เชื้อราในปอด ผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติควรระวัง
เชื้อราในปอด ผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติควรระวัง

ในช่วงวันหยุดยาวผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติ มักจะเดินทางไปพักผ่อนที่ป่า ภูเขา น้ำตก ทะเล รวมทั้งถ้ำธาราต่างๆ ทั้งนี้ควรระวังปอดอักเสบจากการติดเชื้อราสโตพลาสมา (Histoplasma) หรือโรคฮิสโตพลาสโมซิส (Histoplasmosis) คือ โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ติดเชื้อจากการสูดดมเอาสปอร์ของเชื้อในดินที่ปนเปื้อนมูลสัตว์ปีก ทำให้ส่งผลกระทบต่ออวัยวะในระบบหายใจ หากมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น สามารถเป็นอันตรายต่อสมองถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

 

สาเหตุการติดเชื้อราในปอด

 

ที่อยู่ของสัตว์ปีก

 

  • เล้าไก่

 

  • ในถ้ำที่มีค้างคาว

 

  • ยุ้งข้าว

 

  • บริเวณที่มีนกพิราบเป็นจำนวนมาก

 

โรค หรือภาวะความผิดปกติของร่างกาย

 

  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ

 

  • การติดเชื้อเอชไอวี

 

  • การรักษาด้วยเคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

 

  • ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ

 

การใช้ยาบางชนิด

 

  • ยาควบคุมโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

 

 

อาการติดเชื้อราในปอด

 

เมื่อเชื้อราฮิสโตพลาสมาเข้าสู่ร่างกาย อาจจะยังไม่มีความผิดปกติใดๆ แต่หลังจากนั้น 3-7 วัน จะมีอาการดังนี้

 

  • มีไข้

 

  • ไอแห้ง

 

  • เหนื่อยล้ามาก

 

  • ปวดศีรษะ

 

  • เจ็บหน้าอก

 

  • ปวดกล้ามเนื้อตามร่างกาย

 

  • ปวดข้อต่อ

 

อาการข้างต้นสามารถหายได้เองภายใน 2–3 สัปดาห์  

 

ผู้ป่วยที่เป็นโรคปอด และได้รับเชื้อรา

 

  • ไอเป็นเลือด

 

  • เสมหะเหนียวข้น

 

  • หายใจลำบาก

 

  • ซูบผอม น้ำหนักลดลงผิดปกติ

 

  • เสี่ยงต่อภาวะระบบหายใจล้มเหลว

 

เชื้อราที่แพร่กระจายสำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ

 

  • เจ็บหน้าอก

 

  • หัวใจอักเสบ

 

  • ต่อมน้ำเหลืองโต

 

  • แผลเปื่อยภายในปาก หรือลำคอ

 

  • เกล็ดเลือดต่ำ

 

  • สมอง และไขสันหลังอักเสบ 

 

 

การวินิจฉัยเมื่อติดเชื้อราในปอด

 

ในขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติสอบถามอาการความรุนแรง และระยะเวลาของอาการ รวมทั้งการเดินทางไปยังสถานที่ไหนบ้าง ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากนั้นก็จะทำการตรวจเพิ่มเติม ได้แก่

 

  • การตรวจปัสสาวะ

 

  • ตรวจโลหิต

 

  • การเอกซเรย์หน้าอก เพื่อดูความผิดปกติของปอด

 

  • ใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

 

  • การเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อปอด หรือสารคัดหลั่งในอวัยวะระบบทางเดินหายใจ ส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ

 

 

การรักษาเมื่อติดเชื้อราในปอด

 

หากผู้ป่วยไม่ได้มีภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ สามารถหายจากอาการเองได้ โดยไม่ต้องรักษา เพียงแค่พักผ่อนให้เพียงพอ

 

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เกิดการแพร่กระจายเชื้อ ได้รับยาต้านเชื้อราทั้งแบบรับประทาน และแบบฉีด เช่น

 

  • คีโตโคนาโซล (Ketoconazole)

 

  • แอมโฟเทอริซิน บี (Amphotericin B)

 

  • ไอทราโคนาโซล (Itraconazole)

 

ระยะในการใช้ยาตามข้างต้น ประมาณ 3 เดือน จนถึง 2 ปี ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการ และความรุนแรง รวมทั้งดุลยพินิจของแพทย์

 

หากมีการอุดตัน กด เบียด ทับของอวัยวะภายใน แพทย์อาจทำการผ่าตัด

 

 

เชื้อราในปอด

 

 

การป้องกันติดเชื้อราในปอด

 

  • หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ ที่มีมูลสัตว์ปีกเยอะๆ

 

  • เมื่อไปพักผ่อนตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ควรใส่หน้ากากอนามัย ถุงมือ

 

  • หมั่นทำความสะอาดบริเวณภายนอกบ้าน เช่น หลังคา หน้าต่าง เพราะอาจจะมีนก หรือค้างคาวเข้ามาถ่ายมูลทิ้งไว้ได้

 

 

ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อราในปอดประเภทนี้ มักจะเกิดการระบาดในบางพื้นที่เช่น ทวีปแอฟริกา เอเชีย รวมทั้งทางภาคใต้ และภาคตะวันตกของประเทศไทย ท่านใดที่เพิ่งกลับจากการไปเที่ยวถ้ำ หรือพักอาศัยอยู่ใกล้บริเวณเล้าไก่ หากมีอาการความผิดปกติที่เข้าข่ายการติดเชื้อราในปอด ควรรีบไปพบแพทย์

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพปอด