ปลา วัตถุดิบใต้น้ำที่อุดมคุณประโยชน์
ปลา วัตถุดิบใต้น้ำที่อุดมคุณประโยชน์

ปลา (Fish) คือ สัตว์น้ำที่มีกระดูกสันหลัง หายใจด้วยเหงือก มีครีบใช้ในการเคลื่อนไหว มนุษย์เรานำมาทำเป็นวัตถุดิบอาหารกันนานแล้ว เพราะอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ สามารถรับประทานได้ทุกเพศ วัย รวมทั้งผู้ที่กำลังลดน้ำหนัก โดยสิ่งมีชีวิตนี้มีหลายประเภทอยู่ทั้งในแม่น้ำหรือทะเล หาได้ง่ายตามตลาดทั่วไป ราคาถูกไปจนถึงแพงมาก หากต้องการประหยัดควรเลือกบริโภคตามชนิดที่เกิดขึ้นแต่ละฤดูกาล ซื้อในปริมาณที่พอดี รวมทั้งให้เหมาะสมกับกรรมวิธีอีกด้วย

 

 

คุณค่าทางโภชนาการของปลา

 

โปรตีน

 

  • มีกรดอะมิโนที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของทารกและวัยเด็ก

 

ไขมัน

 

  • ประกอบไปด้วยไขมันดี รวมทั้งกรดไขมันไม่อิ่มตัว ช่วยในการลดคอเลสเตอรอลในโลหิต

 

วิตามินเอ

 

  • สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย สร้างความชุ่มชื้นในดวงตา ลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสายตาผิดปกติ

 

วิตามินบี 1 และ 2

 

มีส่วนช่วยในระบบการทำงานของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น

 

  • ประสาท

 

  • หัวใจ

 

  • ทางเดินอาหาร

 

  • บำรุงสายตา

 

หากขาดสารตัวนี้ไป จะทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น

 

  • แขน ขาชา

 

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง

 

  • ผิวหนังไม่เปล่งปลั่ง

 

  • ปากนกกระจอก

 

  • เยื่อบุตาอักเสบ

 

แคลเซียม ฟอสฟอรัส

 

  • ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง โดยเฉพาะปลาตัวเล็ก ๆ

 

เหล็ก

 

  • บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง

 

ไอโอดีน

 

  • หนึ่งในส่วนประกอบของไทร็อกซิน ที่ควบคุมการเจริญเติบโตและระบบเผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะถ้าเด็กได้รับสารนี้ไม่เพียงพอจะส่งผลถึงพัฒนาการของสมองด้านระดับสติปัญญา

 

 

ปลาแซลมอน

 

 

การเลือกปลาเพื่อนำมาเป็นอาหาร

 

กลิ่น

 

  • ไม่เหม็นหรือแมลงวันตอม มีกลิ่นของน้ำทะเล ดินโคลน

 

ตา

 

  • ใส ไม่ขุ่น ตื้นออกจากเบ้า

 

เหงือก

 

  • สีแดงสด ชมพูปนเทา เปิดอ้าง่าย

 

เนื้อลำตัว

 

  • เกล็ดมีความลื่น เงา

 

  • เมื่อลองกดดูต้องไม่เป็นรอยลึกตามนิ้วลงไป

 

  • บริเวณครีบต้องไร้แผล จุดขาวจ้ำ เพราะอาจเป็นเชื้อรา

 

 

ปลาดอลลี่

 

 

อันตรายจากการรับประทานปลาที่ไม่สุก

 

โดยเฉพาะอาหารท้องถิ่นแบบสุก ๆ ดิบ ๆ โดยนำเนื้อปลามาก้อย ลาบ แปรรูปเป็นปลาร้า  ซึ่งจะมีพยาธิ 2 ชนิด คือ ใบไม้ตับและตัวจี๊ด รวมทั้งตัวอ่อนหรือไข่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้

 

  • คัน บวมแดง ตามร่างกาย

 

  • ท้องอืด เฟ้อ แน่น จุกเสียด

 

  • อาหารไม่ย่อย

 

  • อุจจาระร่วง

 

  • ผิวหนังและตาจะเหลือง คล้ายผู้ป่วยโรคตับ

 

  • ตาบอด

 

  • สมองอักเสบ

 

 

ปลากะพง

 

 

รับประทานปลาอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

 

  • นำเครื่องในออก ถอดเกล็ด แล้วทำความสะอาดก่อนนำไปประกอบอาหาร

 

  • ปรุงสุกอย่างทั่วถึง ความร้อนจะทำลายเชื้อโรคและพยาธิ

 

  • บริโภคในปริมาณที่เหมาะสม

 

  • เลือกรับประทานให้หลากหลายชนิด

 

  • หลีกเลี่ยงปลาที่ทำการแปรรูป หรือกรรมวิธีทอดที่ต้องใช้นำมันเยอะ ๆ

 

  • หากนำไปปิ้ง ย่าง เผา ควรตัดชิ้นส่วนที่ไหม้ออก

 

  • เคี้ยวให้ละเอียดระวังก้างหรือส่วนแข็งติดคอ

 

 

สมัยโบราณสามารถจับปลาได้ตามแม่น้ำลำคลอง แต่ในยุคปัจจุบันที่เป็นอุตสาหกรรม มลพิษทำให้ปลามีจำนวนน้อยลง จึงต้องมาเพาะเลี้ยงเองในบ่อ ให้อาหารที่เสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะปลาดุก นิล ช่อน กะพง ทับทิม ทั้งนี้ผู้ที่เหม็นคาวปลา รับประทานไม่ได้ เปลี่ยนไปรับโปรตีนจากแหล่งอื่นได้ เช่น ถั่ว นม งา ไข่ เป็นต้น