โปลิโอ (Poliomyelitis) คือ โรคติดต่อร้ายแรงจากเชื้อไวรัสที่ทำลายระบบประสาทก่อให้เกิดความผิดปกติ เช่น อัมพาต หายใจลำบาก มีความเสี่ยงพิการ หรือเสียชีวิตสูง ดังนั้นทุกคนจะต้องได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคนี้ตั้งแต่วัยเด็ก เพราะมักจะพบผู้ติดเชื้อมากกว่าผู้ใหญ่ อีกทั้งในหลายประเทศบนโลกมีความร่วมมือกัน เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด ไม่ใช่ผลกระทบต่อสุขภาพเพียงอย่างเดียวเท่านั้น มันเป็นปัญหาใหญ่ถึงระบบเศรษฐกิจ และสังคมได้อีก หากติดตามข่าวสารด้านสาธารณสุข จะพบว่าประเทศไทยยังมีผู้ป่วยอยู่
เชื้อไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) อาศัยอยู่ภายในร่างกายของมนุษย์สามารถแพร่เชื้อได้จากการไอ จาม หรืออุจจาระ เมื่อสิ่งเหล่าปนเปื้อนมาในอาหาร น้ำดื่ม หรือการสัมผัสโดยตรงก็เกิดการติดเชื้อไวรัสนี้ได้ โดยจะเดินทางเข้าสู่ปาก คอ ลำไส้ ผ่านกระแสโลหิต สู่ระบบประสาทในที่สุด ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยง ได้แก่
ส่วนใหญ่มักไม่แสดงความผิดปกติ หรืออาจจะมีลักษณะเหมือนไข้หวัดทั่วไป แต่ที่รุนแรงสามารถแบ่งตามกลุ่มโรคได้
ในสัปดาห์แรกหลังได้รับเชื้อ จะมีอาการคล้ายในกลุ่มข้างต้นที่กล่าวมา หลังจากนั้นมีความผิดปกติ ดังนี้
แพทย์จะตรวจสอบปฏิกิริยาสะท้อนกลับของร่างกายผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากระบบทางเดินหายใจ หรือเจ็บ ปวด บริเวณลำคอ แผ่นหลัง หลังจากนั้นจะตรวจหาเชื้อจากสารคัดหลั่ง และเก็บตัวอย่างในระยะเฉียบพลัน รวมทั้งระยะแฝงของโรค ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่แพทย์จะรักษาตามอาการของผู้ป่วย ได้แก่
แบ่งเป็น 2 ชนิด
แบบรับประทาน
แบบฉีด
ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโปลิโอแบบฉีด เมื่ออายุ 4 เดือน
วัคซีนแบบหยอด ตอนอายุ 2, 4 และ 6 เดือน 1 ขวบครึ่ง และ 4 ปี จนครบ 5 ครั้ง
สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้วัคซีนโปลิโอ ผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรหลีกเลี่ยง
หากเป็นไข้ หรืออาการผิดปกติเฉียบพลัน ควรเลื่อนการรับวัคซีนไปก่อน
เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงสำหรับคนไทยที่อยู่ตามแนวตะเข็บชายแดน พื้นที่ห่างไกล เพราะแถวนั้นยังคงมีการระบาดของเชื้อโปลิโออยู่ อีกทั้งผู้ที่เคยเป็นแล้ว ระยะเวลาผ่านไป 30-40 ปี ก็สามารถกลับมามีอาการผิดปกติได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตใจเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นซึมเศร้า หรืออารมณ์แปรปรวน รวมทั้งด้านสมาธิ และสติปัญญา
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง