ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง หากปล่อยไว้ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ
ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง หากปล่อยไว้ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ

ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome) : CFS หรือกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง คือกลุ่มอาการ หรือภาวะความผิดปกติในระบบร่างกาย ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน รวมทั้งทางด้านจิตใจ เป็นอาการที่บ่งบอกว่าร่างกายควรพักผ่อน ในบุคคลปกติทั่วไปหากได้รับการนอนหลับพักผ่อนในระยะเวลาที่พอดีก็สามารถตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่น แต่ผู้ป่วยที่ประสบอยู่ในภาวะนี้ แม้ว่าจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่แล้ว ก็ยังคงมีอาการอ่อนล้า ไม่สดชื่น เหมือนคนทั่วไป และไม่ควรปล่อยปละละเลยไว้ เพราะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอน

 

 

 สาเหตุภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังเกิดจากอะไร

 

สาเหตุที่แน่ชัดยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ หรือวิทยาศาสตร์รองรับ แต่มีข้อสันนิษฐานว่าเกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

 

การติดเชื้อไวรัส 

 

  • ไวรัสเอ็ปสไตบาร์ (Epstein-Barr Virus)

 

  • ไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาวในหนู (Mouse Leukemia Viruses)

 

  • ไวรัสในตระกูลเดียวกับเริมชนิดที่ 6 (Human Herpesvirus 6 : HHV-6)

 

การติดเชื้อแบคทีเรีย

 

  • แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคปอดบวม

 

  • ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ผิดปกติ

 

การขาดความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย 

 

ฮอร์โมนที่ผลิตจากไฮโปทาลามัส

 

  • ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง

 

  • ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต

 

สุขภาพจิตที่ผิดปกติ 

 

  • ภาวะเครียด

 

  • โรคซึมเศร้า

 

 

อาการภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง

 

  • ปวดศีรษะ

 

  • วิงเวียนศีรษะ

 

  • เหนื่อยล้า

 

  • ไม่ค่อยมีสมาธิ

 

  • ความจำไม่ค่อยดี

 

  • มีต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ หรือที่คอใหญ่ขึ้น

 

  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และข้อกระดูก

 

  • มีปัญหาในการนอนหลับ

 

 

การวินิจฉัยภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง

 

ขั้นแรกแพทย์จะสอบถามอาการ และซักประวัติผู้ป่วย หลังจากนั้นจะทำการตรวจสุขภาพเพื่อจำแนกโรค ได้แก่

 

  • การตรวจโลหิต

 

  • ตรวจปัสสาวะ

 

  • ตรวจการนอนหลับ

 

  • การทดสอบสุขภาพจิต

 

 

การรักษาภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 

 

  • เข้านอนให้ตรงเวลา

 

  • ผ่อนคลายความเครียด

 

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

 

  • ออกกำลังกาย

 

การใช้ยา

 

  • ยาบรรเทาโรคซึมเศร้า

 

  • ยาบรรเทาอาการปวด หรือวิงเวียนศีรษะ

 

  • ยานอนหลับ

 

การบำบัดทางด้านจิตใจ

 

การบำบัดแบบแพทย์ทางเลือก

 

  • การฝังเข็ม

 

  • การนวดแผนโบราณ

 

  • การเล่นโยคะ หรือรำไทเก๊ก

 

 

ไม่สดชื่น

 

 

การป้องกันภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง

 

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการอดนอน

 

  • หลีกเลี่ยงความเครียด

 

  • ควรออกกำลังกาย เพราะจะทำให้นอนหลับง่ายขึ้น

 

  • รับประทานอาหารไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง

 

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม

 

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

 

  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมเป็นพิษ เช่น พักอาศัยอยู่ในเขตชุมชนที่มีเสียงดัง

 

 

ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังสามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย แต่มักจะพบผู้ป่วยในวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 40-50 ปี เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเพศหญิง ดังนั้นผู้ที่กำลังตั้งครรภ์แล้วมีอาการภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังควรพบแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา เพราะว่าอาจเกิดผลกระทบต่อบุตรในครรภ์ได้