พังผืดในปอด สังเกตได้จากอาการหายใจแรง
พังผืดในปอด สังเกตได้จากอาการหายใจแรง

พังผืดที่ปอด (Pulmonary Fibrosis) คือโรคปอดชนิดหนึ่ง เกิดจากเนื้อเยื่อปอดเกิดการอักเสบ กลายเป็นแผลเป็น และพังผืด สามารถสังเกตได้จากอาการหายใจแรง หรือหายใจลำบาก เพราะ การแลกเปลี่ยนออกซิเจนเข้ากระแสเลือด จากการทำงานของถุงลมปอดไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบทางเดินหายใจอย่างร้ายแรง เช่น หัวใจล้มเหลวได้

 

 

สาเหตุของพังผืดในปอด เกิดขึ้นได้อย่างไร

 

การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษทางอากาศเป็นระยะเวลานาน ได้แก่

           

  • การได้รับสารพิษจากควันบุหรี่

           

  • การได้รับฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การได้รับฝุ่นแร่ใยหิน ฝุ่นจากเหล็ก และฝุ่นจากถ่านหิน

           

  • การได้รับฝุ่นจากการเกษตรกรรม เช่น ละอองจากธัญพืช และมูลสัตว์

         

  • ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยยา หรือรังสี เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด ผู้ป่วยที่รับประทานยากำจัดเซลล์มะเร็ง ยารักษาโรคหัวใจ รวมถึงยาปฏิชีวนะบางประเภท

          

  • โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น ปอดบวม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ กล้ามเนื้ออักเสบ และโรคแพ้ภูมิตัวเอง เป็นต้น

 

 

อาการพังผืดในปอด

          

  • หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่แรง

           

  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย

           

  • เจ็บหน้าอก

           

  • เบื่ออาหาร

           

  • น้ำหนักลดลงผิดปกติ

           

  • ปวดตามข้อ และปวดกล้ามเนื้อ

           

  • ปลายนิ้วมือ และปลายนิ้วเท้ามีการขยายตัวออก หรือเรียกว่า นิ้วปุ้ม

 

 

การวินิจฉัยพังผืดในปอด

 

ขั้นแรกแพทย์จะซักถามประวัติอาการ ระยะในการเกิดโรค รวมทั้งโรคประจำตัวของผู้ป่วย หลังจากนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีทางการแพทย์ ตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยอย่างละเอียด ได้แก่

           

  • เอกซเรย์ทรวงอก เพื่อตรวจว่ามีแผลในเนื้อเยื่อปอดส่วนใด

           

  • การตรวจเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อตรวจความเสียหายของปอดที่เกิดจากพังผืด

           

  • การใช้เครื่อง Stethoscope การฟังเสียงปอดของผู้ป่วยขณะหายใจ

           

  • การใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนจากชีพจร

           

  • ตรวจออกซิเจนในเลือด  เพื่อตรวจระดับออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ จากการเก็บตัวอย่างของโลหิต

 

 

การรักษาพังผืดในปอด

 

การรักษาด้วยยา

           

  • หากผู้ป่วยพังผืดที่ปอดเกิดจากโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน แพทย์จะให้ยา ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid)  ซึ่งเป็นยาชนิดกดภูมิคุ้มกัน

           

  • หากผู้ป่วยพังผืดที่ปอดโดยไม่ทราบสาเหตุ และ มีอาการกรดไหลย้อน แพทย์อาจให้ยาลดกรดเพื่อลดกรดในกระเพาะอาหาร

           

  • หากผู้ป่วยพังผืดที่ปอดโดยไม่ทราบสาเหตุ และตอบสนองในการรักษา แพทย์จะให้ยาเพอร์เฟนิโดน (Pirfenidone) และยานินเทดานิบ (Nintedanib) แก่ผู้ป่วยเป็นการรักษาเป็นแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy)

 

การรักษาด้วยออกซิเจน

           

  • สำหรับผู้ป่วยพังผืดที่ปอดร่วมกับภาวะระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจห้องล่างขวาล้มเหลวได้

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด

           

  • เป็นการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น จากการออกกำลัง เปลี่ยนวิธีการหายใจ และโภชนาการ

 

การปลูกถ่ายปอด

           

  • สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการอยู่ในขั้นรุนแรง และไม่ตอบสนองต่อการรักษาใดๆ แต่อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น การติดเชื้อ และภาวะต่อต้านอวัยวะใหม่

 

 

x-ray film

 

 

การป้องกันพังผืดในปอด

          

  • เลิกสูบบุหรี่

           

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และนม

           

  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

           

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

           

  • หากต้องทำงาน หรืออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เป็นมลพิษ ควรสวมหน้ากากอนามัย

           

  • ฉีดวัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ และวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

           

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเข้มแข็ง

 

 

โรคพังผืดในปอดหากเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ โดยเฉพาะในช่วงของสถานการณ์ การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพราะถ้าหากเป็นพังผืดในปอดอยู่แล้ว และเกิดการติดเชื้อโควิด19 จะทำให้ร่างกายเป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพปอด

 

 

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ 2023)

 

 

วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