ซึมเศร้าหลังโควิด ผลกระทบทางจิตใจที่แก้ไขได้
ซึมเศร้าหลังโควิด ผลกระทบทางจิตใจที่แก้ไขได้

ซึมเศร้าหลังโควิด คืออาการความผิดปกติทางด้านอารมณ์ จิตใจ ซึ่งเกิดขึ้นมาจากภาวะลองโควิด (Long Covid) สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินวิถีชีวิตประจำวัน ควรได้รับการเยียวยาแก้ไขโดยจิตแพทย์ อีกทั้งยังต้องสังเกตตนเองและบุคคลรอบข้าง ว่ามีปัญหาเครียด หดหู่หรือไม่ เพราะความรุนแรงของโรคนี้สามารถทำให้ผู้ป่วยคิดสั้นได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นโดยเฉพาะกับบุคคลที่รัก

 

 

สาเหตุของซึมเศร้าหลังโควิด

 

วิตกกังวลกับอาการ และสถานการณ์ในระหว่างการรักษา

 

  • ผู้ป่วยช่วงกักตัวอาจจะมีความคิดเป็นห่วงบุคคลในครอบครัว ว่าจะอยู่อย่างไร หรือติดเชื้อไหม

 

สูญเสียความมั่นใจหลังหายแล้ว

 

  • ภาวะลองโควิดส่งผลกระทบทางร่างกาย ทำให้ทำอะไรแล้วก็ไม่กระฉับกระเฉง คล่องแคล่วเหมือนเดิม จนคิดว่าตนเองไร้ความสามารถ

 

ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง

 

  • เนื่องจากสถานการณ์ทำให้ไม่สามารถพบปะ เจอเพื่อน หรือครอบครัวได้ ดังนั้นการพูดคุยระบายความเครียดจึงสะสมอยู่ที่ตนเอง

 

นอกจากนี้ยังเกิดจากภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบประสาท หรือภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นจากไวรัส เช่น ภาวะสมองล้า เป็นต้น

 

 

Depression in Long Covid

 

 

อาการซึมเศร้าหลังโควิด

 

  • อารมณ์แปรปรวน

 

  • กลัว

 

  • เครียด

 

  • กังวล

 

  • ท้อแท้

 

  • เบื่อ ไม่อยากทำอะไร

 

  • หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย

 

  • มีปัญหาขณะนอนหลับ และรับประทานอาหาร

 

  • ไม่ค่อยมีสมาธิ รวมทั้งการตัดสินใจ

 

  • มีความคิดว่าชีวิตของตนเองไร้ค่า

 

  • ทำร้ายตนเอง

 

  • อยากทำอัตวินิบาตกรรม

 

 

การวินิจฉัยซึมเศร้าหลังโควิด

 

หลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19 12 สัปดาห์แล้ว จิตแพทย์จะซักประวัติ ตรวจสภาพจิตใจ ประเมินสภาวะซึมเศร้า ซึ่งหากมีอาการต่างๆ ในหัวข้อข้างต้นจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องงาน ครอบครัว และสังคม จะต้องได้รับเข้าการรักษาอย่างถูกต้อง เหมาะสม อีกทั้งยังมีรายการตรวจเพิ่มเติม เช่น

 

  • ตรวจหาสารเสพติดในร่างกาย

 

  • ตรวจทางห้องปฏิบัติการ

 

 

การรักษาซึมเศร้าหลังโควิด

 

รักษาด้วยยา

 

  • Fluoxetine ขนาด 20-60 mg รับประทานพร้อม หรือหลังอาหารเช้า อาจมีการข้างเคียง เช่น นอนไม่หลับ คลื่นไส้ ปวดศีรษะ

 

  • Sertraline ขนาด 50-150 mg ลักษณะวิธีการใช้เหมือนกับยาชนิดแรกในข้างต้น แต่อาการข้างเคียงอาจทำให้ท้องเสีย และปากแห้ง

 

การปฏิบัติตน

 

  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

 

  • ออกกำลังกาย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30-45 นาที

 

  • หากรู้สึกไม่ดีที่มีผลทางจิตใจ ควรปรึกษาแพทย์ นักจิตวิทยา หรือบุคคลที่ไว้วางใจ

 

 

Drug Depression in Long Covid

 

 

การป้องกันซึมเศร้าหลังโควิด

 

  • รับชมข่าวสารเท่าที่จำเป็น

 

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของสาธารณสุข

 

  • ทำกิจกรรมที่เสริมสร้างสมาธิ และคลายความเครียด เช่น ทำอาหาร เล่นดนตรี และอ่านหนังสือ เป็นต้น

 

  • ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อพูดคุยกับบุคคลในครอบครัว เพื่อนสนิท หากต้องกักตัว หรือห่างไกลกัน

 

 

การเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมายในการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดอย่างหนัก ทั้งนโยบายของภาครัฐ การเป็นอยู่ของผู้คนในสังคม ที่จะต้องทำงานที่บ้าน Work form Home สวมหน้ากากอนามัยบนพื้นที่สาธารณะ ทำให้เกิดการปรับตัวอย่างรวดเร็ว บางท่านระมัดระวังตัวมากเกินไปจนระแวงคนรอบข้าง วิตกจริตทันทีเมื่อมีอาการเป็นหวัด คัดจมูก หรือเจ็บคอ รวมทั้งเครียดกับแผนในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น บางรายต้องออกจากงาน กิจการไม่ได้รับผลตอบแทนเหมือนเมื่อก่อน สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแก่เพียงร่างกายเท่านั้น ยังสามารถส่งผลทางจิตใจด้วย

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ตรวจสุขภาพหลังติดโควิด LONG COVID