ดื่มน้ำมากเกินไป
ดื่มน้ำมากเกินไป

การดื่มน้ำเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ แต่บางครั้งสภาพอากาศที่ร้อนจนเกินไป บางทีอาจเผลอดื่มน้ำมากเกินไป ผลเสียจึงเกิดกับสุขภาพ เพราะว่าไตจะทำงานหนักมากขึ้น ในการขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย หากมีปัญหาเกี่ยวกับไตอยู่แล้ว จะยิ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งร่างกายยังสามารถเกิดภาวะน้ำเป็นพิษได้

 

 

ดื่มน้ำมากเกินไปจะเกิดผลเสียอย่างไร

 

โซเดียมต่ำกว่าปกติ

           

  • ค่าปกติของโซเดียมในร่างกายนั้นจะอยู่ที่  135-145 mEg/L.

          

  • แต่ถ้าหากดื่มน้ำมากเกินไปร่างกายเสียสมดุล โดยค่าของโซเดียมนั้นจะอยู่ต่ำกว่า 135 mEq/L นี่คือภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ

           

  • อาการของภาวะโซเดียมในเลือดต่ำมักจะมีอาการสับสนเพียงเล็กน้อย หรือการเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ หากมีอาการรุนแรงจะมีความรู้สึกง่วงนอน และไม่รู้สึกตัวในที่สุด

 

เซลล์บวม

 

  • ในร่างกายของมนุษย์จะมีโซเดียม และโพแทสเซียมไอออนที่ทำหน้าที่เป็นอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย และรักษาสมดุลของเหลว ระหว่างเซลล์ และเลือด หากดื่มน้ำมากเกินไปน้ำก็จะเข้าไปในเซลล์ ทำให้เซลล์บวมมากขึ้น จะมีอาการปวดศีรษะ ชัก และไม่รู้สึกตัว มีความเสี่ยงในการเสียชีวิต

 

กล้ามเนื้อเป็นตะคริว

 

  • เมื่อร่างกายเสียสมดุลจากการดื่มน้ำมากเกินไป กล้ามเนื้อจะเกิดการหดเกร็ง และเป็นตะคริวในที่สุด

 

ไตทำงานหนัก

           

  • หากดื่มน้ำครั้งละมากๆ ไตจะกรองน้ำส่วนเกินออกจากเลือดอย่างหนัก ส่งผลให้เกิดโรคไตเรื้อรัง และโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

 

หัวใจทำงานหนัก

           

  • เมื่อดื่มน้ำเข้าไปในร่างกาย ลำไส้เล็กจะทำการออสโมซิส (Osmosis)  น้ำไปในกระแสเลือด เมื่อปริมาณน้ำเข้าสู่ร่างกายเยอะ ปริมาตรเลือดก็เพิ่มสูงขึ้น หัวใจจึงต้องทำงานหนัก สามารถเกิดอาการชักได้

 

โพแทสเซียมต่ำกว่าปกติ

 

  • เมื่อได้รับน้ำมากเกินไป ทำให้ระดับของโพแทสเซียมในร่างกายต่ำลง ทำให้ความดันโลหิตต่ำ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตได้

 

เหนื่อย อ่อนเพลีย

           

  • หากไตทำงานหนักขึ้น ร่างกายจะมีความรู้สึก อ่อนเพลีย และเหนื่อยได้เช่นกัน

 

 

อาการที่เกิดขึ้นหากดื่มน้ำมากเกินไป

 

ไตไม่สามารถขับน้ำออกไปได้หมด จะเกิดอาการดังนี้

 

  • คลื่นไส้

 

  • อาเจียน

 

  • ท้องเสีย

 

  • อ่อนเพลีย

 

เมื่อเซลล์เกิดการบวมน้ำ  จะเกิดอาการดังนี้

 

  • สับสน มึนงง

 

  • ปวดศีรษะ

 

  • ง่วงซึม

 

  • ริมฝีปาก มือ และเท้า มีอาการบวม

 

ระดับแร่ธาตุในร่างกายลดลงผิดปกติ  จะเกิดอาการดังนี้

 

  • เกร็งของกล้ามเนื้อหรือตะคริว

 

  • เกิดอาการชัก

 

  • สูญเสียการรับรู้

 

  • การเสียชีวิตได้

 

 

บุคคลที่มีความเสี่ยงดื่มน้ำมากเกินไป

 

  • ผู้ป่วยโรคไต

 

  • ผู้ป่วย โรคหัวใจ

 

  • นักกีฬา หรือผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนัก

 

  • ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตอากาศร้อน

 

  • ผู้ที่เคยใช้ยาเสพติด รวมถึงการติดแอลกอฮอล์

 

  • ผู้ที่กำลังลดน้ำหนัก

 

  • ทารกที่ไม่ได้รับนมแม่ หรือทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดาที่ติดยาเสพติด

 

  • ผู้ป่วยจิตเวช เช่น ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์

 

 

ดื่มน้ำมากเกินไป

 

 

การดื่มน้ำให้เหมาะสมกับร่างกาย

 

  • ผู้ชายควรดื่มน้ำไม่เกิน 3.7 ลิตรต่อวัน

 

  • ผู้หญิงควรดื่มน้ำไม่เกิน 2.7 ลิตรต่อวัน

 

  • ควรจิบน้ำทีละน้อยตลอดทั้งวัน

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำทีละมากๆ ในเวลาสั้นๆ

 

 

นอกจากการดื่มน้ำแล้ว การปัสสาวะก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ปกติแล้วควรปัสสาวะทุกๆ 3-4 ชั่วโมง ใน 1 วัน และสีปัสสาวะต้องเป็นสีเหลืองอ่อนๆ หากมีการปัสสาวะน้อยกว่า 3-4 ครั้ง ต่อวัน และปัสสาวะเป็นสีเข้ม แสดงว่าร่างกายได้รับน้ำน้อยจนเกินไป หากมีการปัสสาวะมากกว่า 6–8 ครั้งต่อวัน และปัสสาวะมีสีใส แสดงว่าร่างกายได้รับน้ำมากเกินไป