Petcharavejhospital.com
โปรโมชั่นสุขภาพ
คลายความกังวลใจ เรื่องค่าใช้จ่ายส่วนเกิน

เพิ่มเติม

เพิ่มเติม
บุคลากรแพทย์
นพ.ชัยสิทธิ์ สุริยานุสรณ์
คลินิกอายุรกรรม
ดูประวัติแพทย์
พญ.แพร ทรัพย์สำรวย
สูตินรีเวช
ดูประวัติแพทย์
นพ.ภูวสิษฏ์ ตรีจักรสังข์
ศูนย์ศัลยกรรมและการผ่าตัด
ดูประวัติแพทย์
นพ.อุเทน บุญอรณะ
ศูนย์สมองและระบบประสาท
ดูประวัติแพทย์

เพิ่มเติม
บทความสุขภาพ
ท้องนอกมดลูก ภาวะที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรเพิกเฉย
  ท้องนอกมดลูก หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) คือ ภาวะที่เกิดจากการฝังตัวของไข่ แล้วกลายเป็นตัวอ่อน และไปฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่มดลูก ซึ่งการท้องนอกมดลูกอาจจะเห็นได้ชัด เมื่อมีการตั้งครรภ์ 7-8 สัปดาห์ขึ้นไป และถ้าหากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตัวคุณแม่ได้     ท้องนอกมดลูก เกิดจากสาเหตุใด      ผู้ป่วยเคยมีประวัติการท้องนอกมดลูกมาก่อน     การใช้ห่วงคุมกำเนิด     เกิดจากความผิดปกติ หรือการอักเสบเรื้อรังของท่อนำไข่         การรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน     ฮอร์โมนในกระบวนการตั้งครรภ์ไม่สมดุล     ท้องนอกมดลูก มีอาการอย่างไร     ประจำเดือนขาด, อ่อนเพลีย, คัดเต้านม     มีเลือดออกบริเวณช่องคลอด แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีเลือดออกไม่มาก     ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน         มีอาการหน้ามืด, เป็นลม, เวียนศีรษะ     ในผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการรุนแรงจนเกิดภาวะช็อกจากการตกเลือดภายในช่องท้อง      ปวดบริเวณท้องน้อย, ไหล่, ลำคอ และทวารหนัก     สัญญาณเตือนว่าอาจจะเกิดการท้องนอกมดลูก     ปวดบริเวณท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่ง      มีเลือดออกแบบกะปริบกะปรอย      เจ็บไหล่, ผิวซีด, หมดแรง      วิธีวินิจฉัยการท้องนอกมดลูก         แพทย์จะถามประวัติประจำเดือน และอาการต่าง ๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่     ทดสอบการตั้งครรภ์โดยการตรวจปัสสาวะ     การตรวจเลือดเพื่อหาระดับฮอร์โมน     การตรวจภายใน หากผู้ป่วยรู้สึกว่าเจ็บที่บริเวณอุ้งเชิงกราน     การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงที่บริเวณหน้าท้อง และช่องคลอด     ท้องนอกมดลูกรักษาอย่างไร     การใช้ยา     แพทย์จะให้ยาเมโธเทรกเซทแก่ผู้ป่วย โดยเป็นยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนที่ฝังตัวอยู่สามารถเจริญเติบโตได้ หากการใช้ยาไม่ตอบสนองต่อผู้ป่วย อาจจะต้องเปลี่ยนเป็นวิธีการผ่าตัดในลำดับต่อไป     การผ่าตัด     แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้อง โดยการใช้เครื่องมือชนิดพิเศษเพื่อนำตัวอ่อนออก และเย็บซ่อมท่อนำไข่ หากเนื้อเยื่อบริเวณท่อนำไข่เกิดความเสียหาย แพทย์อาจพิจารณการผ่าตัดท่อนำไข่ออกมาด้วย      ภาวะแทรกซ้อน     หากมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการท้องนอกมดลูก เช่น ภาวะช็อกจากการเสียเลือด แพทย์อาจจะให้เลือดแก่ผู้ป่วย เพื่อทดแทนเลือดที่เสียไป หรือถ้าหากพบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อจากการอักเสบ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ และยาลดอาการอักเสบ     วิธีป้องกันการท้องนอกมดลูก     สังเกตอาการขณะตั้งครรภ์ หากมีความผิดปกติ ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที     ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวางแผนการดูแลครรภ์     หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดทุกชนิด เพราะเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการท้องนอกมดลูกได้         ขณะมีเพศสัมพันธ์ ควรป้องกันโดยการสวมถุงยางอนามัยเสมอ     ท้องนอกมดลูก หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นภาวะที่มีความอันตรายต่อตัวคุณแม่ และทารกในครรภ์เป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย คุณแม่มือใหม่ทุกท่าน ควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อพูดคุย และปรึกษาแนวทางในการดูแลตนเอง และทารกในครรภ์ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของคุณแม่ และทารก       แหล่งอ้างอิง    Pobpad : https://bit.ly/44b8ObX   คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล : https://bit.ly/3Qa3i3t   โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ : https://bit.ly/3UsMt6B   ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : https://bit.ly/3WbWpCL   เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง   สูตินรีเวช   โปรแกรมคลอด และฝากครรภ์   ครรภ์เสี่ยง อันตรายที่คุณแม่ทุกคนควรหลีกเลี่ยง   ตั้งครรภ์ตอนอายุมากเสี่ยงอย่างไร
อ่านเพิ่มเติม
โรคอ้วนในเด็ก โรคที่ผู้ปกครองต้องดูแลใส่ใจอย่างจริงจัง
  โรคอ้วนในเด็ก (Child Obesity) คือ ภาวะการสะสมของไขมันในร่างกายที่มีปริมาณมากกว่าปกติ ส่งผลให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ในปัจจุบันโรคนี้มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งผู้ปกครองควรหันมาใส่ใจสุขภาพบุตรหลานของท่านกันให้มากขึ้น เพราะโรคนี้ยังมีภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเสี่ยงนำไปสู่การเสียชีวิตได้      สาเหตุของโรคอ้วนในเด็ก     ความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย     พันธุกรรม โดยเด็กจะมีความเสี่ยง หากบุคคลในครอบครัวมีใครเป็นโรคอ้วน         พฤติกรรมการบริโภค และการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม      โรคประจำตัว หรือผู้ที่มีกลุ่มอาการเฉพาะ     ปัญหาสุขภาพที่ตามมา เมื่อเกิดโรคอ้วนในเด็ก         โรคทางระบบหายใจ ซึ่งเสี่ยงที่จะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ     ไขมันในเลือด, ความดันโลหิตสูง     โรคเบาหวาน, ภาวะไขมันพอกตับ      ในเพศหญิง อาจจะมีอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ     โรคทางกระดูก, กล้ามเนื้อ, ข้อ     ถุงน้ำดี และตับเกิดการอักเสบ    การวินิจฉัยโรคอ้วนในเด็ก     การวัดค่าดัชนีมวลกาย ต้องเปรียบเทียบตาราง BMI ตามอายุ โดยให้ดูน้ำหนักตามเกณฑ์ เทียบกับส่วนสูง หากมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ไทล์ จะถือว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน     ตรวจเลือด เพื่อหาค่าระดับไขมัน, วิตามินดี, น้ำตาล, ฮอร์โมนที่ทำงานผิดปกติ ในร่างกายของเด็ก     วิธีป้องกันโรคอ้วนในเด็ก     ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เช่น หลีกเลี่ยงอาหารทอด, อาหารประเภทแป้ง, อาหารรสจัด, การบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่, เพิ่มอาหารที่มีกากใยสูง เป็นต้น     ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยการหากิจกรรมที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย          ควรดื่มนมที่มีไขมันต่ำ หรือนมจืดพร่องมันเนย     ลดระยะเวลากิจกรรมที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น การดูทีวี, เล่นเกม, เล่นโทรศัพท์     ผู้ปกครองต้องคอยเป็นกำลังใจ เพราะกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงของบุตรหลาน     ในปัจจุบันนี้ ทั่วโลกพบว่ามีแนวโน้มที่จะประสบพบเจอกับโรคอ้วนในเด็กเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น ผู้ปกครองควรหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพของบุตรหลานกันให้มากขึ้น เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อชีวิตบุตรหลานของท่าน หากจะป้องกันโรคนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค, การใช้ชีวิต, กำลังใจ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก หากบุตรหลานของท่าน มีความเสี่ยงว่าจะเกิดโรคอ้วนในเด็ก ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัย รับคำแนะนำ และรักษาต่อไป   เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง    กุมารเวช   3 วิธีการลดอ้วนที่ไม่ใช่แค่น้ำหนักลด   โรคอ้วนกับพุงที่ไม่ได้รับเชิญ   อ้วนลงพุง พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม
อ่านเพิ่มเติม
24
ชม. อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
58
ONLINE : IPD
1500
รับผู้ป่วยเฉลี่ย : วัน
45
ปี ที่ดูแล