รวมข้อสงสัยโปรแกรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
รวมข้อสงสัยโปรแกรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

Q : สนใจแพคเกจผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมต้องทำอย่างไรบ้าง

 

 

A : หากสนใจแพคเกจผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่ LINE คลิก เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงแนะนำการเข้ารับบริการตั้งแต่พบแพทย์จนถึงการผ่าตัดและหลังการผ่าตัด

 

 

 

Q : แพทย์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม มีท่านใดบ้าง และออกตรวจในวันและเวลาใดบ้าง

 

 

A : แนะนำแพทย์เฉพาะทาง 1 ท่าน คือ นพ.ดนัย โชคชัยสกุล ออกตรวจทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี เวลา 09.00-11.00 น. (เวลาอาจมีการปรับเปลี่ยน) สามารถนัดหมายหรือตรวจสอบคิวแพทย์ได้ที่ LINE คลิก

 

 

 

Q : แพคเกจผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วหรือไม่

 

 

A : ก่อนเข้าแพคเกจจะมีค่าพบแพทย์ ค่าตรวจวินิจฉัยเพื่อผ่าตัด และกรณีวินิจฉัยต้องเข้ารับการผ่าตัดจะมีค่าตรวจร่างกายก่อนผ่าตัด ทั้งนี้หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยเข้าแพ็กเกจได้จะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

 

 

 

Q : หากเคยตรวจข้อเข่ามาแล้ว สามารถเปลี่ยนข้อเข่าได้เลยหรือไม่

 

 

A : หากเคยได้รับการตรวจข้อเข่ามาแล้ว และผลตรวจว่าเป็นข้อเข่าเสื่อม และต้องการเปลี่ยนสามารถนำผลตรวจมาประกอบการผ่าตัดได้

 

 

 

Q : ก่อนเข้าแพคเกจและหลังผ่าตัดจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?

 

 

A : 1.พบแพทย์เฉพาะทางก่อนเพื่อให้แพทย์ประเมินอาการ และร่างกายก่อนผ่าตัด ค่าใช้จ่ายประมาณ 700 - 1,000 บาท (กรณีไม่มีส่งตรวจอุปกรณ์พิเศษใด ๆ เพิ่ม)

 

 

A : 2.ตรวจร่างกายก่อนผ่าตัด (Pre-op) หากผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัว ค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000 - 5,000 บาท กรณีผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น

 

 

A : 3.ตรวจโควิด-19 Antigen Test (ATK) ก่อนเข้ารับบริการผ่าตัด ค่าใช้จ่ายประมาณ 1,000 บาท (กรณีผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจะต้องตรวจโควิด 19 ด้วยวิธี RT-PCR 1,500 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่แพทย์พิจารณาส่งตรวจ)

 

 

A : 4.หลังผ่าตัดแพทย์จะนัดหมายติดตามอาการเพื่อดูถึงความผิดปกติ หรือดูแผลผ่าตัดว่าเกิดการติดเชื้อ มีผลข้างเคียงหรือไม่ เป็นต้น ค่าใช้จ่ายประมาณ 700 - 1,000 บาท (ไม่รวมหากมียากลับบ้านเพิ่มและส่งตรวจอุปกรณ์พิเศษใด ๆ เพิ่ม)

 

 

 

Q : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่นควรทำอย่างไรบ้าง

 

 

A : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่น สามารถนำผลตรวจทั้งหมดมาประกอบพิจารณาการผ่าตัดเพิ่มเติมได้เลย หากแพทย์พิจารณาจากผลเดิมได้ ผู้ป่วยอาจไม่ต้องตรวจรายการอื่นและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมก่อนผ่าตัด

 

 

 

Q : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่นมาแล้ว แต่เนื่องจากต้องเดินทางไกล และต้องการทราบผลเบื้องต้นจะผ่าตัดได้หรือไม่ และควรทำอย่างไร

 

 

A : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่น และต้องการทราบผลการผ่าตัดเบื้องต้น สามารถส่งให้ทางโรงพยาบาลเพื่อประสานพยาบาลและแพทย์ประเมินเบื้องต้นก่อนได้ หลังจากนั้นแพทย์จะนัดหมายมาพบแพทย์ตามขั้นตอนอีกครั้ง

 

 

 

Q : พบแพทย์แล้วสามารถผ่าตัดได้เลยหรือไม่

 

 

