กลั้นปัสสาวะ พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ
กลั้นปัสสาวะ พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ

หลายท่านอาจเคยประสบเหตุรถติดบนถนนในเมืองใหญ่ หรือทำงานทั้งวันไม่มีเวลาหยุดพัก ต้องอดทนฝืนกลั้นปัสสาวะ เพราะสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยต่อการปลดปล่อย แม้รู้ว่าพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ เสี่ยงต่อการเป็นโรคส่งผลกระทบต่อสุขภาพในอนาคต  โดยเฉพาะอวัยวะในระบบที่เกี่ยวข้องทำงานสัมพันธ์กันกับการขับถ่ายของเหลว ไม่ว่าจะเป็น ไต ท่อไต ท่อปัสสาวะ และหูรูด

 

 

กลไกการกลั้นปัสสาวะ

 

เมื่อเราดื่มน้ำเข้าไป จนของเหลวมีปริมาณครึ่งกระเพาะปัสสาวะ เส้นประสาทบริเวณนั้นจะกระตุ้นไปยังสมอง จึงรู้สึกปวดฉี่ แต่เมื่อยังไม่สามารถหาห้องน้ำ หรือที่ปลดปล่อยได้ สมองจะส่งสัญญาณกลับไปให้กลั้นเอาไว้ ทั้งนี้มีปัจจัยในการขับปัสสาวะที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับ อายุ ปริมาณ ช่วงเวลาของวัน ปกติแล้วจะไม่ค่อยปวดฉี่ในตอนกลางคืน เพราะ ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ รวมทั้งความถี่ในการขับของเสียที่มาจากความเครียด สามารถบอกโรคได้เช่นกัน โดยเฉพาะสุภาพสตรีหลังคลอดบุตร หรืออาจเกิดจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง

 

 

กลั้นปัสสาวะ

 

 

กลั้นปัสสาวะอันตรายไหม

 

หากร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดี การกลั้นปัสสาวะในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบแต่อย่างใด ถึงอย่างไรก็ตามไม่ควรที่จะอั้นเอาไว้นาน เมื่อรู้สึกปวดก็เข้าห้องน้ำเลยจะเป็นผลดี

 

ทั้งนี้ผู้ที่ไม่ควรกระทำเลย จะทำให้อาการของโรคมีความรุนแรงขึ้น และติดเชื้อ ได้แก่

 

  • ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต

 

  • ภาวะกระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติจากระบบประสาท

 

  • โรคไต

 

  • คุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

กลั้นปัสสาวะ

 

 

ผลเสียจากการกลั้นปัสสาวะ

 

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

 

  • เพศหญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย เพราะมีท่อที่ระยะสั้นกว่า เชื้อจึงเข้าสู่อวัยวะภายในได้ง่าย สังเกตได้จากเวลาฉี่ จะมีอาการแสบ ขัด หรือโลหิตไหลปนมาด้วย

 

กรวยไตอักเสบ

 

  • การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง สำหรับผู้ที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จะมีอาการรุนแรง ลุกลามไปยังบริเวณไต มักจะเป็นไข้ สีปัสสาวะขุ่น ปวดเอว คลื่นไส้ และอาเจียน

 

 

ปัสสาวะ

 

 

การดูแลอวัยวะระบบทางเดินปัสสาวะ

 

ปัสสาวะให้สุด

 

  • อาจมีของเหลวตกค้าง และติดเชื้อแบคทีเรียได้ หากขมิบกล้ามเนื้อให้ปัสสาวะหยุดไหลแบบเร็ว ๆ

 

ดื่มน้ำอย่างเหมาะสม

 

  • อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว

 

หลีกเลี่ยงกาแฟ และน้ำอัดลม เพราะคาเฟอีนจะกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น

 

  • ลดปริมาณการดื่มน้ำให้น้อยลงในช่วงเวลาก่อนเข้านอน

 

สุขอนามัยทางเพศ

 

  • ควรทำความสะอาดอวัยวะเพศและทวารหนักภายนอกก่อนมีเพศสัมพันธ์ จะช่วยป้องกันการติดเชื้อ

 

  • ปัสสาวะหลังมีเพศสัมพันธ์ เพื่อขับแบคทีเรียออกมา

 

ขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

 

  • ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้ดีขึ้น

 

เลิกสูบบุหรี่

 

 

วัยผู้ใหญ่ปกติทั่วไปจะมีปริมาณน้ำอยู่ในกระเพาะปัสสาวะมากกว่า 480 ซีซี หากมีปัญหาในระบบขับถ่ายปัสสาวะ หรือมีอาการผิดปกติใด ๆ ควรไปปรึกษาแพทย์และรับการตรวจรักษา เพื่อป้องกันภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตรายรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไต