กระเพาะทะลุ แท้จริงแล้วสาเหตุหลักไม่ได้เกิดจากน้ำอัดลม
กระเพาะทะลุ แท้จริงแล้วสาเหตุหลักไม่ได้เกิดจากน้ำอัดลม

กระเพาะทะลุ (Gastrointestinal Perforation) คือ ภาวะที่ที่ผนังกระเพาะอาหารเกิดการมีรูขึ้น ทำให้เชื้อแบคทีเรีย กรดในกระเพาะอาหาร หรือเศษอาหาร เข้าไปสัมผัสในโพรงช่องท้อง ส่งผลให้มีปวดท้องรุนแรง มีความเสี่ยงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิตได้  โดยทั่วไปแล้วมักจะได้ยินเกี่ยวกับการเกิดกระเพาะทะลุ ทั้งการดื่มน้ำอัดลม และการรับประทานอาหารรสชาติเผ็ด แต่ภาวะกระเพาะทะลุ แท้จริงแล้วไม่ได้เกิดจากน้ำอัดลม หรือการรับประทานอาหารรสจัด

 

 

กระเพาะทะลุเกิดจากสาเหตุใด

 

เกิดจากโรค และอาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้แก่

      

  • การติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร

      

  • แผลในกระเพาะอาหาร

      

  • การอักเสบของลำไส้

      

  • โรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร

      

  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้อักเสบในกลุ่ม NSAIDs แอสไพริน ยาสเตียรอยด์ และยาเคมีบำบัดบางชนิด

      

  • การผ่าตัดบริเวณกระเพาะอาหาร

 

เกิดจากอุบัติเหตุ และพฤติกรรม ได้แก่

      

  • ได้รับบาดเจ็บจากการกระแทกบริเวณท้อง และส่งผลกระทบกระเทือนถึงภายในกระเพาะอาหาร

      

  • การถูกแทงเข้าที่ท้อง หรือถูกยิงเข้าที่ท้อง

      

  • การรับประทานสารกัดกร่อน หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไป

      

  • เครียดเป็นประจำ

      

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่เป็นประจำ

 

 

อาการของกระเพาะทะลุ

      

  • ปวดท้องอย่างรุนแรง

      

  • สังเกตจากภายนอกท้องจะบวม และแข็งกว่าปกติ

      

  • มีไข้ หนาวสั่น

      

  • อ่อนเพลีย

      

  • วิงเวียนศีรษะ

      

  • หัวใจเต้นเร็ว ประมาณ 120 ครั้ง/นาที

      

  • หายใจถี่มากขึ้น เหนื่อย หอบ

      

  • คลื่นไส้ อาเจียน

      

  • ปัสสาวะ อุจจาระ หรือผายลมน้อย

 

 

การวินิจฉัยกระเพาะทะลุ

 

ในขั้นต้นแพทย์จะซักประวัติผู้ป่วย ตรวจเลือด และตรวจภายในช่องท้องผ่านภาพถ่ายทางรังสีวิทยา เพื่อวินิจฉัยอาการ หาสาเหตุของโรค และหาความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยมีรายละเอียดดังนี้

      

  • เอกซเรย์ทางเดินอาหารส่วนบน เพื่อหาจุดที่มีการทะลุในอวัยวะภายในช่องท้อง

      

  • การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ระบุตำแหน่งที่มีรูบริเวณกระเพาะอาหาร

      

  • ตรวจปริมาณเกลือแร่ และความเป็นกรดด่างในโลหิต

      

  • ตรวจการทำงานของตับ และไต

      

  • การตรวจปริมาณการลดลงของเม็ดเลือดแดง

      

  • การตรวจปริมาณการของเม็ดเลือดขาว

 

 

การรักษากระเพาะทะลุ

      

  • การใช้ยา ได้แก่ ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร  ยาเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหาร และยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร

      

  • การผ่าตัด ผู้ป่วยบางรายแพทย์จะทำการตัดชิ้นส่วนของลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่ออก ทวารเทียม (Colostomy) หรือทวารเทียมของลำไส้เล็ก (Ileostomy) เพื่อระบายของเหลวภายในลำไส้เล็กออก

      

หากผู้ป่วยมีอาการกระเพาะทะลุร่วมกับเยื่อบุช่องท้องอักเสบ แพทย์จะทำการให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ และผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือด จนอวัยวะทำงานล้มเหลว แพทย์จะทำการให้สารน้ำ ยารักษาความดันโลหิต และสารอาหารร่วมกับยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือดดำ

 

 

ภาวะแทรกซ้อนของกระเพาะทะลุ

      

  • ภาวะเลือดออก

      

  • ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้อง

      

  • การเกิดฝีในช่องท้อง

      

  • ลำไส้ขาดเลือด

      

  • ติดเชื้อในกระแสเลือด

 

 

น้ำอัดลม

 

 

ความเชื่อผิดๆ ในการเกิดกระเพาะทะลุ

 

การดื่มน้ำอัดลม

      

  • น้ำอัดลมนั้นมีส่วนประกอบของกรด และแก๊ส ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นของกระเพาะอาหารขึ้นมา ทำให้อึดอัด ไม่สบายท้อง ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับสาเหตุในการเกิดกระเพาะทะลุแต่อย่างใด

 

การรับประทานอาหารรสเผ็ด

      

  • อาหารรสเผ็ด ทำให้เกิดการแสบท้อง จากสารแคปไซซินในพริก ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหารได้ แต่ไม่สามารถทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารจนถึงขั้นกระเพาะทะลุได้

 

 

การป้องกันกระเพาะทะลุ

      

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

      

  • ไม่ควรใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs เป็นระยะเวลานาน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

      

  • ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด

      

  • ไม่ใช้สารเสพติดทุกชนิดอย่างเด็ดขาด

 

 

เมื่อรู้ความจริงที่ว่าน้ำอัดลม และอาหารรสเผ็ดไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้กระเพาะทะลุ แต่ไม่ใช่ว่าดื่มน้ำอัดลมในปริมาณที่มาก หรือรับประทานรสเผ็ดจัดในทุกๆมื้อ ควรจะบริโภคในปริมาณที่พอดี เพราะจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ทั้งนี้หากมีอาการปวดท้องรุนแรง เป็นระยะเวลานานกว่า 6 ชั่วโมง และไม่มีท่าทีจะหายปวด ร่วมกับอาการเป็นไข้ ควรจะรีบไปพบแพทย์ เพราะถ้าหากเกิดอาการกระเพาะทะลุ แล้วปล่อยอาการไว้ หรืออาจจะรับประทานยาเอง จะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้