สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง)

สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิบัตรทอง (สิทธิ 30 บาท) เป็นสิทธิตามกฎหมายที่รัฐบาลจัดให้คนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิด และตลอดช่วงชีวิต (ไม่ใช่สิทธิเพื่อการสงเคราะห์เฉพาะกลุ่ม) สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ฟรี ยกเว้นผู้ที่มีสิทธิรักษาอื่น ๆ เช่น สิทธิประกันสังคม, สิทธิข้าราชการ เป็นต้น

 

 

สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรคคืออะไรและครอบคลุมอะไรบ้าง? 

 

สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค คือ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์แก่คนไทยในราคาประหยัด และครอบคลุม โดยสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

 

  • บริการปฐมภูมิ : ตรวจวินิจฉัยโรคทั่วไป เช่น ไข้หวัด, อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย

 

  • บริการเรื้อรัง : ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

 

  • ทันตกรรม : ถอนฟัน, อุดฟัน, ขูดหินปูน (ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาล)

 

  • บริการฉุกเฉิน : รับการรักษาเบื้องต้นในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

 

  • การส่งเสริมสุขภาพ : การให้คำปรึกษา, การฉีดวัคซีน หรือการตรวจคัดกรองโรค

 

ผู้เข้ารับบริการต้องนำบัตรประชาชนมาด้วยทุกครั้ง เพื่อเป็นการตรวจสอบสิทธิและยืนยันตัวตนของท่าน กรณีเด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน กรุณานำสูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของเด็ก พร้อมบัตรประชาชนของผู้ปกครองมาด้วยทุกครั้ง

 

 

กลุ่มบุคคลที่มีสิทธิในการใช้บริการ

 

ผู้ที่มีสิทธิในการใช้บริการสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีดังนี้

 

  • บุคคลที่มีสัญชาติไทยทุกคนที่ลงทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพ

 

  • เด็กแรกเกิดที่ไม่มีประกันสุขภาพที่พ่อแม่เลือกไว้ให้

 

  • บุตรของข้าราชการคนที่ 4 ขึ้นไป (เพราะสิทธิของข้าราชการจะคุ้มครองบุตรเพียง 3 คน)

 

  • ข้าราชการที่เกษียณอายุหรือออกจากข้าราชการ โดยไม่มีบำนาญ

 

  • ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระและไม่ได้เป็นผู้ประกันตน

 

 

บริการพื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต 

 

  • บริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค

 

  • การตรวจวินิจฉัยโรค

 

  • การตรวจและรับฝากครรภ์

 

  • การบำบัดและการบริการทางการแพทย์

 

  • ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์

 

  • การทำคลอด

 

  • การกินอยู่ในหน่วยบริการ

 

  • การบริบาลทารกแรกเกิด

 

  • บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย

 

  • บริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ

 

  • การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ

 

  • บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกฯ

 

  • บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่ คกก.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

 

 

บริการที่ไม่อยู่ในประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุข 

 

  • การกระทำใด ๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

 

  • การตรวจวินิจฉัยและการรักษาใด ๆ ที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

 

  • การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง

 

  • การปลูกถ่ายอวัยวะที่นอกเหนือจากรายการที่กำหนด

 

  • การบริการทางการแพทย์อื่น ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

 

 

หากต้องการเปลี่ยนหน่วยบริการบัตรทองต้องทำอย่างไร? 

 

ประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถเปลี่ยนหน่วยบริการประจำได้ 4 ครั้ง/ปี (รอบปีงบประมาณนับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป)

 

สามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ 2 ช่องทาง

 

ช่องทางออนไลน์

 

  • แอปฯ สปสช. (ดาวน์โหลดได้ทั้ง Android และ iOS จากนั้นเลือกเมนู “ลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการ”

 

  • Line Official สปสช. : @nhso และเลือกเมนู “เปลี่ยนหน่วยบริการด้วยตนเอง”

 

ติดต่อด้วยตนเอง

 

  • พื้นที่ กทม. : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ชั้น 2 อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ (ในวันเวลาราชการ)

 

  • พื้นที่ต่างจังหวัด : ติดต่อได้ที่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (รพ.สต., สถานีอนามัย, รพ.รัฐ ฯลฯ)


 

สอบถามเงื่อนไขการเข้ารับบริการสิทธิบัตรทองโรงพยาบาลเพชรเวช โทร. 1390