Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน
Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน

Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน คือ วิกฤตทางจิตวิทยาคนอายุ 40 ปีขึ้นไป  หลายคนมักคิดว่าเป็นโรคจิต หรือโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด แต่เป็นเพียงการแสดงออก ที่มาจากผลกระทบของความเครียดเท่านั้น 

 

 

ทำความรู้จัก Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน

 

Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่อายุ 40ปีขึ้นไป คนในวัยนี้จะเกิดการตกใจ คิดไปต่างๆนานาว่า ตนเองแก่แล้ว เหลือเวลาในชีวิตอีกไม่มาก

 

อยากทำอะไรก็ทำเลย จึงทำให้เกิดการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว  ส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต ซึ่งก่อน หรือหลังการตัดสินใจ มักจะมีอาการเครียด

 

น้อยใจ วิตกกังวล ในสิ่งที่จะกระทำ หรือตัดสินใจกระทำไปแล้ว 

 

การเจอกับสิ่งที่เป็นผลกระทบด้านจิตใจ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ก็ทำให้เกิด Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน ได้เช่นกัน 

 

Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน ไม่ใช่โรคจิตเภทแต่อย่างใด แต่จะส่งผลให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ในอนาคต

 

 

สาเหตุในการเกิด Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน

 

โดยจะแบ่งสาเหตุเป็นปัจจัยภายในร่างกาย และปัจจัยทางด้านแวดล้อม ที่ทำให้เกิด Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน

 

ปัจจัยภายในร่างกาย

 

  • ความเสื่อมของร่างกาย เป็นธรรมชาติที่คนอายุ 40 ปีขึ้นไป ร่างกายมักจะเสื่อมลง เช่น สายตามองเห็นไม่ชัด เส้นผมหลุดร่วง ผมหงอก อ้วนขึ้น และโรคประจำตัวเป็นต้น

 

  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน โดยเฉพาะผู้หญิงในวัย 40 ปีขึ้นไป  จะเข้าสู่ช่วงหมดประจำเดือน อารมณ์จะหงุดหงิดง่าย

 

ปัจจัยทางด้านแวดล้อม

 

  • การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เช่น บิดา มารดา เสียชีวิต สามี ภรรยา เสียชีวิต โดยที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน และไม่สามารถทำใจยอมรับกับเหตุการณ์นั้นได้

 

  • ชีวิตที่ไม่ได้เป็นแบบที่คิดไว้ เช่น มีเงินเก็บไม่มากพอ การหย่าร้าง ความไม่เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานเป็นต้น

 

 

 อาการของ Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน

 

โดยจะแบ่งอาการด้านร่างกาย และอาการทางจิตใจ และอารมณ์ที่ทำให้เกิด Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน

 

อาการด้านร่างกาย

 

  • มีความต้องการทางเพศที่สูงขึ้น หรือ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

 

  • มีริ้วรอย ผมเริ่มบาง ผมหงอก น้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นธรรมชาติ ของคนวัย 40 ปีขึ้นไป

 

อาการทางจิตใจ และอารมณ์

 

  • มีอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย เบื่อหน่าย กับคนในครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน

 

  • มีความอยากที่จะกลับไปสวย หรือหล่อ เหมือนวัยรุ่น

 

  • มีความอยากที่จะกลับไปแก้ไขในสิ่งที่ทำผิดพลาด หรือยังไม่ได้ทำในช่วงวัยรุ่น

 

  • เลือกอยู่คนเดียว หรืออยากออกไปสังสรรค์มากขึ้น

 

 

วิกฤตวัยกลางคน

 

 

รับมืออย่างไรกับอาการ Midlife Crisis

 

  • ระบายความในใจกับคนใกล้ชิด ในการตัดสินใจทำอะไรที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ควรปรึกษา คนรอบข้างที่ไว้ใจได้

 

  • ออกกำลังกาย และทานอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดความเครียด และลดการเกิดโรคต่างๆได้

 

  • หากิจกรรมทำ เช่น การทำกิจกรรมการกุศล เพราะเมื่อเวลาว่าง อาจจะเกิดการฟุ้งซ่าน เหงา หรือเบื่อได้ 

 

 

ทุกๆช่วงเวลาของชีวิตล้วนแล้วแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงกันทั้งนั้น มีทั้งเรื่องดีและไม่ดี การที่มีสติรู้เท่าทันอารมณ์ก่อนตัดสินใจจะทำอะไร และการเข้าใจในเรื่องของ Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน จะเป็นเรื่องที่ดีก่อนที่จะเกิดโรคซึมเศร้า