ในร่างกายของเรามีหลอดเลือดที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ หลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำ โดยหลอดเลือดแดง (Artery) จะมีหน้าที่ลำเลียงเลือดที่มีออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ส่วนหลอดเลือดดำจะทำหน้าที่นำเลือดเสียจากอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายไปฟอกที่ปอด หากเกิดความผิดปกติที่หลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงตามอวัยวะสำคัญย่อมส่งผลเสียต่อร่างกาย และบางรายอาจถึงขั้นพิการ หรือเสียชีวิตได้ โดยโรคเส้นเลือดที่เป็นอันตรายไม่แพ้โรคเส้นเลือดสมองตีบตัน นั่นคือ “โรคเส้นเลือดสมองโป่งพอง”
เลือกอ่านตามหัวข้อคลิก
โรคเส้นเลือดโป่งพองในสมองคืออะไร
โรคเส้นเลือดสมองโป่งพอง (Cerebral Aneurysm) เกิดจากการเสื่อมสภาพของผนังเส้นเลือดเฉพาะจุด ทำให้ผนังเส้นเลือดบริเวณนั้นมีลักษณะบางลงกว่าบริเวณอื่น เมื่อมีความดัน หรือมีกระแสเลือดไหลผ่านไประยะหนึ่งจะทำให้บริเวณผนังหลอดเลือดที่บางนั้นโป่งพองขึ้นคล้ายบอลลูน และอาจแตกออกได้ในเวลาต่อมา ซึ่งจะก่อให้เกิดการเลือดออกในชั้นใต้เยื่อหุ้มสมอง นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ เช่น โรคถุงน้ำที่ไต ภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่ตีบ และอุบัติทางสมองที่มีการบาดเจ็บของเส้นเลือดสมอง เป็นต้น โรคนี้อาจเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดโดยไม่มีอาการเตือนจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เส้นเลือดที่โป่งพองนั้นแตก และเสียชีวิตได้อย่างกะทันหัน
ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองโป่งพอง มักจะเกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง และเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หากไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่ทันเวลาอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะเส้นเลือดที่โป่งพองอาจเกิดการขยายและกดทับเส้นประสาท หากปล่อยให้หลอดเลือดโป่งพองและแตกออกจะทำให้เกิดเลือดคั่งในสมอง โดยก้อนเลือดนั้นอาจไปกดเบียดเนื้อสมองทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตได้อีกด้วย นอกจากนี้เรายังสามารถสังเกตอาการอื่น ๆ ได้ ดังนี้
วิธีการรักษาโรคนี้มีหลายประการ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาถึงตำแหน่ง ขนาด และรูปร่างของเส้นเลือดที่โป่งพอง รวมถึงอายุ และสุขภาพของผู้ป่วยด้วย โดยเส้นเลือดสมองโป่งพองในสมองจะมีวิธีการรักษา ดังนี้
โรคนี้จะรู้ตัวได้ก็ต่อเมื่อมีอาการปวดศีรษะ หรือเกิดอาการที่แสดงออกมากแล้วเท่านั้น การตรวจสุขภาพจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ตรวจพบโรคเส้นเลือดสมองโป่งพองได้ ซึ่งกลุ่มที่ตรวจพบว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองโดยบังเอิญ มักเป็นกลุ่มที่ไม่มีการแสดงอาการใด ๆ แต่ตรวจพบโรคได้จากการตรวจสมอง เช่น การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองความเร็วสูง (CT Scan) เป็นต้น
แม้โรคเส้นเลือดโป่งพองในสมองจะเป็นภัยเงียบที่ไม่อาจทราบได้ล่วงหน้า แต่หากมีอาการปวดหัวที่ผิดปกติควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และทำการรักษาก่อนที่อาการจะรุนแรง และยากต่อการรักษา
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI