โปรแกรมตรวจสมรรถภาพหัวใจ
รวมข้อสงสัยโปรแกรมตรวจสมรรถภาพหัวใจ

 

โปรแกรมตรวจการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย EST

 

 

Q : โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับใครบ้าง

 


A : วิธีการตรวจการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย (วิ่งสายพาน) เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่ไม่แสดงอาการผิดปกติ เช่น ผู้สูบบุหรี่จัด, ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง, ผู้ป่วยเบาหวาน, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

 

 

 

Q : หากไม่ทราบว่าควรตรวจแบบวิธีไหนดี ควรทำอย่างไร

 


A : แนะนำผู้รับบริการพบแพทย์ด้านหัวใจ เพื่อวินิจฉัยอาการและส่งตรวจเฉพาะทางให้เหมาะสมกับอาการ

 

 

 

Q : อายุเท่าที่ควรตรวจ EST

 


A : กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ควรเข้ารับบริการตรวจได้ตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป

 

 

 

Q : มีอาการเจ็บหน้าอก เจ็บบริเวณหัวใจ หรือมีอาการ สามารถเข้ารับการตรวจเลยได้หรือไม่

 


A : อาการดังกล่าว หรือกลุ่มเสี่ยงควรได้รับการตรวจ ซึ่งจะต้องพบแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจก่อน และส่งตรวจ

 

 

 

Q : ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจ

 


A : สำหรับโปรแกรมนี้ ระยะเวลาในการตรวจ 15-30 นาที

 

 

โปรแกรมตรวจการทำงานของหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ECHO

 

 

Q : หากไม่ทราบว่าควรตรวจแบบวิธีไหนดี ควรทำอย่างไร

 


A : แนะนำผู้รับบริการพบแพทย์ด้านหัวใจ เพื่อวินิจฉัยอาการและส่งตรวจเฉพาะทางให้เหมาะสมกับอาการ

 

 

 

Q : อายุที่ควรตรวจ Echo

 


A : กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ควรเข้ารับบริการตรวจได้ตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป

 

 

 

Q : ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจ

 


A : สำหรับโปรแกรมนี้ ระยะเวลาในการตรวจ 20-40 นาที

 

 

ตรวจแคลเซียมผนังหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Scoring)

 

 

Q: การตรวจ CT Calcium Scoring มีความแตกต่างกับการตรวจ EST หรือ ECHO อย่างไร

 

 

A: เป็นตรวจปริมาณหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Scoring) คือ การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan ตรวจหาหินปูนบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมาจากความเสื่อมของร่างกายตามธรรมชาติ หรือกลไกที่สร้างมาเพื่อป้องกันการอักเสบของแต่ละบุคคล เมื่อมีปริมาณมากก็จะยิ่งเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหัวใจวายเฉียบพลันได้ในอนาคต แม้ว่าจะยังไม่แสดงอาการความผิดปกติออกมา

 

A: ส่วน EST หรือการตรวจสมรรถภาพการออกกำลังกาย จะเป็นการหาภาวะหัวใจขาดเลือด ในขณะที่ผู้เข้ารับบริการตรวจอาจจะวิ่งอยู่บนลู่สายพานหรือปั่นจักรยานอยู่กับที่ จะพบความผิดปกติเมื่อมีการตีบของหลอดเลือดหัวใจมากแล้ว ทำให้การหมุนเวียนโลหิตทำได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ เกิดการเจ็บแน่นบริเวณหน้าอกในที่สุด

 

A: ส่วน ECHO คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram หรือ Echocardiography) ใช้หลักการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูงที่ปลอดภัย โดยปล่อยคลื่นเสียงจากหัวตรวจ (Transducer) ซึ่งดูคล้ายไมโครโฟนผ่านผนังทรวงอกเข้าไปถึงหัวใจ เมื่อคลื่นเสียงผ่านอวัยวะต่าง ๆ ก็จะเกิดการสะท้อนกลับที่แตกต่างกันระหว่างน้ำกับเนื้อเยื่อ คอมพิวเตอร์จะนำสัญญาณเหล่านั้นมาแปลงเป็นภาพแสดงบนหน้าจอ

 

 

Q: ปัจจัยเสี่ยงที่ควรตรวจ CT Calcium Scoring

 

 

A:เพราะมีโอกาสที่หลอดเลือดหัวใจจะเกิดความผิดปกติขึ้น ได้แก่ ผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี ,ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนแล้ว ,ความดันโลหิตสูง .มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

สูบบุหรี่,ไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 150 มก./ดล.,คอเลสเตอรอลในเส้นเลือด มากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดลซิลิตร ,ผู้ป่วยโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต ,บุคคลที่น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน ,ความเครียด ,ไม่ออกกำลังกาย

 

 

Q: ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจ

 

 

A: สำหรับโปรแกรมนี้ ระยะเวลาในการตรวจประมาณ 15 นาที

 

A:เพียงนอนหงายราบอยู่บนเตียงผ่านเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที โดยไม่ต้องผ่านการฉีดสี ให้น้ำเกลือ หรือเตรียมตัวงดน้ำ-อาหาร ก่อนตรวจ ทั้งนี้ศักยภาพของเทคโนโลยีนี้ มีความแม่นยำสูง สามารถทราบผลตรวจได้เลย ทำให้ไม่มีการนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล ช่วยให้ผู้เข้ารับบริการประหยัดเวลา รวมทั้งผลข้างเคียงในร่างกายจากการใช้รังสีที่น้อย โอกาสที่จะเกิดความเจ็บป่วยหรือผิดปกติน้อยมาก

 

 

เงื่อนไขการเข้ารับบริการ

 

 

- โปรแกรมนี้รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.เรียบร้อยแล้วค่ะ

 

 

- กรุณานัดหมายก่อนเข้ารับบริการผ่านช่องทางออนไลน์ LINE @petcharavej



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจสมรรถภาพหัวใจ

 

 

วิ่งสายพานตรวจหัวใจ EST

 

 

ตรวจ Echo หัวใจดีไหม 

 

 

CT Calcium Scoring ตรวจปริมาณหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ

 

 

ทุก 1 ชั่วโมง คนไทยจะเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือด 2-3 ราย