ถุงน้ำดีอักเสบ หากปล่อยไว้อาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรัง
ถุงน้ำดีอักเสบ หากปล่อยไว้อาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรัง

ถุงน้ำดีอักเสบ (Choleycystitis) คือ การอุดตันของน้ำดีที่จะไหลผ่านจากอวัยวะช่วยย่อยอาหารบริเวณด้านขวาของตับนี้ เข้าสู่ลำไส้เล็ก จนบวม อักเสบ ถ้าหากปล่อยไว้ ไม่ปรับปรุงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร อาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันเป็นอย่างแน่นอน ในทางตรงกันข้ามเลือกที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็สามารถกลับมาปกติ หายขาดจากโรคนี้

 

 

สาเหตุถุงน้ำดีอักเสบ

 

  • นิ่วในถุงน้ำดี

 

  • เนื้องอกที่ตับ หรือตับอ่อน

 

  • ติดเชื้อในกระแสโลหิต

 

  • การไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงในถุงน้ำดีมีความผิดปกติ

 

  • ประสบอุบัติเหตุ

 

  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ รวมทั้งการผ่าตัด ส่งผลให้ถุงน้ำดีบวม เช่น เบาหวาน หรือติดเชื้อเอชไอวี

 

 

อ้วน

 

 

อาการถุงน้ำดีอักเสบ

 

  • ปวดท้องใต้กระดูกซี่โครงขวา หรือร้าวไปที่หลัง รวมทั้งบริเวณใต้สะบักขวา โดยเฉพาะเวลาหลังรับประทานอาหารที่มีไขมันเป็นจำนวนมาก และรุนแรงขึ้นเมื่อหายใจเข้าลึก ๆ

 

  • อุจจาระเป็นสีเทา

 

  • ไข้สูง

 

  • คลื่นไส้ อาเจียน

 

  • เบื่ออาหาร

 

  • ผิวกาย และตาขาวมีสีเหลือง

 

 

ปวดท้องขวา

 

 

การวินิจฉัยถุงน้ำดีอักเสบ

 

ขั้นแรกแพทย์จะสอบถามอาการ และซักประวัติผู้ป่วย มีการกดเจ็บบริเวณท้องส่วนบนด้านขวา จากนั้นจะทำการตรวจเพิ่มเติม ได้แก่

 

เจาะเลือด

 

  • เพื่อตรวจการทำงานของตับอ่อน หาสัญญาณความผิดปกติในถุงน้ำดี

 

อัลตราซาวด์ช่องท้อง

 

  • เพื่อดูว่ามีก้อนนิ่วในถุงน้ำดีหรือไม่

 

ตรวจสแกนตับและถุงน้ำดี HIDA Scan (Hepatobiliary Iminodiacetic Acid Scan)

 

  • จะเห็นภาพการผลิตและไหลเวียนของน้ำดีจากตับไปยังลำไส้เล็ก โดยฉีดสารทึบรังสีเข้าไปภายในร่างกายผู้ป่วย

 

การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์

 

  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

 

  • ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

 

 

ผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง

 

 

การรักษาถุงน้ำดีอักเสบ

 

  • งดน้ำ อาหาร เพื่อลดการบีบตัวของหูรูดที่ถุงน้ำดี

 

  • ให้น้ำเกลือ และยาแก้ปวดโดยการเจาะหลอดเลือดดำ หากมีการติดเชื้อแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ

 

การผ่าตัด

 

ใส่ท่อผ่านหน้าท้องเข้าไปที่ถุงน้ำดี เพื่อระบายน้ำดีที่อุดตันออกมา ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรงต่ำจะเข้ารับการผ่าตัดใน 48 ชั่วโมง แบ่งเป็น 2 ประเภท

 

ผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Laparoscopic Cholecystectomy)

 

  • ศัลยแพทย์จะใช้เครื่องมือเจาะบริเวณหน้าท้อง ใส่กล้องเข้าไปเลาะถุงน้ำดีให้หลุดออกจากตับ และตัดขั้วแล้วนำใส่ถุงปลอดเชื้อออกมาทางสะดือ ผู้ป่วยจะมีแผลขนาดเล็ก เจ็บปวดเล็กน้อย  ฟื้นตัวเร็ว หลังหัตถการ 4-6 ชั่วโมง สามารถลุกเดินในระยะสั้น ๆ ได้

 

ผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง (Open Cholecystectomy)

 

  • มักจะรักษาแก่ผู้ป่วยที่มีการอักเสบรุนแรงของถุงน้ำดี ถึงขั้นแตกทะลุ

 

 

สลัดอโวคาโด

 

 

ถุงน้ำดีอักเสบ ควรรับประทานอาหารอะไร

 

  • แตงกวา

 

  • ถั่วเขียว

 

  • กระเจี๊ยบ

 

  • น้ำผักคั้นสด

 

  • กระเทียมสด

 

  • มะนาว

 

  • ขมิ้นชัน

 

  • อาโวคาโด

 

  • แอปเปิล

 

  • ฝรั่ง

 

  • ลูกพรุน

 

  • มะเขือเทศสุก

 

  • มะละกอ

 

  • ปลา

 

  • น้ำมันโอเมกา 3

 

  • ดื่มน้ำเปล่าในปริมาณมาก

 

 

อาหารที่ไม่ควรกิน

 

 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบ

 

  • ไข่

 

  • หมู

 

  • เป็ด

 

  • ไก่

 

  • นมสด และผลิตภัณฑ์จากนม

 

  • โยเกิร์ต

 

  • ชีส

 

  • หัวหอม

 

  • แป้งสาลี

 

  • ข้าวบาร์เลย์

 

  • ข้าวโพด

 

  • เมนูรสจัด หรือกรรมวิธีโดยการทอด

 

  • ชา

 

  • กาแฟ

 

  • ช็อกโกแลต

 

  • เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

 

  • น้ำอัดลม

 

 

ก่อนการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษนัดแรกของเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ระหว่างทอตนัมฮอตสเปอร์ และแมนเชสเตอร์ ซิตี้ อันโตนีโอ กอนเต ผู้จัดการทีมไก่เดือยทอง ต้องเข้ารับการผ่าตัดถุงน้ำดี เพราะมีการอักเสบ ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ในสนามได้ แต่หลังจากเขาทำหัตถการแล้ว เขากลับวางแผนตัวผู้เล่น วิธีการรับมือฝ่ายตรงข้ามในช่วงพักฟื้น จนมีชัยชนะเหนือเรือใบสีฟ้า 1-0 ประตู จากศูนย์หน้าดาวยิงสูงสุด 200 ลูก อย่าง แฮร์รี่ เคน กลายเป็นสถิติของสโมสรในที่สุด เห็นได้ว่าการรักษาปัจจุบันมีความรวดเร็ว กลับมาใช้ชีวิตประจำวันเป็นปกติได้

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ศัลยกรรมและการผ่าตัด

 

 

ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหารและตับ

 

 

ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง

 

 

การผ่าตัด กับการรักษานิ่วในถุงน้ำดี

 

 

โรคมะเร็งถุงน้ำดี สังเกตได้จากอาการเจ็บท้องด้านขวา