ภาวะขาดอากาศหายใจ บทเรียนจากอุบัติภัยหมู่อิแทวอน
ภาวะขาดอากาศหายใจ บทเรียนจากอุบัติภัยหมู่อิแทวอน

ภาวะขาดอากาศหายใจ ที่มีสาเหตุมาจากการเบียดเสียดกันของผู้คนจำนวนมากในพื้นที่จำกัด จนหน้าอกถูกกดทับ ทำให้ระบบหายใจผิดปกติ ทางการแพทย์จึงเรียกว่า Compression Asphyxia มนุษย์เราเมื่อสูดอากาศเข้าร่างกาย ทรวงอกจะขยายขึ้น แต่ถ้าอยู่ท่ามกลางคลื่นฝูงชนที่แออัด ถึงขนาดที่กระดูกซี่โครงบริเวณอกยกตัวสูงไม่ได้เมื่อหายใจ สามารถเสียชีวิตล้มทับกันเป็นกอง ดังนั้นเราควรศึกษาบทเรียนจากอุบัติภัยหมู่อิแทวอน เพื่อไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมแบบนี้อีก

 

 

อาการภาวะขาดอากาศหายใจ

 

  • ไม่สบายตัว

 

  • เหงื่อออก

 

  • รู้สึกถึงความร้อนที่ผิดปกติ

 

  • หายใจไม่สะดวก

 

  • เป็นลม

 

  • หมดสติ

 

  • หัวใจหยุดทำงาน

 

 

ภาวะขาดอากาศหายใจ เป็นเวลานานกี่นาทีถึงจะเสียชีวิต

 

ผู้ประสบภาวะขาดอากาศหายใจเป็นระยะเวลานาน 3-5 นาที การทำงานของหัวใจจะหยุดลง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สมองขาดออกซิเจน โดยที่เซลล์สมองจะตายลง สมองทั้งหมดไม่สามารถทำงานได้ ภายใน 4-5 นาที  จนเกิดอาการโคม่าและเสียชีวิตในที่สุด

 

 

การรักษาภาวะขาดอากาศหายใจ

 

ด้วยความที่เป็นเหตุอุบัติภัยหมู่ จึงต้องทำการแยกผู้ป่วยออกจากกันตามอาการ ในพื้นที่ปลอดภัย

 

  • ผู้ที่ยังมีสติสามารถเดิน หรือพูดโต้ตอบได้ ควรพามานั่งพักในสถานที่โล่งแจ้ง อากาศปลอดโปร่ง

 

สำหรับผู้ที่หมดสติ จับชีพจรที่ข้อมือแล้วอ่อนมาก หรือหยุดหายใจ ควรทำการปั๊มหัวใจ และเรียกเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินนำตัวผู้ป่วยไปพบแพทย์ด่วนที่สุด แต่ถ้าหากประเมินสถานการณ์แล้วพบว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะฉุกเฉิน จำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ สามารถทำ CPR ด้วยวิธีการดังนี้

 

  • จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย

 

  • ผู้ทำการกู้ชีพ นั่งคุกเข่าข้างผู้ป่วย

 

  • วางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก ระดับเดียวกับตรงบริเวณหัวนม

 

  • วางมืออีกข้างทับประสานกัน

 

  • เริ่มทำการกดหน้าอกความลึกประมาณ 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที

 

  • อาจจะสลับทำการผายปอด หรือเป่าปากช่วยผู้ป่วยหายใจ 2 ครั้ง ต่อการกดหน้าอก 30 ที

 

  • ทำต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีเจ้าหน้าที่มาถึง

 

 

concert

 

 

การป้องกันภาวะขาดอากาศหายใจ

 

ทำการประเมินสถานการณ์เมื่อไปสถานที่ ที่มีผู้คนจำนวนมาก

 

  • สังเกตทางเข้า-ออกที่มีเชื่อมต่อไปยังเส้นทางอื่น

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก จนไม่มีสติ

 

  • หากรู้สึกว่าคนเยอะเกินไปจนหายใจไม่สะดวก ควรรีบออกจากตรงจุดนั้น และไปยังที่โล่งแจ้ง

 

หากต้องติดอยู่ท่ามกลางผู้คน

 

  • พยายามอย่าให้ตนเองล้มเป็นอันขาด เดินไปตามกระแสของฝูง

 

  • ยกมือตั้งการ์ดคล้ายชกมวย สามารถเพิ่มพื้นที่ในการหายใจ และป้องกันหน้าอกถูกกดทับ

 

  • หลีกเลี่ยงการหยุดเดิน หรือสวนกระแสฝูงชน รวมทั้งนำตนเองไปติดอยู่มุมอับ เช่น รั้ว หรือกำแพง

 

 

ภาวะขาดอากาศหายใจจากการกดทับโดยผู้คนจำนวนมาก ในหน้าสื่อต่างๆ มักจะเรียกว่าเป็นเหตุการณ์ เหยียบกันตาย Stampede และโศกนาฏกรรมย่านอิแทวอน กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ก็ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก หากย้อนไปปี 1985 ที่สนามกีฬาเฮย์เซล ปี 1989 ที่สนามกีฬาฮิลส์โบโร ปี 1998 ที่นครมักกะฮ์ ทั่วทุกมุมโลกต่างประสบกับอุบัติภัยหมู่มาหลายครั้ง เป็นเรื่องที่น่าศึกษาสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดเทศกาลต่างๆ ว่าควรมีบทเรียน มาตรการ การจัดการ แต่ทำไมเรื่องสลดแบบนี้ยังเกิดขึ้นอีก