เส้นเลือดในสมองตีบ หนึ่งในภาวะของโรคหลอดเลือดสมอง
เส้นเลือดในสมองตีบ หนึ่งในภาวะของโรคหลอดเลือดสมอง

โรคเส้นเลือดในสมองตีบ (Ischemic Stroke) คือ หนึ่งในภาวะของโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการขาดเลือด และออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง จากการสะสมไขมันบริเวณหลอดเลือดสมอง ผนังหลอดเลือดจึงมีความหนาขึ้น ทำให้การไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงสมองเกิดความผิดปกติ เซลล์สมองบริเวณนั้นจึงเกิดความเสียหาย ส่งผลให้อวัยวะในร่างกายบางส่วนไม่สามารถควบคุมได้ เป็นอันตรายถึงขั้นปากเบี้ยว  สูญเสียการมองเห็น และอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้

 

 

สาเหตุของเส้นเลือดในสมองตีบ

 

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองตีบ มาจากความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต โดยเกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดงที่มีหน้าที่ในการนำเลือดไปเลี้ยงสมอง จากไขมัน หรือคราบหินปูน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

 

      

  • โรคหลอดเลือดขาดเลือดจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบ (Thrombotic Strokes) เกิดขึ้นได้จากโรคประจำตัวต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ซึ่งทำให้หลอดเลือดแดงเกิดการแข็งตัว (Atherosclerosis) การไหลเวียนโลหิตไปยังสมองจึงผิดปกติ

          

  •  โรคหลอดเลือดขาดเลือดจากการอุดตัน (Embolic Strokes)  เลือดไหลเวียนไปยังสมองได้ไม่เพียงพอ จากการอุดตันของหลอดเลือด

      

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองตีบ

          

  • ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง

      

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

         

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ

      

  • พันธุกรรม

           

  • ความเสื่อมของหลอดเลือดตามธรรมชาติ

    

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

          

  • การสูบบุหรี่

 

 

อาการเส้นเลือดในสมองตีบ

 

ลักษณะอาการของโรคเส้นเลือดในสมองตีบ จะเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ในเวลาไม่กี่นาที เกิดขึ้นตามอวัยวะส่วนต่างๆ ดังนี้

      

  • สายตาพร่ามัว มองไม่เห็น

      

  • ใบหน้าเบี้ยว

      

  • สื่อสารด้วยการพูดไม่ได้

      

  • แขน และขาอ่อนแรง

      

  • ไม่สามารถทรงตัว หรือเคลื่อนไหวร่างกายได้

 

 

การวินิจฉัยเส้นเลือดในสมองตีบ

 

ขั้นแรกแพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย เกี่ยวกับระยะในการเกิดอาการของโรค ประวัติความเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว หลังจากนั้นก็จะทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ได้แก่

      

  • การตรวจไขมัน และคอเลสเตอรอลในเลือด

      

  • การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

      

  • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

      

  • การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

      

  • การตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Carotid Ultrasound)

      

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram : EKG)

 

 

เส้นเลือดในสมองตีบ

 

 

การรักษาเส้นเลือดในสมองตีบ

 

การใช้ยา

      

  • ยาต้านเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน

      

  • การฉีดยาสลายลิ่มเลือด (Tissue Plasminogen Activator: tPA) ผ่านทางหลอดเลือดดำ

 

การผ่าตัด

      

  • การผ่าตัดเปิดกะโหลก (Hemicraniectomy) เพื่อลดความดันในสมอง

      

  • การผ่าตัดเพื่อเปิดหลอดเลือดแดงที่บริเวณคอ  (Carotid Endarterectomy)

      

  • การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน และขดลวด (Angioplasty and Stents)

 

 

การป้องกันเส้นเลือดในสมองตีบ

      

  • รับประทานผัก และผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และถั่วชนิดต่างๆ

      

  • ออกกำลังกายอย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์  ครั้งล่ะ 30 นาที ขึ้นไป

           

  • ควบคุมน้ำหนักตัว ระดับไขมัน และน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

           

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง

      

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

      

  • เลิกสูบบุหรี่

 

 

ทั้งนี้ในการรักษา หรือป้องกันเส้นเลือดในสมองตีบนั้น ไม่ควรใช้อาหารเสริม ยาหม้อ หรือศาสตร์อื่นๆ นอกจากการแพทย์ เพราะยังไม่มีหลักฐาน หรืองานวิจัยใดที่ยืนยันว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้ผู้ป่วยหายขาด  การตรวจสุขภาพเป็นประจำ ในส่วนของหลอดเลือดสมองนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าหากพบสิ่งผิดปกติ หรืออาการของโรคเส้นเลือดในสมองตีบ และได้รับการรักษาจากแพทย์ จะช่วยให้ลดความรุนแรงของโรคลงได้

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง

 

 

ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI