ข้อเท้าแพลง ภาวะการบาดเจ็บของเส้นเอ็นยึดตรึงข้อเท้าอย่างเฉียบพลัน
ข้อเท้าแพลง ภาวะการบาดเจ็บของเส้นเอ็นยึดตรึงข้อเท้าอย่างเฉียบพลัน

ข้อเท้าแพลง (Ankle sprain) คือ ภาวะการบาดเจ็บของเส้นเอ็นยึดตรึงข้อเท้าอย่างเฉียบพลัน  เมื่อข้อเท้าเกิดการบิดหมุนออกจากเท้าอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เนื้อเยื่อรอบๆบริเวณนั้นเกิดการบาดเจ็บแบบฟกช้ำ จนถึงฉีกขาด บางกรณีถึงขั้นกระดูกหัก โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงและต้องเฝ้าระมัดระวังคือ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือนักกีฬาประเภทเข้าปะทะหนักๆ รวมทั้งผู้หญิงที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูงอยู่เป็นประจำ กลุ่มบุคคลเหล่านี้จะมีโอกาสข้อเท้าแพลงได้มากกว่าบุคคลปกติ

 

 

สาเหตุการเกิดข้อเท้าแพลง

 

อุบัติเหตุ

 

  • เช่น การลื่นล้มในห้องน้ำ

 

  • การเดินตกบันได

 

  • การเหยียบวัตถุบางอย่างแล้วเกิดการพลิกของข้อเท้า

 

การเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกาย

 

  • เช่น การวิ่งลงน้ำหนักไปที่เท้าที่ผิดวิธี

 

  • การเข้าปะทะในกีฬาบางชนิด เช่น ฟุตบอล

 

การสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับขนาดเท้า

 

  • โดยเฉพาะผู้หญิงที่ใส่รองเท้าส้นสูง หรือผู้ที่ออกกำลังกายแล้วเลือกรองเท้าไม่เหมาะสมกับกีฬา เช่น ใส่รองเท้าผ้าใบลงไปเล่นฟุตบอลในสนาม แทนการใส่รองเท้าสตัด เป็นต้น

 

 

อาการข้อเท้าแพลง

 

ระดับที่ 1

 

  • เนื้อเยื่อ หรือเส้นเอ็นข้อเท้าเกิดการฉีกขาดเพียงเล็กน้อย มีอาการปวด บวม กดเจ็บบริเวณเท้า

 

ระดับที่ 2

 

  • เนื้อเยื่อ หรือเส้นเอ็นข้อเท้าเกิดการขาดฉีกขาดเพียงบางส่วน มีอาการคล้ายกับระดับที่ 1 แต่จะรุนแรงกว่า

 

ระดับที่ 3

 

  • เนื้อเยื่อ หรือเส้นเอ็นข้อเท้าเกิดการขาดฉีกขาดทั้งหมด จนไม่สามารถเดินลงน้ำหนักไปที่เท้าได้เป็นปกติ

 

 

การวินิจฉัยข้อเท้าแพลง

 

ขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติการเกิดข้อเท้าแพลงในอดีต รวมทั้งอาการบาดเจ็บ และตรวจร่างกายผู้ป่วยทางภายนอกแบบเบื้องต้น เช่น การจับ ขยับ กดข้อเท้า ดูการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย หลังจากนั้นก็จะเป็นการตรวจทางรังสีโดยใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆ ได้แก่

 

การเอกซเรย์ (X-Ray)

 

  • สามารถเห็นโครงสร้างภายในกระดูกข้อเท้า

 

การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

 

  • เพื่อให้เห็นภาพในกระดูกข้อเท้า เนื้อเยื่อ และเอ็นข้อต่ออย่างละเอียด

 

การใช้เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

 

  • เห็นภาพรายละเอียดภาพรายละเอียดภายในข้อเท้าที่เกิดความเสียหายอย่างละเอียด

 

 

การรักษาข้อเท้าแพลง

 

การรับประทานยา

 

  • ยาแก้ปวด

 

การใช้อุปกรณ์

 

  • เพื่อหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักลงที่เท้า เพราะถ้าหากเดินปกติอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำได้ โดยใช้อุปกรณ์ เช่น ไม้เท้าค้ำยัน อุปกรณ์แบบสวมพยุงข้อเท้า (Brace)

 

กายภาพบำบัด

 

  • ทำการบริหารข้อเท้า เพื่อให้กล้ามเนื้อ และเอ็นข้อเท้ามีความยืดหยุ่น แข็งแรงยิ่งขึ้น

