ตรวจการทำงานของตับมีอะไรบ้าง
ตรวจการทำงานของตับมีอะไรบ้าง

การตรวจการทำงานของตับเป็นหนึ่งในรายการตรวจสุขภาพที่เรามักเจอบ่อย ๆ และมักเห็นว่าการตรวจรายการนี้มีอยู่หลายชนิด เช่น SGOT หรือ SGPT เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจการทำงานของตับที่หลายคนสงสัยว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะมาอธิบายให้ทุกคนเข้าใจกัน

 

ตรวจการทำงานของตับ (Liver Function Tests) มีอะไรบ้าง

 

เป็นการตรวจการทำงานของตับผ่านการตรวจเลือดในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Laboratory) เราสามารถพบการตรวจการทำงานของตับได้ในโปรแกรมตรวจสุขภาพ เนื่องจากเป็นรายการตรวจพื้นฐานที่ควรต้องตรวจประกอบไปด้วยการตรวจเอนไซม์ AST (SGOT), เอนไซม์ ALT (SGPT), ตรวจเอนไซม์ ALP (Alkaline phosphatase), ตรวจค่า Total bilirubin, ตรวจค่า Direct bilirubin, Albumin, Globulin และ เอนไซม์ GGT (Gamma GT)

 

ตรวจการทำงานของตับตรวจเอนไซม์ AST (SGOT)

 

ตรวจการทำงานของตับ AST (Aspartate transaminase) หรือ SGOT (Serum glutamic oxaloacetic transaminase) คือเอนไซม์ที่ร่างกายสร้างขึ้นเมื่ออวัยวะในร่างกายเกิดความเสียหาย หากพบในปริมาณมากจะเป็นสัญญาณว่าอวัยวะภายในมีปัญหา โดยเฉพาะตับที่จะสร้างเอนไซม์ AST ออกมามากหากเกิดความเสียหายในเซลล์ การตรวจ AST จึงมีจุดประสงค์ ดังนี้

  • ตรวจการทำงานของตับ AST ตรวจเพื่อยืนยันอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของโรคทางตับ เช่น อาการตัวเหลือง คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องใต้ชายโครงใต้ลิ้นปี่ เป็นต้น
  • ตรวจเมื่อต้องติดตามผลลัพธ์ของการรักษาอาการทางตับ หรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการรักษา
  • ตรวจเพื่อหาความเสียหายของตับที่อาจเกิดขึ้น

 

ตรวจการทำงานของตับเอนไซม์ ALT (SGPT)

 

ตรวจการทำงานของตับ ALT (Alanine transaminase) หรือ SGPT (Serum glutamate-pyruvate transaminase) เป็นเอนไซม์ที่สร้างขึ้นเมื่ออวัยวะในร่างกายเกิดความเสียหาย เอนไซม์ชนิดนี้พบได้มากในตับ หากตรวจพบ ALT ในปริมาณมากอาจเป็นสัญญาณการมีปัญหาของตับด้วยเช่นกัน การตรวจเอนไซม์ ALT มีประโยชน์ ดังนี้

  • ตรวจสอบความรุนแรงของความเสียหายที่เกิดกับตับ หรืออาการทางตับที่เป็นอยู่
  • ตรวจการทำงานของตับสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการตัวเหลือง หรือผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อยืนยันโรคทางตับ
  • ตรวจสอบผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับยาที่ใช้รักษา เช่น ยาลดคอเลสเตอรอล

 

ตรวจการทำงานของตับเอนไซม์ ALP (Alkaline phosphatase) และเอนไซม์ GGT (Gamma GT)

 

ตรวจการทำงานของตับ ALP (Alkaline phosphatase) เป็นเอนไซม์ที่ถูกอวัยวะผลิตขึ้นผ่านโปรตีนเมื่ออวัยวะเกิดความผิดปกติสามารถพบได้มากในตับ และกระดูก การตรวจ ALP จะทำให้สามารถแยกอาการผิดปกติระหว่างตับกับกระดูกได้ โดยปกติแล้วจะตรวจพร้อมกับ ALT และAST เพื่อบ่งชี้โรคที่สำคัญ เช่น โรคมะเร็งท่อทางเดินน้ำดี มะเร็งกระดูกหรือการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดีได้ ประโยชน์ของการตรวจ ALP มีดังนี้

