ทำอย่างไรเมื่อถูกสัตว์เลี้ยงกัด
ทำอย่างไรเมื่อถูกสัตว์เลี้ยงกัด

สำหรับบรรดาผู้รักสัตว์ทั้งหลาย มักจะต้องมีสัตว์เลี้ยงไว้เป็นเพื่อนแก้เหงา ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว หรือสัตว์อื่นๆ แต่บางทีเจ้าสัตว์เหล่านี้มันก็ทำร้ายเจ้าของ หรือคนอื่นๆได้ เช่น การถูกมันข่วน หรือกัด ไม่ว่าหมา หรือแมว เมื่อคนเราถูกมันกัดแล้ว สามารถเป็นอันตรายได้ เนื่องจากปากของพวกมันเต็มไปด้วยแบคทีเรีย และด้วยความลึกของแผลอาจเข้าลึกไปถึงกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นประสาท หรือหลอดเลือด ส่งผลให้ติดเชื้อโรคจากพวกมันได้ และควรทำอย่างไรเมื่อถูกสัตว์เลี้ยงกัด

 

 

โรคที่ได้รับเมื่อถูกสัตว์เลี้ยงกัด

 

บาดทะยัก

 

  • โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีพิษร้ายแรง มีความเสี่ยงอัมพาตได้

 

การติดเชื้อแบคทีเรีย Bartonella henselae

          

  • มักจะได้รับเชื้อจากการถูกข่วน รวมทั้งการโดนสัตว์เลี้ยงเลียแผล

 

การติดเชื้อ Capnocytophaga spp

 

  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีความเสี่ยงเป็นอันตรายต่อร่างกายสูง หากได้รับแบคทีเรียนี้

 

โรคแบคทีเรีย Pasteurella

           

  • พบได้ในแผลติดเชื้อที่เกิดจากสุนัขกัด มักจะมีอาการปวดและแดงบริเวณแผลที่ถูกกัด ร่วมกับอาการน้ำเหลืองบวม ข้อต่อบวม ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีความเสี่ยงเป็นอันตรายต่อร่างกายสูง

 

โรคพิษสุนัขบ้า

           

  • แม้ว่าถูกแมวกัดก็เป็นโรคนี้ได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสมอง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต การแพร่กระจายของเชื้อพิษสุนัขบ้าคือการได้รับเชื้อจากการถูกกัด

 

การติดเชื้อเมธิซิลลิน รีซิสแตนท์ สแตฟีโลค็อคคัส ออรีอัส (MASA)

           

  • เป็นเชื้อที่ดื้อยาปฏิชีวนะบางกลุ่ม แบคทีเรียนี้อาจส่งผลให้มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง ปอด และในระบบทางเดินปัสสาวะ เชื้ออาจแพร่กระจายไปยังกระแสเลือดหรือปอดจนเกิดการติดเชื้อที่ส่งผลต่อชีวิตได้

 

 

อาการเมื่อถูกสัตว์เลี้ยงกัด

 

  • มีอาการแดงและบวมรอบ ๆ แผลถูกกัด และลุกลามไปยังบริเวณอื่นๆ ที่ใกล้เคียง

 

  • รู้สึกอุ่นและเจ็บแผลขึ้นเรื่อย ๆ

 

  • หนองไหลออกจากแผล

 

  • มีไข้ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป

 

  • หนาวสั่น แต่มีเหงื่อออก

 

  • มีอาการบวมของต่อมน้ำเหลืองบริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น ใต้รักแร้ หรือตรงขาหนีบ

 

 

การรักษาแผลที่ถูกสัตว์เลี้ยงกัด

 

การรักษาขั้นต้นด้วยตนเอง

 

  • ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด และสบู่ หลายครั้ง จนสะอาด

 

  • สำรวจบาดแผลว่ารุนแรงแค่ไหน

 

  • หากแผลไม่รุนแรงมาก สามารถใช้ยาทาแผล เช่น เบตาดีน หรือครีมทาแผลที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ หรือผ้าปิดแผลที่สะอาด ทำแผลทุกวันจนกว่าจะหายสนิท

 

  • หากแผลไม่ใหญ่มาก แต่มีความเล็ก พร้อมทั้งอาการปวด ให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด และสบู่ หลังจากนั้นรีบไปพบแพทย์ทันที

 

  • แผลฉีกขาดเลือดไหลเยอะ ให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด และสบู่ จนสะอาด ใช้ผ้าก๊อซสะอาดกดแผลห้ามเลือดไว้ และรีบไปพบแพทย์ทันที

 

การรักษาโดยแพทย์

 

  • แพทย์จะทำการพิจารณาบาดแผลว่ามีความรุนแรงเท่าใด หลังจากนั้นจะฉีดยาชา และใช้น้ำเกลือล้างแผลเพื่อขจัดแบคทีเรียและสิ่งสกปรกออกไป

 

  • บาดแผลว่ามีความรุนแรง และถูกกัดในบริเวณจุดสำคัญ แพทย์จะทำการเย็บบาดแผล โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า แต่การถูกกัดบริเวณอื่น ๆ  สามารถปล่อยให้แผลหายเองได้โดยไม่ต้องเย็บ

 

  • หากผิวหนังถูกกัดเสียหาย ถูกกัดจนผิวหนัง หรือเนื้อฉีกขาด  อาจต้องได้รับการผ่าตัด

 

  • แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ รวมถึงยาบรรเทาอาการปวด   เช่น ยาพาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน 

           

  • แพทย์จะฉีดวัคซีนและอิมมูโนโกลบุลิน (rabies vaccine และ RIG) รวมทั้งคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันบาดทะยัก

 

 

 

แบคทีเรีย

 

การป้องกันการถูกสัตว์เลี้ยงกัด

 

  • พาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า

 

  • ไม่ควรเข้าไปเล่นกับสัตว์เลี้ยง ขณะที่มันกำลังกินอาหาร นอนหลับ หรือเลี้ยงดูลูก

 

  • ไม่ควรปล่อยให้ทารก หรือเด็กเล็กอยู่กับสัตว์เลี้ยงตามลำพัง

 

 

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจะต้องฉีดให้ครบ 1 ชุด ซึ่งมีทั้งหมด 5 เข็ม ใช้เวลาในการฉีดประมาณ 1 เดือน โดยฉีดวัคซีนในวันแรกที่ถูกสุนัขกัด และในวันที่ 3, 7, 14 และ30 หลังสุนัขกัดตามลำดับ ทั้งนี้หลังจากที่ถูกสัตว์เลี้ยงกัดแล้วควรไปพบแพทย์เพื่อรับวัคซีน และการรักษาแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ภายใน 24 ชั่วโมง