จริงหรือไม่ ผู้ชายก็สามารถเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้
จริงหรือไม่ ผู้ชายก็สามารถเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้

โรคมะเร็งเต้านม เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงมากเป็นอันดับที่ 1 ของโรคมะเร็งทั้งหมด แต่จริงหรือไม่ ผู้ชายก็สามารถเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ คำตอบคือ เป็นเรื่องจริง ซึ่งสาเหตุในการเกิดมะเร็งเต้านมสำหรับผู้ชาย มีความคล้ายกัน แต่จะพบได้น้อยกว่ามากหากเทียบกับมะเร็งเต้านมในเพศหญิง อีกทั้งการวิจัยสาเหตุในการเกิดขึ้นมะเร็งเต้านมสำหรับผู้ชาย ยังมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นคุณผู้ชาย ควรระมัดระวัง เพราะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมเช่นเดียวกับคุณผู้หญิง

 

 

สาเหตุในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมสำหรับผู้ชาย

      

  • ผู้ชายสูงวัย ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป

      

  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง

      

  • คุณผู้ชายที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือมีฮอร์โมนเพศหญิงมากกว่าปกติ

      

  • คุณผู้ชายที่มียีน BRCA ส่งผลให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนผลิตได้น้อยลง

      

  • มีความผิดปกติบริเวณลูกอัณฑะ  เช่น มีอัณฑะข้างเดียว มีอัณฑะผิดรูปเป็นต้น

      

  • คุณผู้ชายที่เคยได้รับการรักษาด้วยวิธีฉายรังสีบริเวณหน้าอก

      

  • ผู้ป่วยโรคตับในผู้ชาย เพราะ การเสื่อมสภาพของตับ ส่งผลให้การทำลายฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ

      

  • เป็นโรคอ้วน หรือน้ำหนักตัวมาก

      

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

 

อาการของโรคมะเร็งเต้านมสำหรับผู้ชาย

      

  • มีความผิดปกติบริเวณหัวนม เช่น หัวนมบอด หัวนมยุบ และหัวนมแดง

      

  • มีก้อนแข็งบริเวณเต้านม แต่ไม่มีการเจ็บปวดใดๆ แม้ว่าจะกด บีบก้อนเนื้อนั้น

      

  • มีผื่นขึ้น บริเวณเต้านม

      

  • มีแผลเรื้อรังบริเวณเต้านม

      

  • มีของเหลวไหลออกจากบริเวณเต้านม เช่น น้ำ หรือโลหิต

 

 

อาการของโรคมะเร็งเต้านมในระยะลุกลามสำหรับผู้ชาย

      

  • ตัวเหลือง ตาเหลือง

      

  • คลื่นไส้

      

  • หอบ หายใจถี่ขึ้น

      

  • เหนื่อยผิดปกติ

      

  • บริเวณรักแร้มีอาการบวม จากการลุกลามของมะเร็งที่เข้าสู่ระบบต่อมน้ำเหลือง 

      

  • ปวดกระดูก

 

 

การรักษาโรคมะเร็งเต้านมสำหรับผู้ชาย

      

  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือการให้คีโม (Chemotherapy)

      

  • แพทย์จะรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพศชายด้วยการให้ฮอร์โมนในระยาว

      

  • การฉายแสง หรือการรักษาด้วยการฉายรังสี

      

  • การผ่าตัดก่อนมะเร็งบริเวณเต้านม รวมทั้งการตัดเนื้อใกล้เคียงบริเวณเต้านมออก

 

 

มะเร็งเต้านมสำหรับผู้ชาย

 

 

วิธีการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมสำหรับผู้ชาย

      

  • งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

      

  • เลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่

      

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

      

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

      

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

      

  • นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ

      

  • สังเกตความผิดปกติ ด้วยการคลำเต้านมเป็นประจำ หากพบว่ามีความผิดปกติกรุณามาพบแพทย์

      

  • คุณผู้ชายที่มีอาการคล้ายกับโรคมะเร็งเต้านม ควรมาตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ปีละ 1 ครั้ง

 

 

แม้ว่าโรคมะเร็งสำหรับผู้ชายจะเกิดได้น้อยมากก็จริง แต่ผู้ป่วยที่มารักษากับแพทย์จะ เป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะลุกลาม ยากที่จะรักษาให้หายขาดได้จนเป็นปกติ โดยเฉพาะผู้ชายที่อายุ 60 ปี ขึ้นไป มีความเสี่ยงมากกว่า ผู้ชายในวัยอื่นๆ อีกทั้งแนวโน้มในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมสำหรับผู้ชาย และอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติ หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรมาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และทำการรักษา 

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (Digital Mammogram with Ultrasound)