Q : A รู้เท่าทัน Stroke
รู้เท่าทัน Strokeโรคหลอดเลือดสมอง

นพ.อุเทน บุญอรณะ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและสมอง โรงพยาบาลเพชรเวช จะมาให้ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองให้ได้ทราบและเข้าใจอย่างถูกต้องกันค่ะ 

 

Q :  Stroke หรือภาวะหลอดเลือดสมองคืออะไร

A :  โรคหลอดเลือดสมอง อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพาต โรค stroke หรือภาวะสมองขาดเลือด ไม่ใช่โรคของสมองแต่เป็นโรคของหลอดเลือด และเป็นโรคที่สมองต้องรับกรรม แปลว่าถ้าหลอดเลือดมีปัญหาอย่าโฟกัสที่สมองอย่างเดียว แต่จะมี 3 จุดหลัก ๆ ในร่างกายที่จะได้รับผลกระทบ คือ 1. สมอง 2. หัวใจ 3. ไต จริงอยู่ที่ว่ายิ่งแก่ตัวไปหลอดเลือดก็จะไม่ดี แต่มันจะมีสาเหตุมาจากโรคต่าง ๆ ด้วย  ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้หลอดเลือดมีปัญหาก็คือ 1. โรคเบาหวาน  2. โรคความดัน 3. โรคไขมันสูง 4. โรคหัวใจ และ 5. การสูบบุหรี่ ซึ่ง 5 สาเหตุนี้สามารถตรวจและแก้ไขที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

 

Q : หลอดเลือดสมองตีบ กับ หลอดเลือดสมองแตก แตกต่างกันอย่างไร

A :  หลอดเลือดสมองแตกคือ การที่มีเลือดออกในสมองจึงไปกดเนื้อสมอง ทำให้พื้นที่ตรงนั้นไม่สามารถทำงานได้ ส่วนหลอดเลือดตีบ คือการที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนในหลอดเลือดได้ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ สำหรับอาการที่แสดงออกมาของทั้ง 2 ประเภทจะไม่ต่างกัน จะต่างที่ขั้นตอนการดูแล การให้ยารักษา แต่จริง ๆ คนไข้ทั้ง 2 กลุ่ม วิธีการดูแลเพื่อให้การฟื้นตัวได้ดีก็คือการทำกายภาพบำบัด การกินยาเพื่อป้องกันการเป็นซ้ำ เส้นเลือดสมองตีบมีโอกาสเป็นซ้ำได้สูงมาก ต้องขยันทำกายภาพบำบัดฟื้นตัว 6 เดือนแรก ถ้าขยันทำกายภาพบำบัดจะดีขึ้นชนิดที่ว่าไม่รู้มาก่อนว่าเคยเป็นเลยทีเดียว

 

Q : โรคทางสมอง(stroke)ที่พบมากที่สุด

A :  สำหรับบ้านเราโรคของหลอดเลือดสมองจะพบมากที่สุด แล้วตามด้วยโรคไฟฟ้าในสมอง หรือลมชัก และโรคสมองเสื่อม และอื่น ๆ สำหรับกลุ่มโรคสมองเสื่อมในไทยหรือสากลปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้ ทำได้แค่เพียงชะลอให้เกิดการเสื่อมช้าลงและชดเชยอาการบางอย่างเท่านั้น เราไม่ได้เข้าใจสมอง 100% แต่เรารู้ว่าสมองเสื่อมสามารถชดเชยได้ด้วยความเฉลียวฉลาด ถ้าเราฝึกความเฉลียวฉลาด ฝึกการท่องจำ ฝึกทักษะเอาไว้ เมื่อใดก็ตามที่เราเริ่มสมองเสื่อม ตรงส่วนนี้มันก็จะมาชดเชยได้ ดังนั้นจริง ๆ แล้วโรคสมองป้องกันไม่ได้แต่ทำให้บรรเทาได้ด้วยทักษะที่สะสมไว้

 

