วิทยาทางการแพทย์ในปัจจุบันได้พัฒนาไปไกลมาก สามารถช่วยให้ผู้คนหายจากความเจ็บป่วย แต่ก็มีหลายกรณีนี้ที่ยังหาสาเหตุของการเกิดโรคไม่ได้ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา แต่เป็นมะเร็งปอด หรือผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย วิ่งจ๊อกกิ้ง อยู่เป็นประจำกลับประสบกับภาวะหัวใจล้มเหลว ทำให้นักวิทยาศาสตร์ และแพทย์มีการค้นคว้าทำการวิจัยกันมากขึ้น และพบว่าไม่ใช่แค่บุหรี่เท่านั้นที่ทำให้เกิดมะเร็ง
มะเร็งปอดไม่ได้ถ่ายทอดพันธุกรรมผ่านทางสายเลือดโดยตรง แต่ถ้าบุคคลในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น บิดา มารดา พี่ น้อง หากคนใดคนหนึ่งเป็นมะเร็งปอด คนรอบข้างจะมีความเสี่ยงเป็นด้วย 2-3 เท่า โดยเฉพาะมะเร็งชนิด Adenocarcinoma ที่มักเกิดขึ้นกับสตรีในทวีปเอเชีย อายุ 40 ปีขึ้นไป
เป็นมลพิษอีกหนึ่งชนิดที่มีขนาดเล็ก แต่ก่อให้เกิดกระทบแก่ร่างกายเป็นอย่างมาก ฝุ่นชนิดนี้ในบางพื้นที่มีสารก่อมะเร็ง ผู้ที่ได้รับเข้าไปเป็นประจำจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด 1-1.4 เท่าของคนปกติ ผู้เชี่ยวชาญบางรายกล่าวว่าความรุนแรงของมันสามารถเทียบเท่าบุหรี่
โรงงานอุตสาหกรรมมักจะปล่อยสารพิษต่างๆ สู่อากาศ และแหล่งน้ำ ทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษได้ เช่น
แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในเขตชุมชนอุตสาหกรรม หรือผู้ที่อาศัยในแถบชนบทก็เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดได้ เช่น
ผู้ที่สูดดม ควันบุหรี่อยู่เป็นประจำ อาจมีความเสี่ยงมะเร็งปอดมากกว่าผู้สูบบุหรี่ เช่น
นอกจากนี้การสูบกัญชา ยาเส้น ไปป์ ฝิ่น หรือสารเสพติดอื่นๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้แล้วเอาควันเข้าสู่ร่างกาย ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดมะเร็งปอดทั้งสิ้น ทั้งนี้อาการของโรคมักจะแสดงหลังจากระยะที่มีการลุกลามแล้ว แต่ถ้าหากตรวจสุขภาพเป็นประจำ เอกซเรย์ปอดอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง ถือเป็นทางเลือกในการป้องกันโรคเพราะถ้าหากตรวจพบเร็ว ทำการรักษาทัน จะสร้างความปลอดภัยแก่ร่างกายได้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง