คาโรชิ ซินโดรม งานหนักไม่เคยฆ่าใคร แน่นะวิ?
คาโรชิ ซินโดรม งานหนักไม่เคยฆ่าใคร แน่นะวิ?

คาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome) คือ โรคจากการทำงานหนักจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ เริ่มต้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ด้วยความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า พักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดสารอาหาร เครียดสะสม  เป็นที่รู้จักครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งประสบภาวะทางจิตใจ รู้สึกไร้ค่า กดดันตัวเอง หดหู่ ทำให้อัตวินิบาตกรรมลาจากโลกนี้ไปในที่สุด ซึ่งผู้คนเริ่มให้ความสนใจ และตระหนักกับเรื่องของ Work Life Balance กันมากยิ่งขึ้น

 

 

อาการของโรคคาโรชิ ซินโดรม

 

  • ทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

 

  • มาเช้า กลับทีหลังเพื่อนร่วมงาน

 

  • ไม่ใช้วันลาหยุดตามสิทธิ์

 

  • เครียดตลอดเวลา เพราะคิดแต่เรื่องงาน

 

  • มีปัญหาในการนอนหลับ

 

  • มีเวลาให้กับคนรอบข้างน้อยลง

 

  • ปวดหลัง ไหล่ สายตา คล้ายกับโรคออฟฟิศซินโดรม

 

  • ความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น โมโห ฉุนเฉียว

 

 

Karoshi Syndrome

 

 

คาโรชิ ซินโดรม เป็นโรคอะไรได้บ้าง

 

  • โรคหัวใจ

 

  • กระเพาะอาหาร

 

  • เบาหวาน

 

  • ความดันโลหิตสูง

 

  • เส้นเลือดในสมองแตก

 

  • มะเร็ง

 

  • อัมพาต

 

  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

 

  • ภาวะทางจิตใจ ที่ก่อให้เกิดการทำร้ายตนเอง

 

  • เกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะการเดินทางหรือในเวลางาน จากการพักผ่อนไม่เพียงพอ

 

 

Karoshi Syndrome

 

 

กลุ่มเสี่ยงของคาโรชิ ซินโดรม

 

ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45-74 ปี ขึ้นไป

 

  • ตามธรรมชาติแล้ว คนวัยนี้มักมีฮอร์โมนที่ไม่ค่อยสมดุลกัน พฤติกรรมทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ รวมทั้งกลัวการถูกละเลยจากบุตรหลาน

 

ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดบุตร (Mama Blue)

 

  • โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป อาจประสบกับภาวะซึมเศร้า ทำร้ายตนเองและทารก

 

หัวหน้างานตำแหน่งสูง ๆ

 

  • มีความเครียด กดดันสูง ควบคุมพนักงานใต้บังคับบัญชา ทำงานแข่งกับเวลาอยู่เสมอ

 

บุคลากรด้านการแพทย์

 

  • รับภาระงานจากคนไข้อย่างใหญ่หลวง มีหน้าที่รับผิดชอบชีวิตมนุษย์

 

 

Karoshi Syndrome

 

 

การป้องกันโรคคาโรชิ ซินโดรม

 

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

 

  • ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ

 

  • พบปะเพื่อน หรือคนในครอบครัว เพื่อพูดคุยระบายความเครียด

 

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่

 

  • ปล่อยวางทางความคิด

 

  • ทำงานล่วงหน้าเท่าที่จำเป็น

 

  • หากมีปัญหาเกี่ยวกับงานให้ปรึกษาหัวหน้าผู้บังคับบัญชา

 

  • เปลี่ยนสายงานหรือองค์กรที่เข้ากับตนเอง

 

  • ปรึกษาที่สายด่วนสุขภาพจิต 1667

 

 

นอกจากเรื่องของพฤติกรรมแล้ว วัฒนธรรมการทำงานในแต่ละพื้นที่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคคาโรชิ ซินโดรม โดยเฉพาะประเทศในทวีปเอเชียที่มีชื่อเสียงทางด้านอุตสาหกรรม อย่างไต้หวัน เกาหลีใต้ โดยเฉพาะดินแดนอาทิพย์อุทัย หลังจากเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงต้องปรับปรุงพัฒนาบ้านเมือง ทำงานขยันขันแข็งอย่างหนัก โรคนี้จึงมีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1970 อีกทั้งประเทศไทยก็พบข่าวการเสียชีวิตของพนักงานในทำนองนี้ด้วยเช่นกัน

 

 

 


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

ขอใบเสนอราคาสำหรับองค์กรหรือบริษัท อีเมล : info@petcharavej.com  หรือสอบถามช่องทาง Line : @petcharavej คลิก

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

รวมตรวจสุขภาพประจำปี 2566