ปวดศีรษะ จากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป
ปวดศีรษะ จากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป

ปวดศีรษะ คือความผิดปกติของระบบประสาท ผู้คนส่วนใหญ่มักจะใช้ยาแก้ปวดมารับประทานเอง ในบางกรณีมีอาการปวดหัวเรื้อรัง ทำให้เกิดการรับประทานยาแก้ปวดอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ล่ะครั้ง จนมากกว่าความจำเป็น หรือใช้ยาเกินขนาด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ จากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไปได้เช่นกัน

 

 

ปวดศีรษะ จากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป

 

ปวดศีรษะ จากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป (Medical Overuse Headache) เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป ในระยะเวลานานๆ ซึ่งยาแก้ปวดนั้นสามารถบรรเทาอาการปวดได้แค่ช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อยาหมดฤทธิ์ จึงเกิดการปวดศีรษะ Rebound headache จึงเกิดการกระตุ้นให้เซลล์สมองมีการสร้างตัวรับการปวดมากขึ้น เนื้อเยื่อที่มีตัวรับนี้จึงมีอาการตอบสนองต่อการปวดศีรษะมากขึ้น  แม้ไม่มีตัวกระตุ้นก็สามารถเกิดอาการปวดขึ้นได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางตรงก้านสมอง เกิดการสร้างสารสื่อประสาทบางชนิดเป็นอย่างมาก จนสื่อประสาท รวมทั้งสุขภาพจิตเกิดเสียความสมดุลผิดปกติขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะต่อเนื่องนานมากกว่า 3 เดือน มีอาการหงุดหงิด กังวล และไม่มีสมาธิ ซึ่งก็เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดศีรษะมากยิ่งขึ้น

 

 

อาการปวดศีรษะ จากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป

      

  • ปวดศีรษะเป็นประจำ มักจะเกิดในช่วงตื่นนอน

      

  • เพิ่มปริมาณยาแก้ปวด

      

  • มีอาการอ่อนเพลีย

      

  • กระวนกระวาย

      

  • หัวใจเต้นเร็ว

      

  • มึนงง

      

  • คัดจมูก

      

  • มีอาการปวดแขน ขา และลำตัว

      

  • มือ และเท้าเย็น

      

  • ปลายมือ และเท้าชา

 

 

การวินิจฉัยอาการปวดศีรษะ จากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป

 

แพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย ในอาการปวดศีรษะ การใช้ยาแก้ปวด รวมทั้งการตรวจร่างกาย และตรวจระบบประสาท โดยจะมีเกณฑ์การวินิจฉัยโรค ได้แก่

      

  • ในแต่ล่ะเดือนมีอาการปวดศีรษะ 15 วันขึ้นไป

      

  • มีการใช้ยาแก้ปวดชนิดแบบปกติทั่วไป หรือยาแก้ปวดชนิดอย่างแรงเดือนละไม่ต่ำกว่า 15 วัน เป็นระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไป

      

  • มีอาการปวดศีรษะรุนแรงขึ้น

 

 

การรักษาอาการปวดศีรษะ จากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป

 

การใช้ยาระงับอาการปวดศีรษะแบบรับประทาน

      

  • ยา Paracetamol สำหรับแก้อาการปวดศีรษะเพียงเล็กน้อย ไม่ควรรับประทานยานี้มากกว่า 3 กรัมต่อวัน เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 7 วัน

      

  • ยาแก้อักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น Ibuprofen, Mefenamic acid และ Naproxen  สำหรับแก้อาการปวดศีรษะเล็กน้อย ถึงปานกลาง ผู้ที่มีประวัติแผล และเลือดออกในทางเดินอาหาร เคยเป็นโรคหัวใจ และไตทำงานผิดปกติ ควรระมัดระวังการใช้ยาชนิดนี้

      

  • ยาแก้ปวดในกลุ่มอนุพันธ์ของฝิ่น สำหรับแก้อาการปวดศีรษะปานกลาง ถึงขั้นรุนแรง ผู้ที่มีประวัติเป็นลมชัก โรคในระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งการทำงานของตับ และไตผิดปกติ ควรระมัดระวังการใช้ยาชนิดนี้โดยภายใต้การควบคุมการดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด

      

  • ยาแก้ปวดในกลุ่ม Triptan สำหรับแก้อาการปวดศีรษะไมเกรน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง การทำงานของตับผิดปกติ และโรคหัวใจ ควรระมัดระวังการใช้ยาชนิดนี้

      

  • ยาแก้ปวดสูตรผสมของ Ergotamine และ Caffeine สำหรับแก้อาการปวดศีรษะไมเกรนเฉียบพลัน ไม่ควรรับประทานยามากกว่า 6 เม็ดต่อวันหรือ 10 เม็ดต่อสัปดาห์ สตรีที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ไม่ควรใช้โดยเด็ดขาด

 

Migraine Cocktail

      

  • เป็นการฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำ 3 ชนิด ได้แก่ ยาแก้อักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยากันชัก และยาฉีดสเตียรอยด์

 

Occipital Nerve Block

      

  • การฉีดยาสเตียรอยด์ชนิดแขวนตะกอน และการใช้ยาเฉพาะที่

 

 

ยาแก้ปวด

 

 

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป

      

  • ภาวะตับอักเสบ

      

  • ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง

      

  • แผลในกระเพาะอาหาร

      

  • ความเครียดเรื้อรัง

      

  • นอนไม่หลับ

      

  • โรคซึมเศร้า

 

 

การป้องกันอาการปวดศีรษะ จากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป

      

  • หยุด หรือลดปริมาณของยาแก้ปวด

      

  • ออกกำลังกาย

      

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

      

  • หลีกเลี่ยงจากความเครียด

      

  • หลีกเลี่ยงอาหารประเภทหมัก ดอง

      

  • หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และสูบบุหรี่

      

  • การปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาแก้ปวด

 

 

ปัจจัยที่สำคัญที่เป็นความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดศีรษะ จากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป คือ การรักษาโรคไมเกรนที่ไม่ถูกต้อง เช่น การซื้อยาแก้ปวดประเภทต่างๆ มารับประทานเองโดยไม่ทำการปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาแก้ปวด ดังนั้นหากมีอาการแก้ปวดควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และทำการรักษาอย่างถูกวิธี เพราะหากรับประทานยาแก้ปวดเองอย่างต่อเนื่อง จะเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย และจิตใจให้ผิดปกติได้

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคทางสมอง

 

 

ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI