โรคทางผิวหนัง ที่เกิดจากแสงแดด
โรคทางผิวหนัง ที่เกิดจากแสงแดด

แสงแดดมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ถ้าสัมผัสรับแสงแดดแรงจัดๆ เป็นเวลานาน  อาจก่อให้เกิดโรคผิวหนังต่างๆ และ โรคระบบอื่นๆ หลายโรคที่อาจกำเริบเมื่อถูกแสงแดดได้ และยาหลายชนิด ที่สามารถส่งผลให้ผิวหนังมีความไวต่อแสงแดดมากกว่าปกติ รวมทั้งผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์

 

 

ทำไมแสงแดดถึงเป็นอันตราย

 

แสงแดดประกอบด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) หรือรังสียูวี (UV) ที่สามารถทำให้คอลลาเจน (เซลล์เนื้อเยื่อของผิวหนัง) เสื่อมสภาพ สารอนุมูลอิสระ ที่เกิดจากร่างกายต่อสู้กับสิ่งระคายเคืองเป็นเวลานาน หากสารตัวนี้หลงเหลืออยู่ในผิวหนัง สามารถทำลายเซลล์รอบๆ ตัว ส่งผลให้เกิดเป็นมะเร็งผิวหนังได้

 

 

รังสีอัลตราไวโอเลต lUtraviolet) หรือรังสียูวี (UV)

 

รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) หรือรังสียูวี (UV) มี 3 ชนิด

    

  • 1. รังสียูวีเอ (UVA) คือ รังสีอัลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่น 320-400 นาโนมิเตอร์ สามารถทะลุไปถึงชั้นผิวหนังกำพร้า และชั้นหนังแท้ได้ ในระยะยาวเชื่อกันว่าหากได้รับรังสี UVA มากๆ จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระในผิวหนัง ทำลายความยืดหยุ่นของเซลล์ ส่งผลให้ผิวหนังเหี่ยวย่น เกิดริ้วรอยก่อนวัย สีผิวคล้ำเข้ม ขาดความสดใส

      

  • 2. รังสียูวีบี (UVB) คือ รังสีอัลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่น 290-300 นาโนมิเตอร์  รังสี UVB ไม่สามารถทะลุสู่ชั้นผิวหนังที่ลึกได้ แต่สามารถทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น เกิดอาการแสบร้อน แดง และไหม้เกรียม

      

  • 3. รังสียูวีซี (UVC) ปัจจุบันนี้พบว่ารังสี UVC ก็สามารถทะลุชั้นโอโซนมายังพื้นโลกได้ เกิดจากมนุษย์ได้สร้างมลพิษกับสิ่งแวดล้อมจนไปทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนให้บอบบางลง

 

 

แสงแดด

 

 

โรคที่เกิดจากแสงแดด

      

  • โรคมะเร็งผิวหนัง (Skin Cancer) รังสี UV จะเข้าทำลาย DNA (Genotoxic) จนทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ พราะในแสงแดดจะมีสารกระตุ้นมะเร็งอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อได้รับแสงแดดจัดโดยตรงเป็นเวลานาน ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งผิวหนังมากขึ้น

      

  • โรคฝ้า (melasma) แสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นที่ทำให้เกิดฝ้า ผื่นสีน้ำตาลที่ใบหน้าโดยเฉพาะที่บริเวณแก้ม จมูก หน้าผาก คาง บริเวณที่ถูกแสงแดด มักจะพบในผู้หญิงวัย 30-40 ปี

      

  • โรคต้อเนื้อ (Pterygium) เกิดจากสัมผัสของรังสี UV จากดวงอาทิตย์กับเยื่อบุตามากเกินไป กลายเป็นเนื้อรูปสามเหลี่ยมสีแดงยื่นเข้าไปในตาดำ จนเยื่อบุตาเสื่อมลงในที่สุด

      

  • โรคลมแดด (Heat Stroke) เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป และขับเอาความร้อนออกจากร่างกายไม่ทัน จนมีอาการหน้ามืด ตาลาย เป็นลม  สามารถช็อก และชีวิตได้

 

 

วิธีป้องกันอันตรายจากแสงแดด

      

  • หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลา 10.00-16.00 น. เป็นเวลานาน เนื่องจากเป็นช่วงที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังมากที่สุด

      

  • หากต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรสวมเสื้อผ้าที่มีความหนา สีเข้ม และมิดชิด รวมทั้งสวมหมวก และกลางร่ม

      

  • ควรทาครีมกันแดดในปริมาณที่เหมาะสม (2 มิลลิกรัมต่อ 1 ตารางเซนติเมตรของผิวหนัง) ก่อนออกแดด 15  นาที และทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง และควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป

 

 

แสงแดดเป็นแหล่งของวิตามินดี ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น เป็นการเสริมสร้างกระดูก เพื่อการเจริญเติบโต หากจะได้ประโยชน์จากแสงแดด เพียงแค่ให้ใบหน้า แขน ขา สัมผัสกับแสงแดดอ่อนๆในยามเช้า เป็นเวลา 10-15 นาที หรือสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง  ก็เพียงพอ