A : ในกรณีฉุกเฉิน หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าคนไข้ต้องเข้ารับการผ่าตัด สามารถผ่าตัดได้เลย ส่วนในกรณีไม่ฉุกเฉินแพทย์จะนัดหมายอีกครั้งโดยไม่เกิน 1 สัปดาห์ (ทั้งนี้อยู่ที่ความสะดวกของผู้ป่วยและคิวแพทย์ผ่าตัดด้วย)

 

 

 

Q : มีประกันชีวิตสามารถใช้ในแพคเกจนี้ได้หรือไม่

 

 

A : หากมีประกันชีวิตและมีการคุ้มครองการผ่าตัดสามารถเข้าผ่าตัดแพ็กเกจนี้ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะมีการตรวจสอบความคุ้มครองเบื้องต้นก่อนเข้ารับบริการ และในวันที่พบแพทย์เพื่อประเมินการผ่าตัดจะมีการเช็กความคุ้มครองอีกครั้ง

 

 

 

Q : สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่

 

 

A : กรณีสิทธิประกันสังคมสามารถผ่าตัดได้ แต่ไม่สามารถเข้าแพคเกจได้ และต้องเข้าพบแพทย์ตามขั้นตอนประกันสังคม โดยจะต้องเข้าพบแพทย์ทางด้านอายุรกรรม หลังจากแพทย์วินิจฉัยแล้วจะส่งต่อแพทย์เฉพาะอีกครั้ง และนัดหมายเข้ารับการผ่าตัด

 

 

 

Q : หากมีสิทธิประกันสังคมแต่ไม่สะดวกรอผ่าตัดจึงประสงค์จะชำระค่ารักษาตามแพคเกจได้หรือไม่

 

 

A : หากผู้ป่วยประสงค์ผ่าตัดโดยไม่ใช้สิทธิประกันสังคมสามารถเข้ารับบริการได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณาอีกครั้ง และผู้ป่วยจะต้องสละสิทธิ์โครงการประกันสังคมและยินยอมการรักษาค่าพยาบาลตามเงื่อนไขของโรงพยาบาลที่กำหนดก่อนเข้ารับการผ่าตัด

 

 

 

Q : การผ่าตัดข้อเข่าเทียมใช้ระยะเวลาเท่าใด

 

 

A : การผ่าตัดจะใช้เวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมง ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละผู้ป่วย

 

 

 

Q : หลังทำการผ่าตัดแล้วจะสามารถกลับมาเดินได้เป็นปกติหรือไม่

 

 

A : หลังการผ่าตัด 6 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะสามารถเดินได้โดยใช้ไม้เท้าช่วย ผู้ป่วยในบางรายอาจจะสามารถขับรถได้หลังจากผ่าตัดประมาณ 7-8 สัปดาห์ โดยส่วนมากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมสามารถทำให้ผู้ป่วยกลับมาทำกิจกรรมประจำวันได้เหมือนเดิม

 

 

 

Q : จะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรจะต้องได้รับการรักษาโดยวิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

 

 

A : ผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อเข่ามากต้องใช้ยาควบคุมอาการตลอดมีความผิดรูปของข้อเข่า เช่น เข่าโก่งชัดเจน งอได้น้อยกว่า 90 องศา เหยียดเข่าได้ไม่สุด ส่งผลต่อการยืน เดิน หรือใช้งานเข่า เช่น เดินตัวเอียงไปซ้าย-ขวา ลุกนั่งลำบาก นั่งเก้าอี้เตี้ยไม่ได้ ยืน หรือเดินไม่ได้

 

 

 

Q : หากปล่อยอาการไว้ และไม่ทำการผ่าตัดจะเป็นอย่างไร

 

 

A : ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวด และมีปัญหาการใช้ชีวิตประจำวัน บางรายอาการอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เดินไม่ได้ไปตลอดชีวิต

 

 

 

Q : เงื่อนไขการเข้ารับบริการมีอะไรบ้าง

 

 

A : 1.การเข้ารับบริการแพ็กเกจขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น (เช่น ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว)


 

A : 2. แพ็กเกจดังกล่าวไม่รวมภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรคประจำตัว (Underlying disease) ของผู้ป่วยและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนอกเหนือแพ็กเกจการผ่าตัด


 

A : 3. ไม่รวมกรณีนอนพักเกินจำนวนวันที่กำหนดไว้ในแพ็กเกจ และค่าห้อง ICU กรณีจำเป็นต้องนอนหลังผ่าตัด


 

A : 4. สงวนสิทธิ์เฉพาะคนไทยและชาวต่างชาติที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทยเท่านั้น



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Replacement)

 

 

เปลี่ยนจากข้อเข่าเสีย กลายเป็นข้อเข่าดี

 

 

การผ่าตัดข้อเข่าเทียม