โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) โรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในหลาย ๆ ด้านทั้งด้านการทำงาน การเรียน และการเข้าสังคม เช่น โรคกลัวการเข้าสังคม โรคแพนิค และโรคย้ำคิดย้ำทำ ก็นับเป็นโรควิตกกังวลด้วยเช่นกัน และด้วยโรคนี้เป็นโรคจากสภาพจิตใจจึงเป็นอันตรายอย่างมากหากปล่อยทิ้งไว้ ดังนั้นการรักษาโรคนี้ด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติอีกครั้ง
โรคนี้เกิดได้จากปัจจัยหลัก ๆ คือ เกิดจากพันธุกรรม เกิดจากเหตุการณ์รอบตัวที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก และเกิดจากการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ผิดพลาดไป อันเกิดจากความเครียดที่มีระยะเวลายาวนานต่อเนื่อง ซึ่งโรควิตกกังวลนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด ดังนี้
การเป็นโรควิตกกังวลจะส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจ และร่างกายอย่างหลากหลาย จนถึงขั้นรุนแรงที่สุดคือการเสียชีวิตจากภาวะที่แทรกแซง เช่น ภาวะซึมเศร้า หากผู้ป่วยไม่สามารถรักษา และหาทางออกกับปัญหา และความเครียดความกังวลที่ตนเป็นอยู่ได้ อาจส่งผลให้ผู้ป่วยคิดฆ่าตัวตายเพื่อหาทางออกได้ และในช่วงนั้นร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่ำลงส่งผลให้มีโรคต่าง ๆ เข้ามา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือผู้ป่วยบางรายอาจหันไปพึ่งสารเสพติดเพื่อคลายความเครียด แน่นอนว่าจะเกิดผลเสียตามมาอย่างมากมายและหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกด้วย
โรคนี้ไม่สามารถป้องกันได้นั้นเป็นความจริง แต่เราสามารถดูแลตนเองเพื่อลดอัตราการเกิดโรคนี้ได้ด้วยวิธีง่าย ๆ คือ การดูแลตนเองขั้นพื้นฐานทั้งการทานอาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย ไม่บริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และหากมีความเครียด ความกังวลใจ เราควรพยายามหลีกเลี่ยงความกังวลนั้นด้วยการทำกิจกรรมที่เสริมสร้างความสบายใจนั่นเอง
โรคที่ส่งผลกับสุขภาพจิตหลายโรคอาจไม่สามารถป้องกันได้เนื่องจากปัจจัยการเกิดโรคอาจอยู่เหนือการควบคุม แต่การรับรู้ข้อมูลทั้งการรักษา และการลดความเสี่ยงของโรควิตกกังวลจะเป็นประโยชน์ต่อเราหากเราจำเป็นต้องเผชิญกับโรคร้ายนี้ในอนาคต