ไฟลามทุ่ง (Erysipelas) คือโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนัง ในชั้นหนังแท้ (Dermis) หรือการอักเสบของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังชั้นตื้น และในส่วนท่อน้ำเหลืองใกล้เคียงอื่นๆ ส่งผลให้ผิวหนังเกิดการลุกลามเป็นผื่น บวมแดง อาจเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงไปยังกล้ามเนื้อ หรือโรคแบคทีเรียกินเนื้อ และเชื้อนี้สามารถเข้าสู่กระแสเลือดเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ดังนั้นไฟลามทุ่ง ไม่ใช่แค่โรคผิวหนังธรรมดาทั่วไป
เมื่อผิวหนังเกิดการความผิดปกติ เช่น มีแผล บวม แดง เป็นผื่น ติดเชื้อรา หรือเป็นโรคสะเก็ดเงิน เชื้อแบคทีเรีย เบตา เฮโมไลติก สเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ (Group A Beta-Hemolytic Streptococcus) หรือ สเตรปโตคอคคัส ไพโอจีนัส(Streptococcus pyogenes) ที่อยู่ในผิวหนังของคนเรา และไม่เป็นอันตรายใดๆ จะเข้าสู่ร่างกายผ่านผิวหนังที่มีความผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อข้าสู่ผิวหนังในชั้นหนังแท้ตามมา
นอกจากนี้ไฟลามทุ่งยังเกิดได้จากการติดเชื้อผ่านทางระบบทางเดินหายใจ และปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น
อาการร่วมอื่นๆ เช่น
ปกติแล้วแพทย์สามารถวินิจฉัยผู้ป่วยไฟลามทุ่งได้จากการสังเกตผิวหนัง แต่ก็ต้องใช้วิธีการตรวจอื่นๆ ในการหาเชื้อโรคเพิ่มเติม หรือแยกโรคที่มีอาการใกล้เคียงกับไฟลามทุ่ง เช่น งูสวัด ลมพิษ เพื่อที่จะทำการรักษาอย่างถูกต้อง ได้แก่
หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงแพทย์จะให้รักษาอาการแบบประคับประคอง แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือมีภาวะแทรกซ้อน จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
ในการใช้สมุนไพรรักษา บรรเทาอาการโรคไฟลามทุ่งนั้น จะต้องปรึกษาขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อน ซึ่งมีหลายชนิด ได้แก่
เสลดพังพอน
ผักชี
ใบบัวบก
พญาท้าวเอว
เจตมูลเพลิงขาว
ผักคราดหัวแหวน
เขยตาย
หลิว
ชิงช้าชาลี
ในการแพทย์แผนจีนเชื่อว่าโรคไฟลามทุ่งเกิดจากไฟมากระทบกับระดับโลหิต ผิวหนังเกิดการอุดตัน เชื้อโรคจึงเข้าสู่ร่างกาย บรรเทาอาการโดยระบายความร้อน ให้โลหิตมีความเย็น เป็นการขับพิษออก
กลุ่มบุคคลที่เสี่ยงเป็นโรคไฟลามทุ่ง มักจะเป็นเด็กเล็ก ที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายยังไม่แข็งแรง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ หรือผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต นอกจากนี้ผู้ที่กำลังทำการรักษาจากโรคมะเร็ง หรือได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ที่ต้องได้รับยามีคุณสมบัติในการกดภูมิคุ้มกันในร่างกาย ปัจจัยนี้ก็สามารถเป็นโรคไฟลามทุ่งได้เช่นกัน