โควิดสายพันธุ์ใหม่แลมบ์ดา (Lambda) ถึงแม้จะยังไม่ปรากฏว่ามีการระบาดในประเทศไทย เรายังต้องระวังเนื่องจากมีแนวโน้มว่าโควิดสายพันธุ์นี้จะอันตรายและมีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลต้า และอยู่ในหมวดสายพันธุ์ที่เฝ้าระวังแพร่เชื้อในอนาคต (Variant of Interest) อย่างไรก็ตามมีผลวิจัยว่าวัคซีนชนิด mRNA ยังสามารถช่วยป้องกันได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ
โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) หรือ C.37 ระบาดไปแล้วประมาณ 30 ประเทศ โดยพบครั้งแรกที่ประเทศเปรูเมื่อปลายปี 2563 อีกทั้งประเทศเปรูยังเป็น 1 ในประเทศที่มีอัตราผู้ป่วยโควิด-19 เสี่ยงเสียชีวิตสูง จากการกลายพันธุ์บริเวณตำแหน่ง L452Q และ D253N มีแนวโน้มทำให้โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาจะแพร่ระบาดได้รวดเร็ว และมีอาการที่รุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลต้าที่ประเทศไทยกำลังเฝ้าระวังอยู่ รวมไปถึงความสามารถในการหลีกเลี่ยงวัคซีนของสายพันธุ์แลมบ์ดาด้วยเช่นกัน
เบื้องต้นมีการคาดการณ์ว่าอาการของผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาจะมีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์เดลต้า และสังเกตอาการยากกว่าเดิม อย่างไรก็ตามโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาถูกจัดให้เป็นสายพันธุ์เฝ้าระวังว่าจะสามารถแพร่เชื้อในอนาคต (Variant of Interest) หรือ VOI และมีแนวโน้มว่าต่อไปอาจจะถูกเพิ่มเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variant of Concern) หรือ VOC เช่นเดียวกับสายพันธุ์เดลต้าซึ่งมีเกณฑ์ในการวัด ดังนี้
จากข้อมูลวันที่ 19 กรกฎาคม ยังไม่มีรายงานว่าพบโควิดสายพันธุ์ใหม่แลมบ์ดาในไทย โดยความเสี่ยงที่มากที่สุดคือกลุ่มคนที่เข้าออกนอกประเทศหรือเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์นี้
มีการเผยแพร่การวิจัยของมหาวิทยาลัยนิวยอร์กในสหรัฐอเมริกาว่าจริงอยู่ที่โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาอาจลดประสิทธิภาพของวัคซีนได้ แต่ในการทดสอบกับวัคซีนชนิด mRNA (วัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นา) พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพมากพอในการช่วยป้องกันโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา สำหรับวัคซีนชนิดอื่นยังไม่มีผลการวิจัยออกมาเผยแพร่แต่อย่างใด
เพื่อเป็นการป้องกันโควิดสายพันธุ์ใหม่แลมบ์ดาจึงไม่ควรเดินทางไปต่างประเทศที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีการระบาด และถึงแม้จะยังไม่พบในไทยเราก็ยังต้องระวังและคอยดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโควิด-19 อยู่เสมอ
เอกสารอ้างอิง
เรียบเรียงโดยโรงพยาบาลเพชรเวช