PM2.5 และ โควิด-19 ความแตกต่างที่สัมพันธ์กัน
PM2.5 และ โควิด-19 ความแตกต่างที่สัมพันธ์กัน

ท่ามกลางการปกคลุมของฝุ่น PM2.5 ในเมืองหลวง และพื้นที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งการระบาดของ โควิด-19 ที่ยังไม่หมดไปจากโลกใบนี้สักที ทั้งสองสิ่งนี้ได้สร้างผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติทั้งทางร่างกาย และจิตใจ โดยเฉพาะอันตรายในระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้จะมาคลายข้อสงสัยกันว่า มันมีความแตกต่าง และสัมพันธ์กันอย่างไร รวมทั้งจะทำอย่างไรให้ปลอดภัย เมื่อต้องอยู่ร่วมกับฝุ่น และเชื้อไวรัสนี้

 

 

PM2.5 สูง โควิด-19 จะระบาด

 

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการของแพทย์ หรือวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจน แต่ฝุ่นทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่เป็นเซลล์ตรงเยื่อจมูกอ่อนแอลง เกิดการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เมื่อความชื้นในอากาศปริมาณจะสูงขึ้น มองเห็นเหมือนเมฆหมอกตั้งเคล้าก่อนฝนตก มาจากควันของยานยนต์พาหนะ มลพิษโรงงานอุตสาหกรรม การเผาทำลายทางเกษตรกรรม หากพบเชื้อโควิด-19 และออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง จะทำให้ปอดมีอาการแย่ลงเพิ่มขึ้นอีก เพราะฉะนั้นควรอยู่ในที่พักอาศัย ออกข้างนอกเท่าที่จำเป็น สามารถลดการได้รับอันตรายจากมลพิษเหล่านี้ได้

 

 

ฝุ่น PM2.5 เป็นพาหะโควิด-19

 

อย่างที่กล่าวไว้ในหัวข้อข้างต้น ฝุ่นนี้จึงไม่ใช่พาหะโดยตรงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ ปกติแล้วปอดของมนุษย์จะมีตัวรับเซลล์ทั้งหมด 3 ตัว มีหน้าที่รักษาระบบการทำงานในร่างกายให้เป็นปกติ เสริมภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรค ประกอบไปด้วย เอนไซม์ ACE2 โปรตีน DC-SIGN และ L-SIGN โดยเอนไซม์ตัวแรกนี้เป็นช่องทางเข้าสู่เซลล์ปอด รวมทั้งส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน คอยตรวจจับไวรัสและส่งสัญญาณเตือนรวมถึงช่วยควบคุมความดันโลหิตนั้น ในปอดของผู้ที่ได้รับมลพิษ สูบบุหรี่ มีความบกพร่องทางภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งโคโรนาไวรัสจะเข้าไปโจมตีจุดนี้

 

 

Cough

 

 

ติดโควิด และ สูดดม PM2.5 จะเป็นอย่างไร

 

ฝุ่นนี้ขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เทียบขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ สามารถลอดผ่านการกรองของขนจมูกเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนบนลงไปยังหลอดลม ถุงลมปอด ซึมผ่านผนังเส้นเลือดฝอยเข้าสู่กระแสโลหิตแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย จะรู้สึกแสบจมูก ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ อวัยวะในระบบทางเดินหายใจอักเสบ เช่น โพรงจมูก โพรงไซนัส คอ กล่องเสียง เหล่านี้เป็นระยะเฉียบพลัน ร่างกายอ่อนแอมาก รับเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียได้ง่าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อภูมิต้านทานระบบภูมิคุ้มกันในน้ำเหลือง และเซลล์ ทำให้เกิดอาการที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เส้นเลือดในสมองแตก ตีบตัน (stroke) มะเร็งปอด, ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบแคบ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภูมิแพ้โพรงจมูก หอบหืด จะมีอาการเรื้อรัง ต้องเข้ารับการรักษาแบบฉุกเฉิน หากไม่ทันท่วงที มีโอกาสเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

 

 

N95

 

 

อุปกรณ์ป้องกันโควิด และฝุ่น PM2.5

 

หน้ากาก N95

 

  • สวมครอบลงไปที่ปากและจมูกอย่างมิดชิดทำให้เชื้อไวรัสละอองฝอย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 50-100 ไมครอน ไม่สามารถเล็ดลอดผ่านรอยช่องว่างระหว่างโครงใบหน้ากับหน้ากากได้ และใยกรองด้านในมีประสิทธิภาพสูงในการกรองละออง  ได้ดีกว่าหน้ากากอนามัยทั่วไป

 

เครื่องฟอกอากาศ

 

  • ควรเป็นเครื่องที่มีแผ่นกรองอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ผลิตมาจากเส้นใยไฟเบอร์กลาส จะช่วยกรองฝุ่นขนาดเล็กมาก ๆ รวมทั้งอาจจะมีเครื่องฟอกอากาศมีแบบพกพาเมื่อออกจากบ้าน ทำให้หายใจเอาอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่ปอดได้ดีขึ้น

 

 

หากมีอาการหายใจลำบาก หน้ามืด อ่อนแรง ไอติดต่อกัน ควรรีบพบแพทย์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรพกยาติดตัวเสมอ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่สูดฝุ่นละอองโดยตรง ทารกในครรภ์สามารถเป็นอันตรายด้วยเช่นกัน เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด และแท้งบุตร 

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์เอกซเรย์

 

 

ตรวจสุขภาพหลังติดโควิด LONG COVID

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพปอด

 

 

วิธีรับมือฝุ่นพิษที่ควรบอกต่อ