Petcharavejhospital.com
โปรโมชั่นสุขภาพ
คลายความกังวลใจ เรื่องค่าใช้จ่ายส่วนเกิน

เพิ่มเติม

เพิ่มเติม
บุคลากรแพทย์
นพ.ชัยสิทธิ์ สุริยานุสรณ์
ดูประวัติแพทย์
พญ.แพร ทรัพย์สำรวย
ดูประวัติแพทย์
นพ.ภูวสิษฏ์ ตรีจักรสังข์
ดูประวัติแพทย์
นพ.อุเทน บุญอรณะ
ดูประวัติแพทย์

เพิ่มเติม
บทความสุขภาพ
เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนควรระวัง "โรคมือ เท้า ปาก" ไว้ให้ดี
  ในช่วงฤดูฝน มีผู้คนมากมายต้องล้มป่วยกันหลายคน เพราะเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่พัดผ่านมากับลมฝน ซึ่งมีอยู่โรคหนึ่งที่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโรคที่มักแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน และมีความอันตรายต่อเด็กอย่างมาก นั่นคือ โรคมือ เท้า ปาก (Hand foot mouth disease) แต่ไม่ได้หมายความว่าโรคนี้จะเกิดขึ้นแค่กับเด็กเท่านั้น ผู้ใหญ่มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน     โรคมือ เท้า ปาก คืออะไร ?    เกิดจากการติดเชื้อในตระกูลเอนเทอโรไวรัส ซึ่งประกอบไปด้วยหลายสายพันธุ์ โดยส่วนมากจะเกิดจากสายพันธุ์คอกซากีไวรัส เอ16 (Coxsackie A16 Virus), สายพันธุ์คอกซากีไวรัส เอ 6 (Coxsackievirus A6), สายพันธุ์ไวรัสเริม (Herpes simplex virus, HSV) แต่สายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงจริง ๆ คือ เอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus71, EV71) ที่มักทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยเฉพาะระบบประสาท โรคนี้มักเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก แต่ผู้ใหญ่สามารถเป็นได้เช่นกัน แต่ความรุนแรงจะน้อยกว่าหรืออาจจะไม่มีอาการใด ๆ เลย   โรคมือ เท้า ปาก ติดต่ออย่างไร ?     ติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย, น้ำมูก, เสมหะ, ตุ่ม, ผิวหนัง หรืออุจจาระ เป็นต้น โดยสามารถติดต่อได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ การรับประทานอาหาร และดื่มน้ำร่วมภาชนะที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งของผู้ป่วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมโรคมือ เท้า ปาก จึงมักระบาดในพื้นที่โรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก โดยระยะฟักตัวของโรคนี้จะอยู่ที่ประมาณ 3 - 6 วันหลังจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย      อาการของโรคมือ เท้า ปาก    มีไข้ขึ้นสูง, ครั่นเนื้อครั่นตัว    เกิดแผลที่ปากและผิวหนัง โดยส่วนมากจะพบที่มือกับเท้า บางครั้งอาจพบที่บริเวณก้นของเด็ก   ซึม, ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม     ปวดศีรษะรุนแรง   ไอ และมีเสมหะเยอะ   หน้าซีด, หายใจเร็ว หรือหอบเหนื่อย   เกิดอาการทางระบบประสาท เช่น กล้ามเนื้อกระตุก, แขนและขาอ่อนแรง, ชัก, กรอกลูกตาผิดปกติ เป็นต้น     ภาวะแทรกซ้อนของโรคมือ เท้า ปาก    ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สมองหรือเยื่อบุสมองอักเสบ    ระบบทางเดินหายใจ เช่น ภาวะน้ำท่วมปอดเฉียบพลัน    ระบบการไหลเวียนโลหิต เช่น ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน    มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง   เกิดภาวะขาดน้ำจากการดื่มน้ำน้อย เพราะเจ็บแผลภายในช่องปาก     การวินิจฉัยโรคมือ เท้า ปาก   ผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการว่าเข้าข่ายโรคมือ เท้า ปากด้วยตนเองได้ โดยส่วนมากอาการจะทุเลาลง และหายได้เองภายใน 7 - 10 วัน แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบแพทย์ทันที โดยแพทย์จะสอบถามประวัติหรืออาการของผู้ป่วย และอาจพิจารณาวิธีการวินิจฉัยเพิ่มเติม ดังนี้   การเพาะเชื้อไวรัส    การส่งตัวอย่างสารคัดหลั่งและอุจจาระ โดยแพทย์จะนำตัวอย่างสารคัดหลั่งและอุจจาระของผู้ป่วย ส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการเพื่อหาเชื้อไวรัส   การตรวจหายีนของเชื้อไวรัสด้วยวิธีการ PCR (Polymerase Chain Reaction)     โรคมือ เท้า ปาก มีวิธีการรักษาอย่างไร ?    การรักษาแบบประคับประคองอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวดลดไข้ พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการให้ยาแอสไพรินกับเด็ก และควรให้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยรายที่จำเป็น   ทายาแก้ปวด หากเกิดแผลภายในช่องปาก     รับประทานไอศกรีม หรือเครื่องดื่มเย็น เพื่อลดอาการเจ็บแผลภายในช่องปากได้    หากผู้ป่วยเกิดภาวะขาดน้ำ แพทย์จะพิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ     การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก    หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย   หากเด็กป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายดี เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น    ใช้ทิชชูหรือผ้าปิดจมูกทุกครั้งขณะไอหรือจาม    ทำความสะอาดพื้นที่, ภาชนะ หรือของเล่นเด็กบ่อย ๆ และไม่ควรใช้ภาชนะร่วมกันกับผู้ป่วย     ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำหรือสัมผัสสิ่งของ   หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มร้อน อาหารรสจัด หรืออาหารที่เป็นกรด   หากมีแผลในช่องปาก ให้รับประทานอาหารเหลวแทน เพื่อลดการบดเคี้ยวอาหาร    หากมีภาวะแทรกซ้อนหรืออาการที่รุนแรง ควรเข้าพบแพทย์ทันที    การฉีดวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก      ต้องพูดเลยว่าโรคมือ เท้า ปาก เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความอันตรายต่อเด็กอย่างมาก เพราะอาการและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ทางที่ดีควรแนะนำวิธีในการดูแลสุขอนามัยให้กับบุตรหลานของท่าน และเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก เพื่อลดความรุนแรงของโรค หากมีบุตรหลานท่านใดที่มีอาการเข้าข่ายโรคนี้ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันที ถ้าหากปล่อยไว้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้   เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง   กุมารเวช   วัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก
อ่านเพิ่มเติม
ออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตที่ชาวออฟฟิศต้องระวัง
  พนักงานออฟฟิศ โดยส่วนมากล้วนมีพฤติกรรมในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การนั่งหลังค่อม นั่งทำงานหน้าจอคอมนาน ๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ หรือมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะ เก้าอี้ สูงเกินไป จนส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกาย ซึ่งพฤติกรรมที่เราทำอยู่ทุกวัน อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกาย และอาจเกิดโรคที่เรียกว่า ออฟฟิศซินโดรม ขึ้นได้     ออฟฟิศซินโดรมเป็นอย่างไร ?   เกิดจากอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศ เพราะเป็นการทำงานที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ หรือการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่องกันหลายชั่วโมงต่อวัน หรืออยู่ในท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานเกินไป โดยไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ, ยืนหลังค่อม, ไหล่ห่อ, ก้มคอมากเกินไป เป็นต้น ซึ่งอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง และอาจส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ, ระบบนัยน์ตา, ระบบการย่อยอาหาร และการมองเห็นได้อีกด้วย     สาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรม   สภาพแวดล้อม อุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสมกับโครงสร้างร่างกายของผู้ทำงาน เช่น โต๊ะ, เก้าอี้ที่ใช้ทำงานสูงหรือต่ำจนเกินไป เป็นต้น   สภาพร่างกายและจิตใจ เช่น ความเครียดจากการทำงาน, การพักผ่อนไม่เพียงพอ, การได้รับสารอาหารไม่ครบ หรือทานอาหารไม่ตรงเวลา สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วยได้ด้วย   การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการก้มดูสมาร์ตโฟนในการทำงานเป็นระยะเวลานาน     พฤติกรรมท่าทางของแต่ละบุคคล เช่น การนั่งไขว่ห้าง, การนั่งและยืนหลังค่อม, คอยื่น เป็นต้น    ทำงานที่ต้องใช้แรงเป็นประจำ เช่น การยกของหนัก, การแบกสิ่งของหรือวัสดุ, การสะพายกระเป๋าหนัก เป็นต้น     อาการของออฟฟิศซินโดรม   ปวด เมื่อยล้า ตึงบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอ, สะบัก, บ่า, ไหล่ หรือหลัง    มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง, ไมเกรน, หูอื้อ     ปวดตา, ตาแห้งและพร่ามัว   นอนไม่หลับ, พักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากความเครียด   ปวดตึงที่ขาและมีอาการเหน็บชา   มีอาการปวดข้อมือ, มือชา, นิ้วล็อก    ปวดตึงสะโพก     กลุ่มเสี่ยงของออฟฟิศซินโดรม   พนักงานออฟฟิศ    ผู้ที่ประกอบอาชีพใช้แรงงาน   นักกีฬา    แม่บ้าน    นักศึกษา   ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ เช่น อาชีพฟรีแลนซ์ เป็นต้น     โรคที่เกิดจากออฟฟิศซินโดรม     เอ็นข้อมืออักเสบ    นิ้วล็อก    พังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ   โรคความดันโลหิตสูง    โรคเครียด อาจส่งผลให้เกิดไมเกรนและปวดศีรษะเรื้อรังได้    กระเพาะปัสสาวะอักเสบ   โรคอ้วน   กรดไหลย้อน    ต้อหิน หรือตาพร่ามัว      การรักษาออฟฟิศซินโดรม   การรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น หากอาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำกายภาพบำบัดในการรักษาต่อไป   การทำกายภาพบำบัด เป็นการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก และยังเป็นการประเมินโครงสร้างร่างกาย หรือช่วยปรับร่างกายให้เกิดความสมดุล รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่น ๆ ที่อาจเกิดตามมาได้ในระยะยาว   การฝังเข็ม ช่วยระงับการปวด ทำให้กล้ามเนื้อคลายจุดปวด และยังช่วยปรับสมดุลของอวัยวะให้กลับมาอยู่ในสภาพปกติ     การนวดแผนไทย      การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม   ออกกำลังกาย เพื่อยืดกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่น และเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ, การออกกำลังกายแบบเสริมสร้างกล้ามเนื้อ หรือการออกกำลังกายแบบยืดเหยียด เป็นต้น   ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา หรือปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบาย เป็นต้น   พักการใช้งานกล้ามเนื้อ เช่น ในระหว่างทำงานควรมีการเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมง   เปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน โดยยึดหลัก “10-20-60” คือ การพักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุก 10 นาที, การลุกออกไปเดินเล่นหรือเปลี่ยนอิริยาบถเมื่อทำงานครบ 20 นาที, เมื่อครบ 60 นาที ให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและแขน โดยการบริหารต้นคอ สะบัก ไหล่ แขน มือ เอว หลัง และขา     หากมีอาการปวดมากผิดปกติ หรือปวดเรื้อรัง ควรเข้าพบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อวินิจฉัยอาการที่เกิดขึ้น และรับคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี   โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับพฤติกรรมในที่ทำงาน และไม่ควรปล่อยปละละเลยหากเกิดสัญญาณเตือนของอาการ การดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้ หากมีชาวออฟฟิศท่านใดที่มีอาการปวดตามอวัยวะต่าง ๆ ผิดปกติเกิดขึ้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันที   เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง   เวชศาสตร์ฟื้นฟู   เอ็นข้อมืออักเสบ ระวังไว้โรคใกล้ตัว   นิ้วล็อก หนึ่งในโรคยอดฮิตของเหล่ามนุษย์ออฟฟิศ   พังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือคืออะไร   กล้ามเนื้ออักเสบ อาการอันตรายที่ท่านไม่ควรละเลย
อ่านเพิ่มเติม
24
ชม. อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
58
ONLINE : IPD
1500
รับผู้ป่วยเฉลี่ย : วัน
46
ปี ที่ดูแล