Dysania โรคเตียงดูด ที่ไม่ได้เกิดจากความขี้เกียจ
Dysania โรคเตียงดูด ที่ไม่ได้เกิดจากความขี้เกียจ

โรคเตียงดูด (Dysania) คือ สภาวะที่ลุกออกจากบนเตียงตอนตื่นนอนได้อย่างยากลำบาก ทั้งที่บางครั้งไม่ได้ง่วงนอนหรือเกิดจากความขี้เกียจเลยด้วยซ้ำ ผู้ป่วยจะมีความทุกข์เป็นอย่างมาก ไม่มีความคิดที่จะทำกิจกรรมอย่างอื่น เมื่อสามารถลุกขึ้นมาได้แล้ว ก็กลับไปยังบนเตียงอีกครั้ง จึงทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันอีกด้วย

 

 

สาเหตุ Dysania โรคเตียงดูด

 

โรคซึมเศร้า

 

  • ความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่ส่งผลกระทบทางอารมณ์ ทำให้พฤติกรรมไม่สดใส ร่าเริง

 

อ่อนเพลียเรื้อรัง

 

  • ความเจ็บป่วยในระบบต่าง ๆ ของร่างกายเป็นระยะเวลานาน เช่น ปัญหาด้านการนอนหลับ ปวดศีรษะและข้อกระดูก

 

ภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น (Sleep Inertia)

 

  • ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น กระทบต่อประสิทธิภาพความคิด การเรียนรู้

 

ง่วงนอนมากผิดปกติ (Hypersomnia)

 

  • หลับนานเท่าไหร่ก็รู้สึกว่ายังพักผ่อนไม่เพียงพอ

 

โรคไฟโบมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)

 

  • ปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ตามร่างกาย จึงมีอาการอ่อนเพลียหลังตื่นนอน

 

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

 

  • เช่น ยาต้านเศร้า ทำให้ง่วงนอน

 

 

ซึมเศร้า

 

 

อาการของ Dysania โรคเตียงดูด

 

  • หลังกลับมาจากทำงานหรือเรียนก็ล้มตัวลงนอนบนเตียงทันที

 

  • คิดว่าการนอนบนเตียงเป็นความสุขที่สุดในชีวิต

 

  • คิดถึงเวลานอนตลอดเวลา

 

  • ทำกิจกรรม เช่น รับประทานอาหาร เสพโซเชียล ทำงาน บนที่นอน

 

  • ถูกบุคคลใกล้ชิดกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมเกียจคร้าน

 

  • หงุดหงิดหากมีใครมายุ่งกับที่นอน

 

  • กดเลื่อนนาฬิกาปลุก เพื่อขยายเวลานอน

 

 

โรคเตียงดูด

 

 

ผลกระทบของ Dysania โรคเตียงดูด

 

  • เมื่อใช้ชีวิตอยู่บนเตียงเฉย ๆ ร่างกายก็ไม่ได้ขยับเคลื่อนไหว จะส่งผลกระทบต่อการเผาผลาญพลังงานส่วนเกิน ระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกลดลง หรือประสบกับภาวะต่อมหมวกไตล้า เพราะเครียด จากการออกกำลังกายหรือทำงานหนักจนเกินไป ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลก็จะลดลง จนร่างกายอ่อนเพลียเรื้อรังได้ ซึ่งก่อปัญหาสุขภาพตามมา เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน โรคหัวใจ และเลือดสมอง

 

  • ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายจะมีอารมณ์แปรปรวน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างรวดเร็ว กลายเป็นโรคทางจิตเวชได้ เช่น ไบโพลาร์ ซึมเศร้า

 

 

เล่นโทรศัพท์บนเตียง

 

 

การรักษา Dysania โรคเตียงดูด

 

ใช้ยา

 

  • ยาที่มีฤทธิ์ต่อเซโรโทนิน เป็นปรับฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการนอนหลับและอารมณ์ความรู้สึกของผู้ป่วย

 

ปรับพฤติกรรม

 

  • ตื่นนอนให้เป็นเวลา

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม

 

  • งดการเล่นโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ก่อนนอน

 

  • ผ่อนคลายโดยการอาบน้ำอุ่น อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ รับประทานอาหารรสหวานอย่างพอดี

 

  • ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา เช่น โยคะ

 

  • ไม่ทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น รับประทานอาหารบนเตียง

 

 

หากว่ามีอาการหรือได้รับผลกระทบอย่างที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้น ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรค โดยเฉพาะหากเกิดมาจากความผิดปกติของจิตใจ จะสามารถรักษาได้อย่างถูกวิธี อีกทั้งควรสังเกตพฤติกรรมของบุคคลรอบข้าง ยิ่งถ้าปล่อยเอาไว้คิดว่าไม่เป็นอะไร อาจเกิดเหตุการณ์เศร้าสลด เช่น ทำร้ายตนเอง หรือการทำอัตวินิบาตกรรม