คือ แผนกที่คอยดูแลและให้การรักษาด้านการฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยเพื่อให้ร่างกายกลับมามีประสิทธิภาพเหมือนเดิมอีกครั้ง กล่าวถึงการเคลื่อนไหวร่างกายได้ปกตินั้นคงเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็ปรารถนา แต่โรคที่ส่งผลเสียต่อการเคลื่อนไหวร่างกายเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบทั้งการที่อวัยวะเสื่อมสภาพไปด้วยโรคร้าย เช่น โรคที่เกี่ยวกับกระดูก โรคที่เกี่ยวกับเส้นประสาท และโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ หรือการมีปัญหาร่างกายมาตั้งแต่เกิด ส่งผลให้การใช้ชีวิตลำบากขึ้นและอาจร้ายแรงถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ โดยทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูของเราพร้อมให้การรักษาอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อ และไม่ใช่เพียงแค่การรักษาเท่านั้น แต่ยังทำการประเมิน และให้คำแนะนำป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
ให้การรักษาฟื้นฟูร่างกายที่ได้รับผลกระทบจากโรคร้าย หรือมีมาแต่กำเนิด
ให้การบำบัดความผิดปกติตามร่างกาย เช่น ไหล่ นิ้วมือ เป็นต้น
บริการตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อ
บริการรักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ให้คำแนะนำดูแลรักษาความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อ และกระดูก
บริการเสริมสร้างร่างกาย และฝึกกล้ามเนื้อ
โรคกระดูกต้นคอเสื่อม เกิดจากการก้ม และเงยบ่อยครั้งจนเกินไป เป็นผลให้ปวดต้นคอในระยะแรก และส่งผลต่อการเคลื่อนไหวในเวลาต่อมา เช่น มีปัญหาด้านการทรงตัว แขนขาสั่น เป็นต้น
ข้อสะโพกเสื่อม มักพบในวัยผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดเข่า ปวดสะโพก แต่ในวัยกลางคนก็มีโอกาสเป็นได้จากการเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับข้อ หรือดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่มาก สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดสะโพกเทียมเพื่อให้มีอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีอาการปวดหลัง ปวดน่อง สามารถแก้ไขได้โดยการทำกายภาพบำบัดควบคู่กับการทานยา และยังสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดแผลเล็ก
อาการปวดกล้ามเนื้อมักเกิดจากรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน หรือเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การใช้กล้ามเนื้อเป็นเวลานาน การนั่งทำงานบนเก้าอี้ที่ไม่สบายผิดสัดส่วน นอกจากนี้ยังสามารถเกิดจากสภาวะจิตใจที่มีความเครียดมากเกินไป หรือผลข้างเคียงจากโรคอื่น สามารถตรวจสอบได้ด้วยการกดหรือสัมผัสบริเวณจุดดังกล่าวจะพบว่ามีอาการปวด หรือตึงหรือไม่สามารถขยับไปยังทิศทางต่าง ๆ ได้แบบสุดตัว ดังนั้นจึงควรแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในชีวิตประจำวัน เช่น การเปลี่ยนท่านั่งหรือเก้าอี้ หรือทำการนวดเพื่อคลายกล้ามเนื้อมีเวลาว่าง และหากต้องใช้กล้ามเนื้อเป็นเวลานานต้องมีการหยุดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วย
งดดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ทานอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ถั่ว ปลา เป็นต้น
หลีกเลี่ยงอาหารที่ยับยั้งการดูดซึมแคลเซียม เช่น ตำลึง ผักคะน้า เป็นต้น