หากใช้ยาดมบ่อยๆ เสี่ยงต่อการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ
หากใช้ยาดมบ่อยๆ เสี่ยงต่อการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ

ยาดม คือ คือยาประเภทใช้ภายนอก ใช้สำหรับสูดดม เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก แก้วิงเวียนศีรษะ แต่ถ้าหากบุคคลใดที่ไม่ได้มีอาการเป็นหวัด คัดจมูก หรือวิงเวียนศีรษะ แต่กลับใช้ยาดมบ่อยๆ สามารถเกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจได้ เช่น การเกิดภาวะโพรงจมูกอักเสบ จนถึงขึ้นปอดอักเสบได้ เป็นต้น

 

 

ส่วนประกอบของยาดม

 

  • ยาดม มักจะประกอบไปด้วย เมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากสมุนไพรอื่นๆ เช่น สะระแหน่ กานพลู หรือยูคาลิปตัส รวมทั้งการบูร และพิมเสน ซึ่งเมื่อสูดดมส่วนประกอบของยาดมเหล่านี้ จะรู้สึกสดชื่น เย็นในโพรงจมูก

 

  • พิมเสน มีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ แบนๆ สีขาวขุ่น ซึ่งพิมเสนบริสุทธิ์จะมีรูปร่างลักษณะเป็นหกเหลี่ยม เกิดจากการหุงการบูร และตัวยาอื่นๆ รวมกัน อีกทั้งในปัจจุบันยังสามารถสังเคราะห์พิมเสนได้ แต่จะมีรสเผ็ดกัดลิ้นต่างจากพิมเสนธรรมชาติ

 

  • การบูร มีลักษณะเป็นเกล็ดมันวาว สีขาว มีกลิ่นหอมฉุน และเย็น ในอดีตการบูรสกัดมาจากต้นของการบูร แต่ในปัจจุบันยังสามารถสังเคราะห์การบูรในราคาถูกได้ การสกัดจากพืชธรรมชาติ

 

  • เมนทอลหรือเกล็ดสะระแหน่ มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นหอมเย็น สกัดจากใบมินต์ มักจะอยู่ในนำมันหอมระเหยของผลิตภัณฑ์จากใบมินต์

 

 

ประโยชน์ของยาดม

 

  • 1. สามารถบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก

 

  • 2. แก้อาการวิงเวียนศีรษะ

 

  • 3. กลิ่นของยาดมช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย สดชื่น

 

  • 4. หากเป็นแบบน้ำ สามารถใช้บรรเทาอาการเคล็ด ขัดยอก หรือแมลงสัตว์กัดต่อยได้

 

 

ผลเสียจากการใช้ดมบ่อยๆ

 

  •  1. ส่วนประกอบของยาดม จะมีสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่ออวัยวะในระบบทางเดิน ได้แก่ จมูกแห้ง โพรงจมูกอักเสบ และปอดอักเสบ

 

  • 2. ส่วนประกอบของยาดม จะมีสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบประสาท เนื่องจากมีฤทธิ์ที่สามารถกระตุ้นประสาท ซึ่งส่งผลให้เกิดการเสพติดในชนิดที่ไม่รุนแรงได้ อีกทั้งผลเสียจากการเสพติดใช้ดมบ่อยๆ จะทำให้เสียบุคลิกภาพ

 

  • 3. การใช้ยาดมร่วมกับผู้อื่น มีความเสี่ยงในการติดเชื้อบริเวณจมูก โดยเฉพาะยาดมที่มีลักษณะผลิตภัณฑ์แบบหลอด

 

  • 4. อาจเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ยาดมได้ เช่น หากยาดมกระเด็นเข้าตา จะทำให้ดวงตาเกิดการระคายเคืองได้ หรือหากยาดมกระเด็นเข้าปาก จะทำให้ลิ้น และช่องปากเกิดความแสบร้อนได้

 

 

การใช้ยาดมอย่างถูกวิธี

 

  • 1. อ่านวิธีใช้บนฉลากผลิตภัณฑ์ ก่อนใช้ยาดม

 

  • 2. ในการใช้ยาดม ควรถือยาดมพอให้ห่างมือ ไม่ควรสูดดมยาดมโดยตรง และสอดแท่งยาดมไว้ในจมูก

 

  • 3. ค่อยๆ สูดดมยาดมช้าๆ พอให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น ไม่ควรสูดดมอย่างรุนแรง

 

  • 4. ไม่ควรใช้ยาดมต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานๆ

 

  • 5. ในการยาดมชนิดแบบน้ำ ควรชุดสำลีเพียงเล็กน้อยในการสูดดม หากใช้ทาผิวหนังควรทางแบบบางๆ และไม่ควรทาบริเวณที่มีแผลเปิด

 

  • 6. เมื่อใช้ยาดมเสร็จแล้ว ควรเช็ดบรรจุภัณฑ์ให้สะอาด และปิดฝาให้มิดชิด

 

 

โพรงจมูกอักเสบ

 

 

ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาดม

 

  • 1. เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี

 

  • 2. ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโพรงจมูก เช่น ผู้ป่วยโรคโพรงจมูกอักเสบ ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบ และผู้ป่วยที่ติดเชื้อในโพรงจมูก

 

  • 3. สตรีตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาดม

 

  • 4. ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาดม เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคหอบหืด และผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบ

 

 

สำหรับผู้ที่สูดดมยาดมเป็นประจำแล้ว หากวันไหนไม่ได้สูดดมยาดม แล้วมีอาการอยากสูดยาดม นั่นแสดงถึงความเสี่ยงที่จะเป็นผู้เสพติดยาดม ในการใช้ยาดมนั้น หากใช้ในปริมาณที่พอดี และใช้ในเวลาที่เหมาะสม จะสามารถได้ประโยชน์จากการสูดดม และห่างไกลจากความเสี่ยงต่อการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