สูตินรีเวช
สูตินรีเวช
 

“สตรี” เป็นเพศที่มีความซับซ้อนทั้งสภาวะจิตใจ และร่างกาย นั่นหมายถึงสตรีต้องการความเอาใจใส่ทั้งร่างกายและจิตใจ ในส่วนของร่างกายสตรีนั้นต้องใช้ความเข้าใจและความระมัดระวังในการดูแล และควรหมั่นศึกษาร่างกายของตนเอง รวมไปถึงการตรวจร่างกายบ่อย ๆ เพราะโรคร้ายบางโรคมีโอกาสเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อีกทั้งยังเป็นเพศที่มีการตั้งครรภ์ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ต้องให้การดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ โดยทางเรายินดีให้การดูแลรักษาโรคในสตรี รวมไปถึงดูแลการตั้งครรภ์ และให้คำแนะนำในเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสตรีอีกด้วย

>>>>รายละเอียดเพิ่มเติม

________________________________

 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม


วันเปิดทำการ : บริการทุกวัน
เวลาเปิดทำการ : 08.00-17.00 น. (ติดต่อลงทะเบียนก่อนเวลา 16.30 น.)
ตึก/ชั้น : A/16
เบอร์ติดต่อ :
1390

Line Official :   @petcharavej  คลิก  

____________________________________
 

แพคเกจที่เกี่ยวข้อง

คลินิกฝากครรภ์

เมื่อคุณผู้หญิงรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ สิ่งแรกที่คุณผู้หญิงควรทำคือ "ฝากครรภ์" เพราะมีความสำคัญทั้งต่อตัวของคุณแม่เอง และลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ ทั้งการบำรุงครรภ์ และคอยดูแลรักษาอาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ ทางโรงพยาบาลเพชรเวชมีการให้บริการสำหรับสตรีตั้งครรภ์ ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางที่พร้อมดูแลเอาใจใส่คุณแม่และลูกน้อย และในวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาศึกษาข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับการฝากครรภ์กัน

 

ทำไมต้องฝากครรภ์

 

ฝากครรภ์ คือ การที่เมื่อเรารู้ตัวว่าตั้งครรภ์ และเราต้องการทั้งความปลอดภัย การบำรุง การดูแลตลอดการตั้งครรภ์ด้วยทีมแพทย์อย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการแก้ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์อย่างทันท่วงที ในส่วนของสาเหตุที่ต้องฝากครรภ์มีมากมายหลายประการ ตัวอย่างเช่น

  • เพื่อความปลอดภัยต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

  • เพื่อตรวจดูว่าการตั้งครรภ์นั้นดำเนินไปในทางที่ผิดปกติหรือไม่ เช่น ความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน เป็นต้น หากพบเจอความผิดปกติแพทย์จะสามารถหาวิธีรักษาได้ทันก่อนจะเกิดผลร้ายต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

  • เพื่อสุขภาพของทารกในครรภ์ การฝากครรภ์จะทำให้มีการดูแลลูกน้อยในครรภ์ เพื่อให้มีน้ำหนักตัวเหมาะสมตามมาตรฐาน และมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ แข็งแรง

  • เพื่อส่งเสริมสภาพจิตใจของคุณแม่ หากไม่ฝากครรภ์นั่นหมายถึงไม่มีการเตรียมแผนบำรุงรักษาครรภ์ในทางที่ถูกต้องตามหลักของแพทย์ ดังนั้นหากฝากครรภ์จะสามารถได้รับคำแนะนำ ตลอดอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้คุณแม่รู้สึกปลอดภัยและส่งผลดีต่อลูกน้อยในครรภ์ด้วย

 

ฝากครรภ์กี่เดือน

 

เมื่อตั้งครรภ์ไม่ควรรอช้า หรือรอจนกว่าใกล้คลอดแล้วจึงฝากครรภ์ควรเข้าฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อความปลอดภัย เพราะหากระหว่างนั้นถ้าเกิดภาวะแทรกซ้อนจะได้รู้ตัวและรักษาได้ทัน โดยควรฝากครรภ์อย่างต่ำ 5 ครั้ง ตามรายละเอียด ดังนี้

 



 

การเตรียมตัวฝากครรภ์

 

  • เลือกโรงพยาบาลที่มีคุณภาพที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อความสะดวกในการเดินทาง เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ที่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์

  • ควรตั้งคำถามที่สงสัยเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เพื่อเมื่อเวลาพบแพทย์จะสามารถสอบถามรายละเอียดได้

  • เตรียมข้อมูลประวัติเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในกรณีเคยตั้งครรภ์มาก่อน รวมถึงประวัติที่เกี่ยวกับการแพทย์ที่ผ่านมา

 

ขั้นตอนการฝากครรภ์

 

  • แพทย์จะสอบถามข้อมูลของผู้ตั้งครรภ์ เช่น โรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา ประจำเดือนรอบสุดท้ายก่อนตั้งครรภ์ ประวัติการคลอดหากไม่ใช่ครรภ์แรก เป็นต้น

  • ตรวจร่างกายอย่างละเอียด ได้แก่ น้ำหนักส่วนสูง ความดันโลหิต ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจภายใน ตรวจครรภ์เพื่อดูรายละเอียดของทารกในครรภ์

  • ฉีดวัคซีนบาดทะยัก และเจาะเลือด เพื่อประเมินความเสี่ยงของการตั้งครรภ์

  • หากผู้ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูง แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มตามความเหมาะสม

  • รับยาบำรุง และนัดหมายการตรวจในครั้งถัดไป

  • เมื่อใกล้กำหนดคลอด แพทย์จะตรวจความสมบูรณ์ของหน้าอกของคุณแม่ เพราะต้องให้นมลูกน้อยในอนาคต รวมไปถึงการวางแผนการคลอด

 

การฝากครรภ์เป็นทางเลือกสู่ความปลอดภัยต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ อีกทั้งยังต้องรับแนวทางปฏิบัติระหว่างการตั้งครรภ์ ดังนั้นเมื่อมีการตั้งครรภ์จึงไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอันตรายต่อลูกในครรภ์อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

สูตินรีเวช-มะเร็ง

มะเร็ง เป็นโรคร้ายที่เรารู้จักกันดี นอกจากมะเร็งจะมีหลายชนิดจัดตามตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายแล้ว สำหรับคุณผู้หญิงก็มีความเสี่ยงเฉพาะในการเป็นโรคนี้ เพราะมีมะเร็งที่เกิดขึ้นกับแค่สตรีเท่านั้น จึงทำให้คุณผู้หญิงจำเป็นต้องดูแลตัวเองมากขึ้น และต้องคอยป้องกันโรคร้ายนี้ด้วย สำหรับโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิง คือ มะเร็งเต้านม

 

สาเหตุที่นำพาสู่มะเร็งในสตรี

 

  • ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่

  • ไม่ออกกำลังกาย

  • พฤติกรรมการกินแบบผิด ๆ ไม่ทานอาหารที่มีประโยชน์

  • มีคู่นอนหลายคน

  • เคยเป็นโรคชนิดอื่นที่ส่งผลต่ออวัยวะที่สามารถเกิดมะเร็งได้ 

 

มะเร็งร้ายที่พบได้มากในเพศหญิง

 

  • มะเร็งเต้านม โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณเต้านม และสามารถเติบโตกลายเป็นเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ยังสามารถเติบโตและคุกคามไปยังอวัยวะ อื่น ๆ ได้ด้วย โดยโรคนี้จะไม่แสดงอาการในระยะแรกโดยอาการจะแสดงออกผ่านเต้านมทำให้มีของเหลวสีเหลืองไหลออกมา หรือคลำพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม สามารถรักษาได้โดยการเข้าพบแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด หรือฉายรังสีก็ได้

  • มะเร็งรังไข่ เกิดได้กับสตรีที่ไม่เคยมีบุตร เคยเป็นมะเร็งชนิดอื่นมาก่อนหรือเกิดจากสารเคมี ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้อง เบื่ออาหาร มีก้อนเนื้อบริเวณท้องน้อย สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดหรือใช้เคมีบำบัด และยังมีอีกทางเลือกหนึ่งคือ “การผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก”

  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดจากการผิดปกติของยีนจนกลายเป็นมะเร็งและเกิดเนื้องอก ปัจจัยพฤติกรรมการทานอาหารที่ทานแต่ของไขมันสูงก็มีโอกาสทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยจะมีอาการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด รู้สึกอ่อนเพลีย สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดหรือใช้เคมีบำบัด

  • มะเร็งตับ เกิดจากเซลล์ในตับเกิดความผิดปกติกลายเป็นมะเร็งและก้อนเนื้อ หากเราเคยเป็นโรคที่มีผลต่อการทำงานของตับจะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งตับมากขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ไม่อยากอาหาร อุจจาระมีสีซีด ช่องท้องมีอาการบวม สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดเปลี่ยนตับหรือทำเคมีบำบัด

 

มะเร็งปากมดลูก

 

เป็นมะเร็งที่สตรีมีโอกาสเป็นมากที่สุดและมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ 600 คนต่อ 100,000 คน ส่วนมากเกิดจากเชื้อไวรัส HPV ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้สามารถเกิดจากภูมิคุ้มกันต่ำได้ด้วย โดยผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออกบริเวณช่องคลอดแต่ไม่ใช่ประจำเดือน และมีอาการตกขาวมากกว่าปกติ แต่ส่วนใหญ่จะแสดงอาการในระยะที่เซลล์มะเร็งได้ลุกลามแล้ว สามารถรักษาได้ด้วยการเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาตามระยะและความรุนแรงของโรค เช่น ทำเคมีบำบัด ผ่าตัดมดลูก เป็นต้น

 

การป้องกันโรคมะเร็งในสตรี

 

เป็นที่รู้กันดีว่าโรคร้ายนี้เป็นโรคที่มีความอันตรายสูงและมีโอกาสเกิดขึ้นได้ไม่ยากหากไม่ดูแลตัวเอง การคอยดูแลรักษาด้วยการออกกำลังกายหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารอาจไม่เพียงพอ ทางเราแนะนำให้ท่านทำการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะการตรวจหามะเร็งหากพบเชื้อมะเร็งก่อนแพร่กระจายก็จะสามารถรักษาได้ทันท่วงที โดยการตรวจภายและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อัลตราซาวด์ประเมินมดลูกและรังไข่ รวมทั้งรับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

