หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น คือการฉีกขาดของเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกชั้นนอก (Annulus fibrosus) ทำให้ส่วนที่อยู่ชั้นในที่มีลักษณะคล้ายวุ้น (Nucleus Pulposus) ที่อยู่ตรงกลางเคลื่อนออกมากดเบียดเส้นประสาท (Nerve root) ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดหลัง ที่พบได้บ่อย และอาการปวดชาร้าวลงขาไปจนถึงปลายเท้าได้เช่นกัน
หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น มี 3 ประเภท ได้แก่
Protusion
Extrusion
Sequestration
ขั้นต้นแพทย์จะซักประวัติ และตรวจร่างกายของผู้ป่วย หลังจากนั้นก็จะใช้เครื่องมือทางการแพทย์ในการตรวจร่างกายของผู้ป่วยอย่างละเอียด โดยเครื่องมือนั้นคือการใช้ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) จะทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้ เพราะ MRI สามารถเห็นโครงสร้างของหมอนรองกระดูกสันหลังและเส้นประสาทได้ชัดเจน และเห็นว่ามีการกดทับเส้นประสาทที่ตำแหน่งใด
รักษาด้วยการใช้ยารับประทาน และการฉีดยา
กายภาพบำบัด
การผ่าตัด
หลังจากผู้ป่วยทำการผ่าตัดแล้ว อาการปวดหลังร้าวลงขา และอาการชา หรืออ่อนแรงจะบรรเทาอย่างดีขึ้น สามารถกลับไปดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ ภายใน 6-8 สัปดาห์ ทั้งนี้หลังจากการผ่าตัดแล้ว ไม่ปฏิบัติตามการป้องกันหมอนรองกระดูกปลิ้น ก็สามารถกลับมาเป็นโรคนี้ซ้ำได้เช่นกัน