  • หาความผิดปกติหรือโรคที่เกี่ยวกับตับ ท่อทางเดินน้ำดี และกระดูก
  • ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ

ส่วนการตรวจการทำงานของตับ GGT (Gamma GT) มีจุดประสงค์เพื่อหาค่า ALP (Alkaline phosphatase) ว่ามาจากอวัยวะใดมากเกินไป ค่าเหล่านี้หากพบว่าสูงจะแสดงถึงความเสี่ยงของโรคตับและโรคท่อทางเดินน้ำดี

 

ตรวจการทำงานของตับหาค่า Total bilirubin

 

ตรวจการทำงานของตับ Total bilirubin เป็นการตรวจค่าบิลิรูบินทั้งหมด ค่าบิลิรูบินเป็นค่าเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุขัย และถูกแปลงเป็นสารชื่อ Herma จับตัวกับ Albumin ในกระแสเลือด ค่าบิลิรูบินมีอยู่ 2 ชนิด คือ Indirect bilirubin (สารเหลืองที่ยังไปไม่ถึงตับ) และ Direct bilirubin (สารเหลืองที่ผ่านตับและทำปฏิกิริยาแล้ว) การตรวจ Total bilirubin มีจุดประสงค์ดังนี้

  • เป็นการตรวจที่ต้องใช้ในการตรวจการทำงานของตับเพื่อหาความผิดปกติที่สามารถเกิดขึ้นกับตับและเม็ดเลือดแดง รวมถึงอวัยวะอื่น ๆ ได้
  • ใช้ตรวจเมื่อแพทย์ต้องการตรวจหาความเสี่ยงอาการที่เกี่ยวข้องกับตับ
  • ตรวจเพื่อช่วยวินิจฉัยหาแนวทางในการตัดสินใจรักษาโรคทางตับ

 

ตรวจการทำงานของตับหาค่า Direct bilirubin

 

ตรวจการทำงานของตับ Direct bilirubin ที่ไปถึงตับและทำปฏิกิริยาเพื่อให้ตับและไตนำไปกำจัดต่อไป หากพบว่าค่า Direct bilirubin น้อยนั่นหมายถึงร่างกายมีสุขภาพดีสามารถนำสาร Direct bilirubin ไปใช้จนเกิดประโยชน์สูงสุดได้ การตรวจดังกล่าวมีจุดประสงค์ ดังนี้

  • ตรวจเพื่อดูความผิดปกติของตับ
  • ตรวจดูความผิดปกติของท่อน้ำดี

 

ตรวจการทำงานของตับหาค่าโปรตีน Albumin

 

ตรวจการทำงานของตับ Albumin คือค่าของโปรตีนชนิดหนึ่ง โดยโปรตีน Albumin นี้มีมากถึงร้อยละ 60 ของโปรตีนทั้งหมดในร่างกาย และมีแหล่งที่มาจากตับเท่านั้น หากตรวจแล้วพบว่ามีปริมาณ Albumin มีปริมาณมากเกินไป หรือน้อยเกินไปสามารถวินิจฉัยความผิดปกติของตับได้ การตรวจวัดค่า Albumin มีจุดประสงค์ ดังนี้

  • ตรวจสอบปริมาณของโปรตีนที่เราได้รับในแต่ละวัน
  • ตรวจหาความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับหรือไต

 

ตรวจการทำงานของตับหาค่าโปรตีน Globulin

 

ตรวจการทำงานของตับ Globulin เป็นโปรตีนที่มีปริมาณรองลงมาจากชนิด Albumin มีส่วนเกี่ยวข้องกับเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย หากตรวจพบว่ามีปริมาณมากเกินไปอาจเป็นสัญญาณบอกได้ว่าร่างกายของเรากำลังพยายามกำจัดเชื้อร้ายบางอย่างอยู่

 

ตรวจการทำงานของตับมีอะไรบ้าง

 

ทำไมต้องตรวจการทำงานของตับ

 

เนื่องจากตับมีความสำคัญมากกว่าที่เราคิด ตับอยู่บริเวณกะบังลมด้านขวา มีเส้นหลอดเลือดที่สำคัญไหลผ่าน คือ หลอดเลือดดำจากลำไส้ หลอดเลือดแดงจากหัวใจ และหลอดเลือดดำจากตับสู่หัวใจ มีหน้าที่หลากหลายในร่างกาย หากไม่ให้ความสำคัญด้วยการตรวจการทำงานของตับและเกิดความผิดปกติกับตับจะส่งผลโดยตรงกับร่างกาย โดยหน้าที่ของตับมีดังนี้

 

  • เก็บสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ หรือวิตามินบี 12 เป็นต้น และยังเป็นอวัยวะที่เก็บสารที่สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น สารเคมีจากยารักษาโรค ก่อนที่จะนำไปกำจัดทิ้งตามขั้นตอนต่อไป
  • เป็นอวัยวะที่สร้างสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น โปรตีน น้ำตาลกลูโคส น้ำดี รวมถึงการผลิตไขมัน
  • กำจัดสารพิษในร่างกาย หรือปรับสารพิษให้กลับมาเป็นปกติ เช่น แอลกอฮอล์ ฮอร์โมน บิลิรูบิน และยาชนิดต่าง ๆ เป็นต้น

 

ตรวจการทำงานของตับไปทำไม

 

  • เพื่อตรวจดูความเสี่ยงและความเสียหาย หรืออาการติดเชื้อที่เกี่ยวกับตับ
  • ตรวจหาผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยา
  • ตรวจการทำงานของตับในผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเป็นโรคทางตับ
  • เพื่อติดตามอาการ และผลการรักษาโรคทางตับ
  • ตรวจความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตับและสามารถส่งผลต่ออวัยวะอื่น ๆ ได้

 

การตรวจการทำงานของตับไม่ใช่เพียงแค่ตรวจดูลักษณะการทำงานของตับ หรือหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตับเท่านั้น เพราะการตรวจการทำงานของตับยังมีความสำคัญต่ออวัยวะอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้เราจึงมักจะเห็นรายการตรวจนี้ในโปรแกรมสุขภาพหลายโปรแกรม

 

ใครบ้างที่ควรตรวจการทำงานของตับ

 

  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ชอบดื่มแอลกอฮอล์
  • ผู้ที่ทานยาที่ส่งผลต่อการทำงานของตับในทางอ้อม
  • มีคนในครอบครัวเป็นหรือเคยเป็นโรคที่เกี่ยวกับตับควรเข้ารับการตรวจการทำงานของตับ
  • ผู้ที่มีความสงสัยว่าตนเองอาจได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ
  • ผู้ที่พบว่าตนมีอาการของโรคทางตับ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ภาวะตัวเหลือง (ภาวะดีซ่าน) อ่อนแรง ท้องบวม ขาบวม เป็นต้น

 

หากไม่ตรวจการทำงานของตับจะมีความเสี่ยงโรคใดบ้าง

 

หากปล่อยให้ตับมีความเสี่ยงจะเกิดความผิดปกติที่ส่งผลต่อร่างกายอย่างมาก เช่น มะเร็งตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง รวมไปถึงโรคท่อน้ำดี เป็นต้น นอกจากนี้การตรวจการทำงานของตับจะทำให้เรารู้ความเสียหายของตับที่เกิดขึ้นโดยที่เราอาจไม่รู้ตัวจะมีผลต่ออวัยวะอื่น ๆ เนื่องจากตับเป็นพื้นที่ใช้เก็บสารพิษ และมีส่วนในการกำจัดสารพิษเหล่านั้นด้วย

 

การตรวจการทำงานของตับมีหลายชนิดแต่ทุกชนิดมีเป้าหมายเพื่อหาความผิดปกติในร่างกายโดยเฉพาะกับตับหากพบความผิดปกติจะได้รักษาได้ทันท่วงที