เมลาโทนิน ข้อควรทราบก่อนใช้สำหรับคนนอนไม่หลับ
เมลาโทนิน ข้อควรทราบก่อนใช้สำหรับคนนอนไม่หลับ

เมลาโทนิน (Melatonin) คือ ฮอร์โมนที่ถูกผลิตออกมาจากต่อมไร้ท่อไพเนียล อยู่บริเวณกลางสมอง มีขนาดเท่าเมล็ดถั่ว โดยจะหลั่งสารนี้ออกมาในช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกดิน เมื่อดึกขึ้นก็จะเข้าสู่กระแสโลหิต จนเกิดอาการง่วงนอน ปัจจุบันมีการสังเคราะห์ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ ช่วยในเรื่องของการนอนไม่หลับแบบปฐมภูมิ มีสาเหตุทางกายชัดเจน ไม่ได้มาจากภาวะจิตใจ สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ โดยการควบคุมการทำงานของนาฬิกาชีวภาพ

 

 

เมลาโทนินมีกี่แบบ

 

มี 2 แบบ ได้แก่

 

ปลดปล่อยทันที

 

  • มีลักษณะคล้ายยาเม็ด หรือขนมเยลลี ขนาด 3,5 และ 10 มิลลิกรัม ในประเทศไทยไม่มีการขึ้นทะเบียนเป็นยา

 

ค่อย ๆ ออกฤทธิ์

 

  • จำหน่ายเป็นยา ขนาด 2 มิลลิกรัม รับประทานก่อนนอน 1 ชั่วโมง ใช้ติดต่อกันไม่เกิน 13 สัปดาห์

 

 

ผลิตภัณฑ์เมลาโทนิน

 

 

ประโยชน์ของเมลาโทนิน

 

บรรเทาอาการเจ็ทแลค

 

  • เหมาะสำหรับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศโดยเครื่องบิน ที่ต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของเขตเวลา

 

แก้ไขปัญหาตื่นช่วงเวลาเช้า

 

  • กลุ่มอาการนอนหลับผิดเวลา บางรายไม่สามารถหลับในเวลาที่ตั้งใจไว้

 

รักษาโรคนอนไม่หลับ

 

  • ช่วยให้เพิ่มคุณภาพในการนอนหลับได้ดี โดยเฉพาะผู้สูงอายุ หรือทำงานตอนกลางคืน

 

 

เมลาโทนินดีต่อผู้สูงอายุ

 

 

เมลาโทนินอันตรายไหม

 

หากรับประทานโดยไม่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานรองรับจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยาจะมีความเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้

 

  • ปวด วิงเวียนบริเวณศีรษะ

 

  • ง่วงตลอดทั้งวัน

 

  • ปวดท้อง

 

  • กังวล

 

  • หงุดหงิด

 

  • ซึมเศร้าในระยะสั้น

 

 

ผู้สูงอายุกินเมลาโทนิน

 

 

ข้อควรระวังในการใช้เมลาโทนิน

 

เพราะมีส่วนในการกระตุ้น หรือขัดขวางการทำงานของยาในผู้ป่วยโรคต่าง ๆ ที่ควรหลีกเลี่ยง

 

  • ภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง

 

  • ลมชัก

 

  • ความบกพร่องบริเวณตับ ไต

 

  • สตรีตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร

 

  • ใช้ร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาท

 

  • ไม่ควรบริโภคก่อนเข้าทำงาน หรือขับขี่ยานพาหนะ

 

 

การใช้เมลาโทนินเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาการนอนหลับได้ จะต้องปรับพฤติกรรมด้วย เช่น งดเสพโซเชียลมีเดียผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์ ผ่อนคลายความเครียด เหนื่อยล้าจากการทำงานอย่างหนัก ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมสันทนาการ ไม่รับประทานอาหารมื้อเย็นในปริมาณเยอะเกินไป รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมในห้องนอน เป็นการแก้ไขต้นเหตุของการนอนหลับผิดปกติได้

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)