Q : วิธีสังเกตโรค stroke

A :  โรคนี้จะไม่มีสัญญาณบอก ต้องตรวจสุขภาพ เนื่องจากว่าเราใช้งานสมองอยู่ 30% บางทีเกิด stroke ไปแล้ว แต่บังเอิญว่าไปเกิดในสมองส่วน 70% ที่ไม่ได้ใช้งาน เราจึงไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะฉะนั้นปัจจุบันนี้ เวลาตรวจสุขภาพก็อาจจะตรวจ ct scan เพื่อดูว่าเคยเป็น stroke มาก่อนหรือไม่ จะได้ทราบภาวะเสี่ยงของตัวเอง ถ้าเคยเป็นแสดงว่าคุณอยู่บนความเสี่ยง และที่สำคัญโรคนี้ไม่ว่าจะวัยใด ๆ ก็สามารถเป็นได้หมด ถ้าอยู่บนพื้นฐานความเสี่ยงโรค 5 อย่าง หรือ life style การใช้ชีวิต เช่น ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย กินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ก็อยู่บนความเสี่ยงที่จะเป็นได้ สำหรับหมอแล้วแค่คุณประมาทคุณก็เสี่ยงแล้ว

 

โรคเสี่ยงStroke

Q : รู้อย่างไรว่าเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke)

A :  ถ้าคุณเป็นโรคและมีพฤติกรรมใดใน 5 นี้คือ

1. โรคเบาหวาน 

2. โรคความดัน

3. โรคไขมันสูง

4. โรคหัวใจและ

5. การสูบบุหรี่  

ก็แสดงว่าคุณมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือด และขึ้นอยู่กับว่าอวัยวะใดจะเป็นผู้รับเคราะห์ สมอง หัวใจ หรือไต และอีกอย่างคนจะชอบเข้าใจผิดว่าคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงทุกคนไม่ได้เป็นโรค stroke ไม่ได้เป็นเส้นเลือดสมองตีบ โรค Stroke บางอย่างมีอาการเตือนจริง แต่อีก 50% ก็ไม่ใช่อีกเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการก็จะกังวลและใช้ชีวิตไม่มีความสุข หมอก็จะแนะนำให้ไปตรวจถ้าตรวจแล้วไม่มีคือไม่มี แต่บางครั้งมันก็เกิดต่อกันได้

 

Q :  การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในกลุ่มเสี่ยง

A :  ถ้ารู้ตัวว่าอยู่บนความเสี่ยงมีวิธีแก้ไข คือ การตรวจสุขภาพ อายุเกิน 35 ปีขึ้นไปก็ตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง ถ้าเราสุขภาพแข็งแรง ไม่ว่าโรคอะไรเราก็จะลดความเสี่ยงลงได้ การดูแลตัวเองและกินยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมเรื่องอาหาร ออกกำลังกาย ทำอย่างไรก็ได้เพื่อลดความเสี่ยงลง

 

Q :  ขั้นตอนดูแลคนไข้โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke)

A :  การรักษามีขั้นหลักๆ 3 ขั้นตอนคือ  

  • ต้องตรวจร่างกาย ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอว่าโรคที่เกี่ยวเนื่องและมีความเสี่ยงอยู่ไหม ถ้าคุณมีโรคที่อยู่บนความเสี่ยง คุณต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์ และต้องดูแลสุขภาพให้ดี
  • หากมีอาการผิดปกติต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน เช่น อาการหน้าเบี้ยว แขนอ่อนแรง พูดไม่ชัด ต้องรีบไปโรงพยาบาลภายใน 3 ชั่วโมง เพราะมันไม่ใช่สัญญาณเตือนแต่มันเป็นสัญญาณบอกว่าคุณเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว  
  • เมื่อถึงมือหมอจะได้รับยาสลายลิ่มเลือด และจะรักษาได้โดยการทำกายภาพบำบัดและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่เคยละเลยมาก่อน

 

ปกติเส้นเลือดสมองสามารถรักษาได้ด้วยตัวเอง จากการได้รับกำลังใจที่ดีจากคนรอบข้างและการขยันทำกายภาพบำบัด และยังสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด หากไม่อยากเป็นโรคหลอดเลือดสมองเราต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต หันมาดูแลสุขภาพ ควบคุมคอเลสเตอรอล และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำกันนะคะ

 

 


แพ็กเกจที่แนะนำ

 

 


__________________________

 


ศูนย์สมองและระบบประสาท