ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมสำหรับผู้ที่ศัลยกรรมเสริมหน้าอก
ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมสำหรับผู้ที่ศัลยกรรมเสริมหน้าอก

มะเร็งเต้านม เป็นโรคที่มักจะคุกคามทำร้ายสุภาพสตรีเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุ 35 ปีขึ้นไปต้องเริ่มหันมาเฝ้าระมัดระวังความผิดปกติ หรือเข้ามาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาความเสี่ยงด้วยเครื่องดิจิตอล แมมโมแกรม ซึ่งในอีกกลุ่มบุคคลหนึ่งที่ได้รับการเสริมหน้าอก ก็มีความเป็นกังวลว่าทำการตรวจไปแล้วจะเป็นอันตราย รวมทั้งผู้ที่อยากจะศัลยกรรมชนิดนี้ ควรทำหรือไม่ จะต้องทำก่อนหรือหลังในการตรวจ บทความนี้จะมาแนะนำเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันโรคพร้อมกับความสวยความงามไปด้วยกัน

 

 

ตรวจแมมโมแกรมก่อนเสริมหน้าอก

 

ไม่ใช่ว่าทุกท่านที่อยากศัลยกรรมเพิ่มขนาดหน้าอกแล้วจะทำได้หมด เพราะแพทย์ต้องซักประวัติและตรวจความผิดปกติอย่างละเอียดก่อนทำหัตถการ เพื่อประเมินความเสี่ยงว่าทำไปแล้ว จะก่อให้เกิดอันตรายอย่างไร ซึ่งจะมีเกณฑ์ในการวินิจฉัย อย่างเช่น

 

  • อายุ

 

  • เคยรักษาหรือกำลังเป็นโรคมะเร็งเต้านม

 

  • ตั้งครรภ์

 

  • ให้นมบุตร

 

  • ป่วยโรคภูมิแพ้ตัวเอง

 

  • เข้าข่ายของภาวะซึมเศร้า

 

  • ได้รับการผ่าตัดหรือเคยติดเชื้อในกระแสโลหิต

 

 

เครื่องแมมโมแกรม

 

 

ศัลยกรรมเสริมหน้าอกทำให้เสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมหรือไม่

 

ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น การเกิดของผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้ระหว่างผู้ที่ศัลยกรรมกับผู้ที่ไม่ได้ทำ มีจำนวนอัตราใกล้เคียงไม่ต่างกันเลย อย่างในหัวข้อข้างต้นที่กล่าวถึงก่อนการหัตถการ จะมีการตรวจวินิจฉัยประเมินความเสี่ยงอย่างละเอียด ซึ่งต้องใช้เครื่องแมมโมแกรมหรือเทคโนโลยีทางการแพทย์เป็นตัวช่วย หากมีความผิดปกติควรเข้ารับการรักษาให้หายก่อน ถึงเสริมหน้าอกได้

 

ทั้งนี้ในผู้ที่มีลักษณะของเต้านมไม่เท่ากัน เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ อาทิ กระดูกไม่เท่ากันหรือในส่วนของสันหลังคดงอ อย่างไรก็ตาม ได้มีการเฝ้าระวังผู้ที่เสริมหน้าอกว่ามีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือไม่ เพื่อเป็นการศึกษาทำรายงานพัฒนาต่อไปในอนาคต

 

 

ซิลิโคน

 

 

ผู้ที่เสริมหน้าอกตรวจแมมโมแกรมได้ไหม

 

เป็นเรื่องที่ควรอย่างยิ่ง จากหัวข้อที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าไม่ได้มีเรื่องมะเร็งเต้านมเพียงอย่างเดียวที่ต้องกังวล หลังศัลยกรรมนี้ มีความเสี่ยงผิดปกติมากมาย ทั้งบาดแผลติดเชื้อ ซิลิโคนฉีกขาด เป็นต้น

 

สำหรับการตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งเต้านมนั้น ไม่ได้มีความยากลำบากกว่าผู้ไม่ศัลยกรรม เพียงแต่บอกแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ก่อน รวมทั้งไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย แป้ง น้ำหอม บริเวณรอบอกถึงรักแร้ โดยแมมโมแกรมจะใช้รังสีเอกซ์ กดเนื้อบริเวณหน้าอกให้แนบแน่นติดกับเครื่อง ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด เพราะถุงซิลิโคนที่เป็นวัสดุในการเสริมหน้าอก มีความแข็งแรง ยืดหยุ่น

 

 

มะเร็งเต้านม

 

 

เสริมหน้าอกหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม

 

สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่ต้องถูกตัดชิ้นเนื้อบริเวณหน้าอกออก สามารถศัลยกรรมสร้างเต้านมขึ้นมาใหม่ได้ ทำให้ผู้ป่วยมีภาพลักษณ์สวยงาม ความสง่าผ่าเผย เหมือนกับบุคคลปกติทั่วไป สร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิต แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ในการรักษา ไม่ใช้ทุกรายที่จะทำได้ ยังต้องวินิจฉัยวิธีการเสริมสร้างเข้าไปใหม่ให้เหมาะสมกับแต่ละกรณีอีก หลังทำหัตถการแล้วคุณสมบัติของหน้าอกจะไม่เหมือนเดิม ทั้งความรู้สึกเมื่อถูกสัมผัสและไม่สามารถสร้างน้ำนมได้

 

 

ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ชาย เพศไหน ๆ จะศัลยกรรมเสริมหน้าอกออกมาใหญ่ สวย เพียงใด หรือไม่ทำ ล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมทั้งนั้น ซึ่งหากมีความผิดปกติ เช่น อักเสบ บวม แดง สามารถมาตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จากเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม ได้ที่โรงพยาบาลเพชรเวช แต่ขณะนี้ยังไม่มีบริการเสริมขนาดหน้าอกสำหรับบุคคลทั่วไปและผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

เครื่อง Digital Mammogram ตรวจมะเร็งเต้านม

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (Digital Mammogram with Ultrasound)

 

 

มะเร็งเต้านม ภัยเงียบที่อาจทำให้สูญเสียเต้านม

 

 

จริงหรือไม่ ผู้ชายก็สามารถเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้