มาลาเรีย โรคติดเชื้อที่ยุงก้นปล่องเป็นพาหะ
มาลาเรีย โรคติดเชื้อที่ยุงก้นปล่องเป็นพาหะ

มาลาเรีย (Malaria) คือ โรคติดเชื้อซึ่งอาศัยอยู่ในโลหิตพาหะมาจากยุงก้นปล่อง ลักษณะมีปากยื่นยาวออกมาข้างหน้าชอบกัดหัวค่ำ ดึก จนถึงเช้าตรู่ มักจะอยู่ในป่า ภูเขา เขตชนบทแถบชายแดนประเทศ วางไข่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ หากโดนแมลงชนิดนี้กัดแล้วเกิดความผิดปกติแล้วไม่รีบไปพบแพทย์ทันที มีความเสี่ยงที่จะรุนแรงถึงขั้นมาลาเรียขึ้นสมอง เข้าสู่ภาวะวิกฤต เป็นอันตรายต่อระบบประสาทถึงแก่ชีวิตได้

 

 

มาลาเรียเกิดขึ้นได้อย่างไร

 

การติดเชื้อโปรโตซัวที่เรียกว่า Plasmodium ซึ่งก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่

 

  • Plasmodium Falciparum

 

  • P.Vivax

 

  • P.Malariae

 

  • P.Ovale

 

  • P. Knowlesi

 

แต่ละชนิดจะมีระยะฟักตัวไม่เท่ากัน โดยใช้เวลาประมาณ 7-40 วัน สามารถติดต่อแพร่กระจายเมื่อยุงก้นปล่องเพศเมียไปกัดดูดเลือดของผู้ป่วยมาลาเรีย และปล่อยเชื้อในน้ำลายเข้าสู่กระแสเลือดของอีกคนหนึ่ง หลังจากนั้น 10-14 วัน จะเริ่มมีความผิดปกติ จากการที่เชื้อไปยังที่บริเวณตับ เกิดการแบ่งเซลล์แบบไม่อาศัยเพศ ส่งผลให้มี merozoite หลายพันตัว ต่อมาเซลล์ตับจะโตจนแตกปล่อยโปรตีนบนผิวนี้เข้าสู่กระแสโลหิต ไปยังเม็ดเลือดแดง แบ่งตัวอีกครั้งจนแตก ดำเนินวงจรแบบนี้ไปเรื่อย ๆ บางตัวจะมีการเปลี่ยนเป็นเชื้อมีเพศ ฝังตัวที่กระเพาะยุง ไปยังต่อมน้ำลายเพื่อรอการกัดของยุงอีกครั้ง

 

 

ยุงก้นปล่อง

 

 

อาการโรคมาลาเรีย

 

  • มีไข้สูง

 

  • หนาวสั่น

 

  • เหงื่อออกมาก

 

  • ปวดศีรษะ

 

  • คลื่นไส้ อาเจียน

 

  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

 

  • ท้องเสีย

 

  • โลหิตจาง หรือเลือดออกผิดปกติ

 

  • อุจจาระเป็นเลือด

 

  • ซีด

 

  • ตัวและตาเหลือง

 

  • หมดสติ

 

 

ไข้ป่า

 

 

การวินิจฉัยโรคมาลาเรีย

 

แพทย์จะซักประวัติสอบถามอาการผิดปกติของผู้ป่วย รวมทั้งถามถึงการเดินทางว่าไปยังสถานที่ไหนมา ตรวจโลหิตหาเชื้อภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (Microscopy) เพื่อการรักษาที่เหมาะสมและระบุชนิดของโปรโตชัว ซึ่งอาจใช้วิธีอื่น ๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น

 

  • ตรวจการทำงานของตับ

 

  • ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

 

  • น้ำตาลในเลือด

 

  • ย้อมสีเลือดให้เห็นตัวเชื้อด้วยสี Giemsa

 

 

ภาพเชื้อมาลาเลียในเซลล์เม็ดเลือดแดงในกล้องจุลทรรศน์

 

 

การรักษามาลาเรีย

 

การใช้ยาฆ่าเชื้อมาลาเรีย Antimalarial รวมทั้งยาต้านชนิดต่าง

 

  • Chloroquine

 

  • Doxycycline

 

  • Hydroxychloroquine

 

  • Mefloquine

 

  • Primaquine

 

  • Proguanil และ Atovaquone

 

  • Artemether กับ Lumefantrine

 

 

แพทย์ชนบท

 

 

การป้องกันโรคมาลาเรีย

 

  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ระบาดของโรค

 

  • สวมใส่เครื่องแต่งกายที่มิดชิด สีอ่อน ๆ

 

  • ใช้ผลิตภัณฑ์โลชั่นยากันยุง

 

  • กางมุ้ง พร้อมทั้งปิดประตู หน้าต่าง

 

  • กำจัดลูกน้ำ ในบริเวณน้ำขัง

 

 

กางมุ้งในป่า

 

 

มาลาเรียในประเทศไทย

 

มักจะระบาดอยู่ในจังหวัดที่มีภูเขาสูง ป่าทึบ แหล่งน้ำ ลำธาร มีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น แม่ฮ่องสอน ตาก ตราด ระนอง กาญจนบุรี จันทบุรี สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี และชุมพร สำหรับพื้นที่ในลุ่มแม่น้ำโขงมักจะประสบปัญหาการดื้อยา เป็นโรคประจำถิ่นที่กระทรวงสาธารณสุขต้องเข้าไปแก้ไข ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชน

 

 

ชื่อเรียกของโรคมาลาเรียนั้นมีเยอะมาก เช่น ไข้ป่า เพราะผู้ที่เข้าป่าไปหาอาหารหรือสำรวจพื้นที่เมื่อกลับบ้านมาแล้วมีอาการผิดปกติ ไข้ป้าง ใช้เรียกสำหรับผู้ที่มีอาการม้ามโต  ไข้ดอกสัก ซึ่งเกิดโรคในช่วงเดือนมิถุนายนจนถึงตุลาคม ซึ่งเป็นฤดูฝน ต้นสักมักจะออกดอกผล ในพื้นที่ภาคเหนือของไทย อีกทั้งการระบาดสามารถเกิดขึ้นได้หลายที่ในสภาพภูมิอากาศเขตร้อน เช่น อเมริกาใต้ แอฟริกา ประเทศอินเดีย ทั้งนี้การติดต่อแพร่กระจายจากแม่สู่ทารกหรือการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน สามารถเกิดขึ้นได้แต่มีความเสี่ยงน้อย