 

การทำหัตถการ

 

  • เป็นการใส่เฝือกดามข้อเท้า หรือเฝือกรองเท้าช่วยเดิน (Walking Boot)

 

การผ่าตัดรักษาเส้นเอ็น (Reconstruction)

 

  • แพทย์จะนำเอ็นข้อต่อ หรือเอ็นกล้ามเนื้อในบริเวณใกล้เคียงมาซ่อมแซมเอ็นเนื้อเยื่อในส่วนที่เกิดความเสียหาย

 

การผ่าตัดส่องกล้อง (Arthroscopy)

 

  • แพทย์จะทำการผ่าตัดกระดูกหรือกระดูกอ่อนบริเวณข้อเท้าที่เกิดการแตกหัก

 

 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อข้อเท้าแพลง

 

โดยมีหลักการง่ายๆ คือ  R-I-C-E

 

R : Rest การพัก

 

  • หยุดการใช้งานอวัยวะที่เกิดอาการบาดเจ็บทันที โดยใช้เวลาประมาณ 48 ชั่วโมง ก่อนเคลื่อนไหวอีกครั้ง

 

I : Ice การประคบเย็น

 

  • โดยใช้ถุงน้ำแข็ง หรือผ้าชุบน้ำเย็นจัด ประคบบริเวณข้อเท้าที่ปวดบวม วันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที อีกทั้งยังสามารถใช้สเปรย์เย็น (cooling spray) เพื่อบรรเทาอาการปวดชั่วคราว

 

C : Compression การพันผ้ายืดรัดข้อเท้า

 

  • เพื่อบรรเทาอาการข้อเท้าบวม จะต้องใช้วัสดุ และวิธีการที่เหมาะสม เพราะถ้าหากทำไม่ถูกวิธีจะส่งผลให้เกิดการอักเสบมากยิ่งขึ้น

 

E : ยกข้อเท้าขึ้นสูงให้สูงระดับหัวใจขณะนอน

 

  • เพื่อบรรเทาอาการข้อเท้าบวม

 

 

ข้อเท้าแพลง

 

 

การบริหารกล้ามเนื้อข้อเท้า และปลายประสาท

 

  • การกระดกเท้าขึ้น-ลง บิดเท้า และหมุนข้อเท้าเข้า-ออก รวมทั้งใช้ปลายเท้าวาดตัวอักษร

 

  • ทำตามอย่างข้างตนแต่ว่าเกร็งข้อเท้าค้างไว้ 5-10 วินาที

 

  • ค่อยๆ ลงน้ำหนักบริเวณที่เกิดข้อเท้าแพลง เน้นไปที่ ส้นเท้า ปลายเท้า ด้านในเท้า ด้านนอกเท้า ทำสลับกัน ประมาณ 10 รอบ

 

 

ข้อเท้าแพลง อีกกี่วันถึงจะหายเป็นปกติ

 

ปกติแล้วข้อเท้าแพลงจะหายภายในเวลา 3-6 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการรักษาอย่างถูกวิธี และความรุนแรงอาการ ได้แก่

 

  • ระยะที่ 1 จะหายเป็นปกติภายใน 2 สัปดาห์

 

  • ระยะที่ 2 จะหายเป็นปกติภายใน 4-6 สัปดาห์

 

  • ระยะที่ 3 จะหายเป็นปกติภายใน 6-10 เดือน

 

 

การป้องกันข้อเท้าแพลง

 

  • เลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับขนาดเท้า และกิจกรรมที่ทำ

 

  • อบอุ่นร่างกายก่อนเล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย

 

  • หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อเท้า เช่น ระมัดระวังขณะขึ้น-ลง บันได

 

  • ลดน้ำหนักตัวอย่างถูกวิธี

 

  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาตัวเล็ก ปลาแซลมอน และดื่มนม

 

 

ทั้งนี้แม้ว่าหลังจากการรักษาภาวะข้อเท้าแพลงเรียบร้อยแล้ว ก็ยังมีความเสี่ยงที่ข้อเท้าจะเกิดการพลิกได้ง่ายกว่าบุคคลปกติทั่วไป รวมทั้งอาการการปวดข้อเท้า กระดูกข้อเท้าแบบเรื้อรังอีก ดังนั้นหากเกิดอุบัติเหตุที่ข้อเท้าควรไปพบแพทย์โดยทันที ไม่ควรต้องรอให้มีอาการหนักก่อน เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

เวชศาสตร์ฟื้นฟู