โรคมะเร็งถุงน้ำดี สังเกตได้จากอาการเจ็บท้องด้านขวา
โรคมะเร็งถุงน้ำดี สังเกตได้จากอาการเจ็บท้องด้านขวา

มะเร็งถุงน้ำดี (Gallbladder Cancer) คือ การเกิดเนื้องอกชนิดร้าย หรือมะเร็งภายในเนื้อเยื่อถุงน้ำดี ที่อยู่ใต้ตับ บริเวณชายโครงด้านขวา จะสังเกตได้ว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งถุงน้ำดี มักจะมีอาการเจ็บท้องด้านขวา และโรคนี้มักจะไม่ออกอาการในระยะแรกๆ  การวินิจฉัยจึงทำได้ยาก และหากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งถุงน้ำดีมีการลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ประสิทธิภาพในการรักษาก็จะต่ำลง จึงทำให้อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งถุงน้ำดีต่ำมากเช่นกัน

 

 

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งถุงน้ำดี

      

  • ความผิดปกติในถุงน้ำดี เช่น มีติ่งเนื้อขนาดใหญ่บริเวณถุงน้ำดี หรือการมีแคลเซียมเกาะที่ผนังถุงน้ำดี

      

  • ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดีจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งถุงน้ำดีกว่าบุคคลปกติ 38 เท่า

      

  • ผู้หญิงอายุ 50 ปี ขึ้นไป ที่ป่วยเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

      

  • ผู้หญิงที่ประจำเดือนครั้งแรกมาเร็ว และวัยหมดประจำเดือนช้ากว่าปกติ

      

  • ผู้หญิงที่มีตั้งครรภ์ และคลอดบุตรหลายครั้ง

      

  • ผู้ที่น้ำหนักตัวเยอะ

      

  • ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งถุงน้ำดี

      

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่เป็นประจำ

      

  • การบริโภคอาหารประเภทหมักดอง รสจัด รวมทั้งอาหารจากการทอดที่มีไขมันสูง

 

 

อาการของโรคมะเร็งถุงน้ำดี

      

  • ปวดท้องด้านขวา

      

  • ท้องอืด

      

  • เป็นไข้

      

  • คลื่นไส้

      

  • อาเจียน

      

  • เบื่ออาหาร

      

  • น้ำหนักลดลง

      

  • ปัสสาวะสีเข้ม

      

  • อุจจาระสีอ่อน

      

  • ตัวเหลือง ตาเหลืองจากอาการดีซ่าน

      

  • คันผิวหนังตามร่างกาย โดยอาการจะรุนแรงขึ้นในตอนกลางคืน

 

 

การวินิจฉัยโรคมะเร็งถุงน้ำดี

 

การตรวจเลือด

      

  • การนำตัวอย่างเลือดไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาความผิดปกติ เช่นตรวจหาดีซ่าน ค่าการทำงานของตับ เป็นต้น

 

การตรวจอัลตราซาวด์

      

  • เป็นการวินิจฉัยโอกาสในการเกิดขึ้นของโรคมะเร็งถุงน้ำดี โดยการสำรวจขนาดของถุงน้ำดี ว่ามีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือไม่ และสำรวจการทำงานของตับ

 

การถ่ายภาพทางรังสีด้วยเครื่องซีทีสแกน (CT Scan)

      

  • ตรวจตำแหน่งที่มีเซลล์มะเร็ง สามารถทราบถึงขนาดของมะเร็ง และลุกลามไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย

 

การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

      

  • การสร้างภาพเนื้อเยื่อภายในร่างกายโดยการใช้ MRI หาเซลล์มะเร็งถุงน้ำดีอย่างละเอียด

 

 

ระยะของโรคมะเร็งถุงน้ำดี

      

  • ระยะ1 มะเร็งจะอยู่ภายในถุงน้ำดี และไม่แพร่กระจาย หากได้รับการผ่าตัด จะทำให้มีโอกาสหายขาดได้สูง

      

  • ระยะที่ 2 มะเร็งจะเริ่มลุกลามออกทางผนังชั้นนอกของถุงน้ำดี แต่ไม่ถึงตับ

      

  • ระยะที่ 3 มะเร็งจะลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง เช่น ต่อมน้ำเหลือง และตับ

      

  • ระยะที่ 4 มะเร็งจะลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกาย

 

 

มะเร็งถุงน้ำดี

 

 

การรักษาโรคมะเร็งถุงน้ำดี

 

การผ่าตัด

      

  • หากเป็นผ่าตัดโรคมะเร็งถุงน้ำดีในระยะแรก จะเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การผ่าตัดถุงน้ำดีออกไป การผ่าตัดถุงน้ำดีในวงกว้าง และการผ่าตัดอวัยวะภายในต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง

 

การฉายรังสีบำบัด

      

  • การใช้รังสีพลังงานสูงมากำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่ หรือกลับมาใหม่

 

การใช้ยาเคมีบำบัด

      

  • ผู้ป่วยโรคมะเร็งถุงน้ำดีที่มีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ จะได้รับยา จากการรับประทาน หรือการฉีดเข้าทางหลอดเลือด ตัวยาจะต้านมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ จากการตามโลหิตให้ไหลเวียนในทุกๆ ส่วนทั่วร่างกาย

 

การใช้เทคนิคแบบเจาะจง ( Targeted )

      

  • ในตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลงของมะเร็งถุงน้ำดี จะมีการฉีดยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะ

 

การรักษาแบบแพทย์แผนจีน

      

  • ยาแพทย์แผนจีนมีประสิทธิภาพในการกำจัดเซลล์มะเร็ง แก้พิษ และเพิ่มภูมิคุ้มกัน ในรูปแบบของการรับประทาน หรือสอดทางหลอดเลือดแดง รวมทั้งการใช้องค์ประกอบทางพยาธิวิทยาของมะเร็งถุงน้ำดี และการปรับความสมดุลของร่างกาย

 

 

การป้องกันโรคมะเร็งถุงน้ำดี

      

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารจำพวกผักผลไม้ และธัญพืช เช่น บีทรูท และพริกหยวก

      

  • ควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารบางชนิด เช่น ถั่วแขก และผักชี เพราะจะไป รบกวนการทำงานของยารักษาโรคมะเร็ง

      

  • ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้น้ำหนักตัวเยอะเกินไป

      

  • เลิกพฤติกรรมสูบบุหรี่ และไม่อยู่ในแวดล้อมที่มีควันจากการเผาไหม้

 

 

หากเป็นโรคมะเร็งถุงน้ำดีในระยะที่มีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ จะมีโอกาสในการใช้ชีวิตได้มากกว่า 5 ปี นั้น ถือว่าน้อย ผู้ป่วยในระยะสุดท้าย จะมีชีวิตรอดได้มากสุดเพียง 1 ปี เป็นเรื่องที่น่าเศร้าหากเกิดโรคนี้บุคคลรอบข้าง ปัจจุบันอัตราการเกิดโรคมะเร็งถุงน้ำดีจะค่อนข้างต่ำ แต่ในระยะไม่นานมานี้พบว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเพศหญิงที่มีความเสี่ยงมากกว่าเพศชาย อีกทั้งยังหาสาเหตุในการเกิดโรคยังไม่ชัดเจน และโรคมะเร็งถุงน้ำดีมีความสัมพันธ์กับการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง