ท้องมาน เมื่อการทำงานของตับผิดปกติ ส่งผลให้พุงใหญ่คล้ายตั้งครรภ์
ท้องมาน เมื่อการทำงานของตับผิดปกติ ส่งผลให้พุงใหญ่คล้ายตั้งครรภ์

ท้องมาน (Ascites) คือ ภาวะที่ของเหลวมีการสะสมระหว่างเยื่อหุ้มช่องท้อง และอวัยวะภายในช่องท้องมากเกินผิดปกติ  จากการทำงานของตับผิดปกติ ส่งผลให้พุงขยายใหญ่คล้ายผู้ที่ตั้งครรภ์ นอกจากนี้ท้องมานยัง สามารถจากโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง หัวใจล้มเหลว หรือไตวาย ได้เช่นกัน

 
 

สาเหตุของภาวะท้องมาน

 

นอกจากการทำงานของตับที่ผิดปกติแล้ว การที่ความดันสูงในหลอดเลือดตับ จนการไหลเวียนโลหิตในตับไม่สะดวก ส่งผลให้การทำงานของไตที่กำจัดน้ำ และเกลือผิดปกติ รวมทั้งโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของภาวะท้องมาน ได้แก่

      

  • โรคตับแข็ง

      

  • ไวรัสตับอักเสบ

      

  • ตับอ่อนอักเสบ

      

  • มะเร็งตับ

      

  • มะเร็งตับอ่อน

      

  • ไตวาย

      

  • หัวใจล้มเหลว

      

  • ไฮโปไทรอยด์

      

  • วัณโรค

      

  • การขาดสารอาหาร จะทำให้เกิดภาวะขาดแอลบูมิน

 

 

อาการของภาวะท้องมาน

 

หากของเหลวในระหว่างช่องท้องมีปริมาณไม่เยอะ จะมีอาการเช่น ปวดท้อง ท้องอืด

 

หากของเหลวในระหว่างช่องท้องมีปริมาณไม่เยอะ จะมีอาการเช่น หายใจไม่อิ่ม ท้องขยายใหญ่ขึ้น

 

อาการของผู้ป่วยท้องมานที่เป็นอันตราย ที่อาจเกิดการตับวายได้ ดังนี้

      

  • ปวดท้อง ท้องอืด

      

  • แสบร้อนกลางอก

      

  • คลื่นไส้ อาเจียน

      

  • ท้องบวม

      

  • เบื่ออาหาร

      

  • อาการลักษณะเป็นไข้หวัด

      

  • หายใจลำบาก

      

  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเร็วผิดปกติ

      

  • ดีซ่าน ตัวเหลือง

      

 

การวินิจฉัยภาวะท้องมาน

 

ในขั้นแรกแพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย และตรวจร่างกายที่บริเวณท้อง และทำการตรวจประเมินอาการเพื่อการรักษาการทำงานของตับ และไตเพิ่มเติมได้แก่

      

  • การอัลตราซาวด์

      

  • การตรวจปัสสาวะ

      

  • การตรวจโลหิต

      

  • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

      

  • การตรวจด้วยการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

 

 

การรักษาภาวะท้องมาน

 

การใช้ยา

      

  • แพทย์จะใช้ยาขับปัสสาวะในผู้ป่วยท้องมาน เช่น ยาสไปโรโนแลคโต และยาฟูโรซีไมด์ และระหว่างใช้ยาผู้ป่วยต้องเข้ารับการตรวจการทำงานของตับ และไต เพราะถ้าหากได้รับยาเกินขนาด จะทำให้เกิดการขาดแร่ธาตุบางชนิด

 

การเจาะน้ำออกจากช่องท้อง

      

  • แพทย์จะใช้เข็มเจาะโพรงช่องท้องเพื่อนำของเหลวออก ร่วมกับการลดโซเดียม และลดปริมาณน้ำในร่างกาย และวิธีนี้มีความเสี่ยงเกิดการติดเชื้อบริเวณช่องท้องได้ แพทย์จึงต้องป้องกันผู้ป่วยด้วยการให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วย

 

การผ่าตัด

      

  • หากตับเสื่อมในระยะสุดท้าย แพทย์จะทำการผ่าตัดทำทางระบายน้ำในช่องท้อง เพื่อเปิดทางให้เลือดไหลเวียนภายในตับของผู้ป่วยให้ดีขึ้น

 

 

Ascites

 

 

ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะท้องมาน

      

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

      

  • รับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

      

  • ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา เพราะยาบางชนิด มีผลข้างเคียง

      

  • ผู้ป่วยโรคตับแข็งควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้อักเสบ ลดปริมาณโซเดียม และเครื่องดื่ม

 

 

อาการท้องมานสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ โดยเยื่อบุช่องท้องเกิดอักเสบจากแบคทีเรีย จากภาวะความดันในหลอดเลือดดำตับสูง เชื้อแบคทีเรียจากลำไส้ สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ของเหลวในช่องท้อง และติดเชื้อในที่สุด ทั้งนี้ในการรักษาภาวะท้องมานหากผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งในช่องท้องร่วมด้วยแล้ว แพทย์จะทำการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือฉายแสงให้แก่ผู้ป่วย นอกจากนี้ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดแล้ว แต่ยังไม่สามารถตอบสนองการรักษาได้ดี แพทย์จะทำการปลูกถ่ายตับให้แก่ผู้ป่วย

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบ และคัดกรองโรคตับ

 

 

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