การเป็นผู้หญิงนั้นลำบากกว่าการเป็นผู้ชายมาก มีโรคหลายโรคที่ผู้หญิงก็มีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้ชายด้วย แต่ในยุคสมัยใหม่ที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้าขึ้นมากในการผ่าตัดที่สามารถผ่าตัดด้วยวิธีที่เจ็บน้อยกว่า ปลอดภัยกว่า และหายได้เร็วกว่า คือ "การผ่าตัดส่องกล้อง"

 

โรคในสตรีที่ต้องผ่าตัดผ่านกล้อง

 

  • เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก เป็นเนื้องอกที่ไม่ร้ายแรงและมักพบในสตรีที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เป็นโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนของเซลล์กล้ามเนื้อ หรือมีฮอร์โมนที่เป้นตัวเร่งการเติบโตของมดลูก อาการที่พบบ่อย คือ ผู้ป่วยจะปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือนและอาจมีประจำเดือนมามากผิดปกติ

  • เนื้องอกรังไข่ เป็นโรคที่เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น กรรมพันธ์ุ สตรีที่ไม่ได้ให้นมบุตร สตรีที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป โดยผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะคลำเจอก้อนเนื้อบริเวณท้องน้อย มีอาการปัสสาวะบ่อย ท้องอืด

  • พังผืดในอุ้งเชิงกราน เป็นภาวะพังผืดที่เกิดขึ้นจากการอักเสบหรือติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน และอาจขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการปวดท้อง ประจำเดือนมามากผิดปกติ ปวดหลังจนร้าวไปที่ขา

  • มะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก ส่วนมากเกิดจากเชื้อไวรัสผ่านการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้สามารถเกิดจากภูมิคุ้มกันต่ำได้ด้วย โดยผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออกบริเวณช่องคลอดแต่ไม่ใช่ประจำเดือน และมีอาการตกขาวมากกว่าปกติ

  • เนื้องอกหรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก เกิดจากติ่งเนื้อบนผนังเยื่อบุของมดลูกงอกออกมาผิดปกติ ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ทั่วไป แต่ในกรณีรุนแรงติ่งเนื้ออาจจะพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ อาการของภาวะการเป็นเนื้องอกในโพรงมดลูก คือ ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือประจำเดือนมาแบบกระปริบกระปรอย

 

ประเภทของการผ่าตัดผ่านกล้อง

 

  • การผ่าตัดกล้องทางหน้าท้อง ใช้เพื่อวินิจฉัยและผ่าตัดรักษาโรคหรืออาการผิดปกติภายในช่องท้อง

  • การผ่าตัดผ่านกล้องในโพรงมดลูก เป็นวิธีที่ใช้ตรวจความผิดปกติในโพรงมดลูก เพื่อทำการวินิจฉัยและทำการผ่าตัดต่อไป

 

การดูแลตัวเองก่อน – หลังผ่าตัดส่องกล้อง

 

ก่อนผ่าตัด ในช่วงก่อนผ่าตัดคนไข้ควรงดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง และอาหารที่รับประทานมื้อก่อนผ่าตัดควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย หากผู้ป่วยมีสุขภายร่างกายที่แข็งแรงดีสามารถบริจาคเลือดของตนเอง เพื่อใช้ในกรณีที่อาจเสียเลือดมากระหว่างผ่าตัดได้

หลังผ่าตัด ผู้ป่วยอาจมีอาการล้าใน 2-3 วัน หลังการผ่าตัด หากผู้ป่วยต้องการอาบน้ำ พลาสเตอร์ที่ปิดแผลไว้ควรกันน้ำได้ด้วย และยังมีข้อปฏิบัติอื่น ๆ ดังนี้

  • งดดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่ำ 1-2 วัน

  • หลังผ่าตัดส่องกล้องหลีกเลี่ยงการยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก และงดออกกำลังกาย 2-4 สัปดาห์

  • พักผ่อน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน

  • รับประทานผัก ผลไม้ งดทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

  • งดการมีเพศสัมพันธ์ 6 สัปดาห์ หลังผ่าตัด

 

ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้อง

 

  • ใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่า

  • ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

  • เนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บน้อยกว่า

  • แผลเป็นจากการผ่าตัดมีขนาดเล็กกว่า

  • การผ่าตัดส่องกล้องสามารถลดโอกาสแผลติดเชื้อได้

  • เกิดพังผืดน้อยกว่า

 

การผ่าตัดด้วยวิธีนี้มีผลดีกับตัวของสตรีเนื่องจากดีกว่าการผ่าตัดแบบธรรมดาทุกด้าน ทางโรงพยาบาลเพชรเวชเองก็ยินดีให้บริการดังกล่าวด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้คุณผู้หญิงสามารถหายจากโรคและกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติอีกครั้ง

แนะนำแพทย์