Work From Home เป็นการป้องกันตนเองและผู้อื่นในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 แต่หากทำอย่างผิดวิธีอาจเสี่ยง Office Syndrome โดยไม่รู้ตัวเนื่องจากการทำงานที่บ้านจะทำให้เราเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยลง และจำเป็นต้องประชุมผ่านหน้าจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อ Office Syndrome มากยิ่งขึ้น
การทำงานที่ออฟฟิศสามารถเกิด Office Syndrome ได้จากการนั่งทำงานเป็นเวลานานโดยไม่ได้ขยับตัว หรือเกิดจากความเครียด การพักผ่อนน้อยส่งผลให้เกิดการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย แต่ความเสี่ยงเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้มากขึ้นหากเราทำงานจากบ้านหรือที่เราเรียกกันว่า “Work From Home” เนื่องจากอาจต้องนั่งประชุมหรือทำงานผ่านหน้าจอตลอดทั้งวัน ทำให้มีโอกาสขยับร่างกายได้น้อยลงกว่าการทำงานในออฟฟิศ อีกทั้งความลำบากในการติดต่องานอาจทำให้เกิดความเครียดได้ สาเหตุเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด Office Syndrome
ภาวะออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มอาการปวดบริเวณเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อ หรือ Myofascial pain syndrome ที่มีสาเหตุหลักมาจากการนั่งทำงานที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานานมักพบในพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานผ่านจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวันด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น นั่งหลังค่อม ห่อไหล่ รวมไปถึงสภาวะความเครียดจากตัวงานหรือทำงานจนไม่มีเวลาพักผ่อน โดยปกติแล้วจะพบในผู้ที่มีอายุระหว่าง 16-44 ปี
อาการของ Office Syndrome สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่แม้ไม่ใช่ที่บ้าน หากเราไม่ให้ความสำคัญกับพื้นที่การทำงานและอิริยาบถของร่างกาย หากพบว่ามีอาการปวดเรื้อรังและรุนแรงมากขึ้นควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยต่อไป