กระดูกสันหลัง เป็นอวัยวะที่สำคัญ เนื่องจากมีไขสันหลัง และเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการทำงานของแขน และขา รวมทั้งเป็นแกนกลางรองรับน้ำหนักตัว หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นจนทำให้กระดูกสันหลังหัก มีความเสี่ยงถึงขั้นเป็นอัมพาต ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถเคลื่นไหวได้ ดังนั้นควรรู้จักการป้องกันการเกิดอันตรายบริเวณกระดูกสันหลัง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในประจำวัน
อุบัติเหตุต่างๆ ได้แก่
สาเหตุร่วมที่ทำให้เกิดกระดูกสันหลังหัก ได้แก่
หลังจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือหลังได้รับการบาดเจ็บจะมีอาการ ดังนี้
หากชิ้นส่วนของกระดูกสันหลังที่หัก หรือแตก ได้เกิดการเคลื่อนไปกดทับไขสันหลัง หรือเส้นประสาทจะมีอาการ แขน และขามีอาการชา และอ่อนแรง
การรักษาแบบประคับประคอง
การผ่าตัด
การใช้เทคโนโลยี
การฉีดซีเมนต์เพื่อเสริมโครงกระดูกสันหลัง (Vertebroplasty and Kyphoplasty) ใช้ในผู้ป่วยกระดูกสันหลังหักจากภาวะกระดูกพรุน และเนื้องอกบริเวณไขสันหลัง การรักษานี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดระยะเวลาในการพักฟื้น ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ
ในการเคลื่อนย้ายผู้ประสบอุบัติเหตุกระดูกสันหลังหัก ต้องใช้ความชำนาญ หากเคลื่อนย้ายไม่ถูกวิธี อาจเป็นอันตรายต่อผู้บาดเจ็บได้ ดังนั้นควรให้ผู้บาดเจ็บนอนราบลงกับพื้น โดยไม่เคลื่อนไหวร่างกายแต่อย่างใด และเรียกเจ้าหน้าที่กู้ภัย หรือรถพยาบาลมารับผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาต่อไป
ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด หากเกิดการบาดเจ็บจนกระดูกสันหลังหัก เนื่องจากมีมวลกระดูกน้อยลง จากความเสื่อมตามวัยของธรรมชาติ และภาวะกระดูกพรุน ดังนั้นควรป้องกันอุบัติเหตุ เช่น การหกล้ม หรือหากเกิดการบาดเจ็บขึ้นมาแล้ว ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์รักษาทันที