้ป่วยวัยเด็ก

      

  • ยาปฏิชีวนะ ป้องกันการอักเสบติดเชื้อ

      

  • นวดบริเวณหัวตา

      

  • ใช้แท่งโลหะแยงลงไปบริเวณท่อน้ำตา

 

การรักษาท่อน้ำตาอุดตันสำหรับผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่

      

  • การหยอดยาฆ่าเชื้อ เพื่อลดขี้ตา และป้องกันการอักเสบติดเชื้อเป็นถุงหนองที่หัวตา

      

  • หากเกิดการอักเสบเป็นหนอง ผู้ป่วยจะได้รับการหยอดยาฆ่าเชื้อ และรับประทานยาฆ่าเชื้อ และถ้ามีอาการปวดร่วมด้วยจักษุแพทย์จะทำการเจาะระบายหนอง หากมีการอักเสบเปลือกตามีการบวมทั้งหมด จักษุแพทย์จะทำการฉีดยาให้ผู้ป่วย

      

  • การใช้ Laser เพื่อให้เกิดรูเชื่อมระหว่างถุงน้ำตา และจมูก

      

  • การผ่าตัดผ่านทางผิวหนังบริเวณสันจมูก หากผู้ป่วยอาการอักเสบ บวม แดง จะไม่สามารถผ่าตัดได้ เพราะผิวหนังบริเวณถุงน้ำตาอักเสบจะไม่แข็งแรง จากการผ่าตัด และเย็บแผล เกิดแผลแยกบริเวณที่ผ่าตัด ส่งผลให้มีรอยแผลเป็นบนใบหน้าได้

      

  • ผ่าตัดโดยการใช้กล้องเอ็นโดสโคป (Endoscope) เป็นการผ่าตัดในช่องรูจมูก เพื่อสร้างที่ในการระบายท่อน้ำตาใหม่ สามารถใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบ บวม แดงได้ ยกเว้นผู้ป่วยที่มีประวัติใบหน้าแตก ยุบ การผ่าตัดนี้อาจส่งผลให้กระดูกผิดรูปได้ อีกทั้งการผ่าตัดวิธีนี้ จะไม่สร้างแผลเป็นให้แก่ผู้ป่วย มีประสิทธิภาพสูง  สามารถฟื้นตัวหลังผ่าตัดได้ไวขึ้น

 

 

น้ำตา

 

 

ข้อแนะนำก่อนเข้ารับการผ่าตัดท่อน้ำตาอุดตัน

      

  • ก่อนเข้ารับการผ่าตัดท่อน้ำตาอุดตัน ประมาณ 5-7 วัน ควรงดการใช้ยาละลายลิ่มเลือด และวิตามินต่างๆที่ส่งผลให้เลือดเกิดการแข็งตัว เช่น วิตามินซี และวิตามินอี เป็นต้น

      

  • งดน้ำ และงดอาหารก่อนผ่าตัดท่อน้ำตาอุดตัน อย่างน้อย 6 ชั่วโมง

      

  • งดแต่งหน้าก่อนผ่าตัดท่อน้ำตาอุดตัน และทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย

      

  • ควรถอดเครื่องประดับ ชุดชั้นใน และฟันปลอมก่อนเข้ารับการผ่าตัดท่อน้ำตาอุดตัน

      

  • หากมีการอักเสบติดเชื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ควรเลื่อนนัดวันผ่าตัดออกไปก่อน

 

 

ในบุคคลทั่วไปหากสงสัยว่าตนเองมีอาการท่อน้ำตาอุดตันหรือไม่ เบื้องต้นสามารถตรวจได้โดยกดที่หัวตาข้างสันจมูก หากมีของเหลวไหลออกมา เช่น น้ำตา เมือกขี้ตา หรือหนอง ควรไปพบจักษุแพทย์ ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดท่อน้ำตาอุดตัน มาแล้ว 2-4 สัปดาห์ ไม่ควรก้มๆ เงยๆ และยกของหนัก เพราะจะทำให้มีเลือดออกได้ ควรพักผ่อน และปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์