ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome
ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome)

ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) คือ โรคที่มีความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง ตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ล่าช้า รวมทั้งด้านร่างกายที่มีลักษณะใบหน้าเฉพาะที่แตกต่างบุคคลปกติทั่วไป  ทำให้สามารถมองผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมจากลักษณะภายนอกออกได้ อีกทั้งผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรมมักจะมีอายุสั้นกว่าคนปกติทั่วไป  

 

 

สาเหตุของดาวน์ซินโดรม

 

ดาวน์ซินโดรมเป็นความผิดปกติของโครโมโซมในสเปิร์มหรือในไข่ก่อนมีการปฏิสนธิ โดยโครโมโซมจะเป็นตัวควบคุมลักษณะเฉพาะบุคคล เช่น เพศ สีของดวงตา จะได้รับจากพ่อ 23 โครโมโซม และแม่อีก 23 โดยโครโมโซม แต่ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมจะมีโครโมโซมแท่งที่ 21 เกินมา 1 แท่ง รวมเป็น 47 โครโมโซม ดังนั้นโรค ดาวน์ซินโดรมจึงไม่ใช่โรคติดต่อทางพันธุกรรม

 

นอกจากนี้การตั้งครรภ์ในผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป หรือเคยคลอดบุตรเป็นดาวน์ซินโดรม และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นดาวน์ซินโดรม มีความเสี่ยงที่จะคลอดบุตรออกมาผิดปกติเป็นโรคดาวน์ซินโดรม

 

 

ลักษณะของผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม

      

  • 1. โครงหน้าเรียบแบน ศีรษะเล็ก  จมูกแบน ตาเฉียงขึ้น ลิ้นใหญ่คับปาก มีจุดสีขาวในดวงตาสีดำ

      

  • 2. คอสั้น แขนสั้น ขาสั้น นิ้วสั้น เท้าสั้น

      

  • 3. ตัวเล็กกว่าบุคคลปกติในวัยเดียวกัน

      

  • 4. กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก

      

  • 5. มีพัฒนาการด้านสติปัญญาช้า พูดช้า หรือพูดไม่ชัด

      

  • 6. ส่วนใหญ่ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมจะมีพฤติกรรมสุภาพ เรียบร้อย ยิ้มง่าย ไม่ค่อยมีอารมณ์โกรธ

 

 

การตรวจวินิจฉัยดาวน์ซินโดรม

 

  • การตรวจเลือด หาความผิดปกติของโปรตีนเอ (PAPP-A) และตรวจหาฮอร์โมนในผู้ตั้งครรภ์ เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน (HCG) สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์

 

  • การตรวจอัลตราซาวด์  สามารถพบทารกที่มีความผิดปกติ จากการตรวจหาของเหลวบริเวณลำคอของทารกในครรภ์มีปริมาณมาก  สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์

      

  • การเจาะน้ำคร่ำเพื่อหาโครโมโซม  มักจะตรวจในผู้ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้ตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไป สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์

 

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคดาวน์ซินโดรม

      

  • 1. โรคทางสายตา มีปัญหาการมองเห็น เช่น สายตาสั้น สายตายาว และเยื่อบุตาอักเสบ เป็นต้น

      

  • 2. มีปัญหาทางการได้ยิน จากโรคหูอักเสบ หากไม่ดูแลจะมีหนองไหลออกจากหู

      

  • 3. ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

      

  • 4. โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

      

  • 5. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

      

  • 6. โรคทางเดินระบบอาการ เช่น โรคลำไส้อุดตัน และกรดไหลย้อน

      

  • 7. ในอนาคตมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์

 

 

ดาวน์ซินโดรม

 

 

การดูแลผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม

      

  • 1. ส่งเสริมพัฒนาการศักยภาพทางด้านร่างกาย เช่น ฝึกการทรงตัว ฝึกรับประทานอาหารด้วยตนเอง

      

  • 2. พาผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจสุขภาพเป็นประจำ

      

  • 3. พูดคุย และให้กำลังใจกับผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม เพื่อสร้างพัฒนาการทางด้านสติปัญญา

 

 

ทุกวันที่ 21 มีนาคมของทุกปี เป็นวันดาวน์ซินโดรมโลก เพื่อให้มนุษย์ทุกคนตระหนักถึงโรคดาวน์ซินโดรม และให้มีความเข้าใจในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยโรคนี้แบบมนุษย์พึงกระทำต่อกัน แม้ว่าการรักษา และการป้องกันโรค ดาวน์ซินโดรมจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่ผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรมสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข อีกทั้งยังมีพัฒนาการเหมือนคนปกติได้ถ้าหากได้รับการฝึกฝน และได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง