Binge Eating Disorder
Binge Eating Disorder

โรคกินไม่หยุด (Binge Eating Disorder) ผู้ป่วยจะควบคุมพฤติกรรมการทานอาหารของตนเองไม่ได้ ทำให้ทานเยอะทานมากกว่าปกติ และรู้สึกไม่ดีหลังทานอาหารไปแล้ว โรคนี้สามารถรักษาได้หลายวิธีทั้งการทานยา การเข้าพบจิตแพทย์เมื่อรักษาหายแล้วควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร และควบคุมน้ำหนักมากยิ่งขึ้น

 

โรคกินไม่หยุดคืออะไร

 

โรคกินไม่หยุดเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยแต่จะพบได้มากในเพศหญิงช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป สาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดโรคยังไม่ชัดเจนอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการทานอาหารไม่หยุดแม้จะไม่รู้สึกหิว และจะหยุดก็ต่อเมื่อไม่สามารถทานต่อได้แล้วโดยจะส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยตรง

 

โรคกินไม่หยุดเกิดจากอะไร

 

ถึงแม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ยังพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระตุ้นการเกิดโรคกินไม่หยุดนี้ได้ เช่น

 

  • ปัจจัยความเสี่ยงด้านจิตใจ : เกิดเหตุการณ์ที่กระทบความรู้สึกเคยถูกทำร้าย การสูญเสียบุคคลรอบตัว ไปจนถึงความผิดหวังจากการลดน้ำหนัก และไม่มีความมั่นใจวิตกกังวลในรูปร่างของตนเอง
  • ปัจจัยความเสี่ยงจากโรค : พบได้ในผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือคนในครอบครัวเคยเป็นโรคกินไม่หยุด และจากโรคทางจิตเวช เช่น โรคไบโพลาร์ โรคเครียด โรคซึมเศร้า เป็นต้น

 

โรคกินไม่หยุด แก้ยังไง

 

อาการของโรคกินไม่หยุด

 

อาการที่สังเกตได้ของโรคกินไม่หยุดคือพฤติกรรมการกินอาหาร และลักษณะทางอารมณ์ที่แตกต่างไปจากเดิม ได้แก่

 

  • พฤติกรรมการทานอาหาร : ผู้ป่วยจะกินอาหารในปริมาณมากแม้ไม่รู้สึกหิว โดยจะทานจนกว่าจะทานต่อเองไม่ไหว หลังจากทานไปแล้วจะรู้สึกผิด บางรายอาจจะมีพฤติกรรมสะสมของกินไว้ใกล้ตัว
  • พฤติกรรมทางด้านอารมณ์ : ผู้ป่วยโรคกินไม่หยุดจะอยากกินอาหารคนเดียว เพราะรู้สึกอายหากต้องกินอาหารกับผู้อื่นในปริมาณมาก

 

เป็นคนชอบกินเสี่ยงโรคกินไม่หยุดใช่ไหม

 

บางคนเมื่ออ่านอาการของโรคกินไม่หยุดอาจคิดว่าตนเองอาจเป็นโรคนี้ได้ โดยอาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นกับบางคนแต่สำหรับคนที่ถูกวินิจฉัยว่าอาจเป็นโรคนี้ต้องมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายข้างต้นอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และต้องเป็นติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป

 

โรคกินไม่หยุดแก้ยังไง

 

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม : ออกกำลังกาย ทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และไม่ปล่อยให้ตนเองตกอยู่ในสภาวะความเครียด
  • การใช้ยา : เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดมีจุดประสงค์เพื่อจัดการสมดุลภายในสมอง และลดโอกาสเกิดอาการของโรคกินไม่หยุด แต่ด้วยผลข้างเคียงจากการใช้ยาจึงต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • การทำจิตบำบัด : มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยเรียนรู้สาเหตุ และอาการของโรคเพื่อรับมืออาการและสามารถจัดการกับความคิดด้านลบต่อร่างกายของตนเองได้

 

โรคกินไม่หยุดต้องใช้ความอดทนและความมีวินัยในการรักษา การได้รับกำลังใจและความเข้าใจจากคนรอบข้างจึงเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่จะทำให้การรักษาประสบผลสำเร็จ